คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 57 (3) (ข)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: ที่ดินที่ซื้อด้วยเงินสินสมรส แม้มีการโอนชื่อให้บุคคลอื่น ก็ยังเป็นสินสมรส
จําเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์และจําเลยมีสินสมรสร่วมกันหลายรายการ สินสมรสบางรายการมีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ ขอให้บังคับโจทก์แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวให้จําเลยกึ่งหนึ่ง จําเลยขอให้ศาลหมายเรียก ธ. บุตรของโจทก์และจําเลยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) เพื่อให้การจัดการสินสมรสเสร็จไปในคราวเดียวไม่ต้องไปฟ้องร้องกันเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์และโจทก์ร่วมเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยมิได้แบ่งสัดส่วนการถือกรรมสิทธิ์ ต้องถือว่าโจทก์และโจทก์ร่วมมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินในสัดส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ประกอบกับมาตรา 1359 บัญญัติว่า เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ การที่จําเลยให้การและฟ้องแย้งและหมายเรียกขอให้บังคับโจทก์และโจทก์ร่วมโอนที่ดินคืนแก่จําเลย จึงถือว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีที่เป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันมิได้ การที่โจทก์ยื่นคําฟ้อง คำให้การแก้ฟ้องแย้ง บัญชีระบุพยาน ถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาทำการแทนซึ่งกันและกันกับโจทก์ร่วมด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) เมื่อโจทก์ร่วมยอมรับเอาข้อเท็จจริงตามคําฟ้อง คำให้การแก้ฟ้องแย้ง และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ ในชั้นพิจารณาของโจทก์ทุกประการ จึงเป็นคําคู่ความและการดำเนินการของโจทก์ร่วมด้วย โดยโจทก์ร่วมไม่จำต้องทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจําเลย รวมทั้งพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบในชั้นพิจารณาหักล้างข้อต่อสู้ของจําเลย ย่อมถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์ร่วมเช่นกัน ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษนำพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบมาวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ร่วมจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
ระหว่างสมรสจําเลยโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสเฉพาะส่วนของจําเลยให้แก่โจทก์โดยเสน่หาโดยมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่บังคับเฉพาะกรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีสามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย ส่วนที่ดินที่มีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารทางราชการที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในทะเบียนที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติว่า เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนําสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ดังนั้น โจทก์และโจทก์ร่วมจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อจําเลยให้การและฟ้องแย้งว่า เหตุที่มีชื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน เนื่องจากโจทก์ออกอุบายให้จําเลยยกที่ดินเฉพาะส่วนของจําเลยให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บุคคลภายนอกฟ้องบังคับชําระหนี้เอาจากจําเลย เท่ากับจําเลยให้การและฟ้องแย้งต่อสู้ว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์และโจทก์ร่วม แต่เป็นสินสมรสของจําเลยและโจทก์ร่วม จําเลยจึงมีหน้าที่นําสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 และมาตรา 127

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท การโอนสิทธิการเช่าและการบังคับหลักประกันสิทธิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุและเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ราชพัสดุดังกล่าว โดยซื้อมาจาก จ. เดิมจำเลยเป็นผู้เช่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจาก จ. แต่ จ. ได้ยกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยสละสิทธิการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท การที่จำเลยไม่ขนย้ายออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายหลังจากสิ้นสิทธิการเช่าจากกรมธนารักษ์ จึงหาใช่เป็นการกระทำที่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เดิมจำเลยกู้ยืมเงินจาก จ. มีสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นหลักประกัน จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่ จ. ตลอดมาจนประมาณเดือนมิถุนายน 2559 จำเลยขอชำระคืนหนี้เงินต้นตามข้อตกลง แต่ จ. ไม่ยอมรับเงินและไม่ยอมไถ่ถอนหลักประกัน และนำสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทไปโอนต่อให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินและบ้านพิพาทจำเลยและครอบครัวได้ใช้พักอาศัยการใช้สิทธิของ จ. ที่บังคับเอาสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นหลักประกันเงินกู้ยืมของจำเลยไปเป็นของตนเองในขณะที่จำเลยไม่เคยผิดนัดตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ในฐานะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่า จ. ผู้โอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย การกระทำของ จ. และโจทก์เป็นการฉ้อฉลและขัดต่อกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาท ขอให้ยกฟ้อง และขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่าง จ. กับโจทก์ ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เพื่อให้ข้อที่พิพาทกันเสร็จไปในคราวเดียวกัน จึงควรรับฟ้องแย้งของจำเลยเพื่อรวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันกับฟ้องโจทก์ตามฟ้องแย้งจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ซึ่งรับโอนการเช่าที่ดินและโอนบ้านพิพาทจาก จ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่าง จ. กับโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ จ. โต้แย้งสิทธิของจำเลยในการบังคับหลักประกันตามสัญญากู้ยืมเงินด้วย จึงเห็นสมควรที่จะเรียก จ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ซึ่งบัญญัติให้ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาท: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้โอนและการเรียกคู่ความเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินราชพัสดุและเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ราชพัสดุดังกล่าวโดยซื้อมาจาก จ. เดิมจำเลยเป็นผู้เช่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจาก จ. แต่ จ. ยกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่เคยสละสิทธิการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท เดิมจำเลยกู้ยืมเงินจาก จ. มีสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นประกัน จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่ จ. ตลอดมาจนประมาณเดือนมิถุนายน 2559 จำเลยขอชำระเงินต้นคืน แต่ จ. ไม่ยอมรับเงินและไม่ยอมไถ่ถอนหลักประกัน และนำสิทธิการเช่าที่ดินและบ้านพิพาทไปโอนต่อให้แก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่เคยผิดนัดตามสัญญากู้ยืมเงิน การกระทำของ จ. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ในฐานะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่างโจทก์กับ จ. ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ จึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เมื่อฟ้องแย้งจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทดีกว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอน และขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและการโอนบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับ จ. และระหว่าง จ. กับโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ จ. โต้แย้งสิทธิของจำเลยในการบังคับหลักประกันตามสัญญากู้ยืมเงินด้วย จึงเห็นสมควรเรียก จ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีร่วมกับโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเรียกหน่วยงานรัฐเข้ามาในคดีละเมิด และประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลภายนอกให้เข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ เมื่อความปรากฎแก่ศาลว่า จำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นเห็นเป็นการสมควรและเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามที่โจทก์ร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ได้ ไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ในคดีแรงงานอุทธรณ์คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างต้องเป็นคู่ความในคดี
โจทก์ในฐานะนายจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 อันเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 8 (4) ซึ่งการพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ วิธีพิจารณาคดีแรงงานในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ การนำพยานหลักฐานเข้าสืบของคู่ความ หลักในการพิจารณาคดีในศาลแรงงานและการรับฟังข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาในศาลแรงงานไว้แล้วหาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 แล้ว ในการพิจารณาคดีศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้นไม่ เพราะการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานมิได้มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการสอบสวนไว้โดยเฉพาะ ทั้งกระทำการสอบสวนและใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเพียงลำพังคนเดียว การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงอาจมีข้อบกพร่องได้ ฉะนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น
ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิจากลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วยศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วยเพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและการเรียกพนักงานตรวจแรงงานเข้ามาในคดี
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวและขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานกลางภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และเมื่อโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอให้เพิ่มพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 2 ก็เป็นการแสดงความประสงค์ที่จะฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยในคดีเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลแรงงานกลางชอบที่จะเรียกพนักงานตรวจแรงงานเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงเป็นที่สุดแล้ว พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาเห็นสมควรยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ศาลต้องเปิดโอกาสให้สู้คดีกับพนักงานตรวจแรงงานโดยตรง
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยมิชอบ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวและขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานกลางภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และเมื่อโจทก์ขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอให้เพิ่มพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยที่ 2 ก็เป็นการแสดงความประสงค์ที่จะฟ้องพนักงานตรวจแรงงานเป็นจำเลยในคดีเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวแล้ว ซึ่งศาลแรงงานกลางชอบที่จะเรียกพนักงานตรวจแรงงานเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) กอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้ฟ้องพนักงานตรวจแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงเป็นที่สุดแล้ว พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินที่ตกเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด สิทธิทางภารจำยอมเกิดจากอายุความ
แม้ว่าตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่มีข้อความพาดพิงถึงจำเลยร่วมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว กรมที่ดินได้รับจดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของอาคารชุดจำเลยร่วม กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิทางภาระจำยอมในที่ดินมีโฉนดซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาโดยอายุความ ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 ปัญหาว่าจำเลยร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจะอยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้จดทะเบียนภารจำยอมตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522มาตรา 10 หรือไม่เป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยร่วมฎีกายกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาโดยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในชั้นอุทธรณ์ ปัญหานี้จึงยุติแล้วตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี และสิทธิครอบครองที่ดิน การพิจารณาหลักฐานและเหตุผลความเชื่อถือของจำเลย
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้สองวันคือวันที่ 6 และ 20 กันยายน 2528 ดังนั้น ในสมุดนัดความของทนายจำเลยจึงควรจะมีการลงนัดความคดีนี้ไว้ด้วยทั้งสองวันตั้งแต่ในวันชี้สองสถานแล้ว และเมื่อถึงกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6 กันยายน 2528 เมื่อมีการเลื่อนการสืบพยานไปวันที่ 20 กันยายน 2528 และวันที่16 ตุลาคม 2528 หากทนายจำเลยเข้าใจว่ามีการยกเลิกการนัดสืบพยานในวันที่ 20 กันยายน 2528 ตามที่อ้างจริงก็น่าจะต้องมีหมายเหตุการยกเลิกไว้ในสมุดนัดความนี้แต่ปรากฏว่าในภาพถ่ายสมุดนัดความของทนายจำเลยไม่มีการลงนัดความคดีนี้ไว้ในวันดังกล่าวเลย คงลงนัดคดีของศาลอื่น ไว้เท่านั้น ที่ทนายจำเลยอ้างว่าที่ขาดนัดพิจารณาเพราะเข้าใจ ว่ายกเลิกวันนัดแล้วจึงขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อ เหตุที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นกล่าวอ้างยังไม่เพียงพอฟังว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้หมายเรียก ว. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม หลังจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและมีการสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรจะให้เรียก ว.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและสิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องเนื่องจากจำเลยมีสิทธิครอบครอง
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้สองวันคือวันที่ 6 และ 20 กันยายน 2528 ดังนั้น ในสมุดนัดความของทนายจำเลยจึงควรจะมีการลงนัดความคดีนี้ไว้ด้วยทั้งสองวันตั้งแต่ในวันชี้สองสถานแล้ว และเมื่อถึงกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 6 กันยายน 2528 เมื่อมีการเลื่อนการสืบพยานไปวันที่ 20 กันยายน 2528 และวันที่ 16 ตุลาคม 2528 หากทนายจำเลยเข้าใจว่ามีการยกเลิกการนัดสืบพยานในวันที่ 20 กันยายน 2528 ตามที่อ้างจริงก็น่าจะต้องมีหมายเหตุการยกเลิกไว้ในสมุดนัดความนี้ แต่ปรากฏว่าในภาพถ่ายสมุดนัดความของทนายจำเลยไม่มีการลงนัดความคดีนี้ไว้ในวันดังกล่าวเลย คงลงนัดคดีของศาลอื่นไว้เท่านั้น ที่ทนายจำเลยอ้างว่าที่ขาดนัดพิจารณาเพราะเข้าใจว่ายกเลิกวันนัดแล้วจึงขัดต่อเหตุผลไม่น่าเชื่อ เหตุที่จำเลยทั้งสองยกขึ้นกล่าวอ้างยังไม่เพียงพอฟังว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้หมายเรียก ว.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม หลังจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและมีการสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้วจึงไม่มีเหตุสมควรจะให้เรียก ว.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม
of 2