คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุเมธ อุปนิสากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5269/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน การลวงขายสินค้า และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียน ไว้แล้วโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่านั้น เป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยซึ่งเคยจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 แต่หลังจาก ครบกำหนดอายุ 10 ปี จำเลยมิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยเพิ่งขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวใหม่ และได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 โจทก์ ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 จึงยังไม่เกิน 5 ปี คดีไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นคำสามัญที่มีความหมายหรือคำแปลหรือเป็นคำที่ใช้โดยทั่วไป ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอย่างไร อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะ นำไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลย และนำไปยื่นขอจดทะเบียนได้ การที่โจทก์อนุญาตให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และอนุญาตให้ดัดแปลงเครื่องหมายการค้าและรูปแบบซอง บรรจุสินค้าได้นั้น เป็นสิทธิที่โจทก์ในฐานะเจ้าของ เครื่องหมายการค้าจะทำได้ มิได้เป็นการแสดงว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีลักษณะ บ่งเฉพาะแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้าชุดแรกของโจทก์และโจทก์ร่วม กับของจำเลยนั้นมีอักษรภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน คงมีแตกต่างกันคือ อักษรตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นตัว "F" ส่วนของจำเลยเป็นตัว "t" โดยของโจทก์และโจทก์ร่วม ตัวแรกมีขีดเฉียงด้านบน 1 เส้น ส่วนของจำเลยไม่มีขีด ส่วนคำอักษรโรมันเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม ใช้คำว่า "cha" ของจำเลยใช้คำว่า "Na" ซึ่งอยู่ในวงกลม พื้นสีดำส่วนเครื่องหมายการค้าชุดหลังนั้น ของจำเลย มีรูปภาพประกอบคือสตรีกำลังวาด รูปดอกไม้ของโจทก์และโจทก์ร่วม เป็นรูปสตรีกำลังวาด แบบเสื้อ เมื่อพิจารณาข้อความ ภาษาญี่ปุ่นกับการวางรูปของเครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายแล้ว จะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก คงแตกต่างเฉพาะอักษร ภาษาญี่ปุ่นตัวแรกดังกล่าว ย่อมทำให้ประชาชนผู้พบเห็น หลงผิดได้ว่า เป็นสินค้าของเจ้าของเดียวกัน ทั้งเมื่อ นำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันคือกระดาษลอกลายเช่นเดียวกันแล้ว ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และโจทก์ร่วม อาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสน และหลงผิดในความเป็นเจ้าของได้ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อใช้กับสินค้าประเภทกระดาษและกระดาษลอกลายที่ประเทศญี่ปุ่นและได้ใช้ เครื่องหมายการค้ากับสินค้าดังกล่าวเรื่อยมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว รวมทั้งได้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ที่ประเทศญี่ปุ่น จนแพร่หลายคนทั่วไปรู้จักสินค้าของโจทก์ดี และในประเทศไทย ก็มีผู้ส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายจนเป็นที่นิยม ต่อมาในปี 2512 โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของร่วม ในสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนจำเลยแม้จะได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยเมื่อปี 2522 ก็ตาม แต่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลย ทั้งปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้าย กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมจนอาจทำให้ สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้ จึงเป็น การที่จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีสิทธิดีกว่าจำเลยในการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทสำหรับสินค้าประเภทกระดาษลอกลาย สินค้ากระดาษลอกลายของโจทก์มีผู้สั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้นิยมใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังกล่าว ส่วนจำเลยนั้นเริ่มใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ในนามบริษัทของจำเลยเมื่อปี 2535 ลักษณะสีสันและ เครื่องหมายการค้าที่พิมพ์อยู่บนซองบรรจุสินค้าก็เหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์มาก ย่อมทำให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการลวงขายสินค้า ทำให้โจทก์และโจทก์ร่วม เสียหาย แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทย โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ และมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์และโจทก์ร่วมเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท นั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของ เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาท เฉพาะในลักษณะที่เป็นการลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ และโจทก์ร่วมเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณา และแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องค่าเสียหายจากผิดสัญญาซื้อขาย กุ้งราคาแพงกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องไปซื้อกุ้งที่มีชนิดและขนาดใกล้เคียงกับกุ้งที่ตกลงซื้อจากจำเลยจากแหล่งอื่น ซึ่งมีราคาแพงกว่ามาแทน และโจทก์ได้แนบเอกสารตารางคำนวณค่าเสียหายไว้ นับได้ว่าฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาดังกล่าวได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1772-1773/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: กฎกาฟต้า, ข้อตกลง, และการบังคับตามอนุสัญญา NYC
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย คู่สัญญาทำขึ้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้า ซึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาของก๊าฟต้าระบุให้ข้อพิพาทใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากหรือตามสัญญานี้ต้องพิจารณาตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการ กฎอนุญาโตตุลาการและแบบฟอร์มของสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นไปตามกฎอนุญาโตตุลาการของก๊าฟต้า ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาซื้อขายแล้ว แม้วิธีพิจารณาของอนุญาโตตุลาการตามกฎดังกล่าวจะแตกต่างไปจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 อยู่บ้าง จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว จะอ้างว่าขัดต่อ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 เพราะมิได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการในชั้นพิจารณาอุทธรณ์หาได้ไม่ ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 และมาตรา 35 แต่ก็ไม่ปรากฏกรณีดังกล่าว ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามฟ้อง จึงเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ก ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 (ค.ศ. 1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทย ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง และผูกพันจำเลย
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และจำเลยนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการชี้ขาด เมื่ออนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้ว โจทก์ที่ 1 และจำเลยได้อุทธรณ์คำชี้ขาดต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎอนุญาโตตุลาการข้อที่ 125 ส่วนโจทก์ที่ 2 ยื่นเอกสารผลการพิจารณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยได้รับทราบตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537 อันมีผลเป็นการยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ คำร้องขอของโจทก์ทั้งสองจึงยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ แม้ถอนต่อพนักงานสอบสวนหรืออัยการ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหายเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไปเมื่อโจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีกเพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นยังคงดำเนินคดีต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างและให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายเป็นเหตุให้ระงับสิทธิการฟ้องคดีอาญาได้ แม้จะอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี
การขอถอนคำร้องทุกข์นั้น ผู้เสียหายจะถอนต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตามเมื่อปรากฏว่า พนักงานอัยการโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้วสิทธิในการนำคดีของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป การที่โจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ ต่อโจทก์แล้วเช่นนี้ ศาลก็ชอบที่จะสั่งจำหน่ายคดี โดยไม่จำเป็นต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีก เพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหายเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ ที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิด ย่อมเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือ ต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหาย ต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้อง ขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์ แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหาย ได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้โดยศาลไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีกเพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ แม้ถอนต่อพนักงานสอบสวน/อัยการ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหาย เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิที่ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการที่จะนำความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือต่อพนักงานอัยการหรือต่อศาลก็ได้ แม้ขณะคดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น
เมื่อได้ความว่าพนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ได้รับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายโดยชอบแล้ว สิทธิในการนำคดีนี้ของโจทก์มาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป เมื่อโจทก์แถลงยืนยันต่อศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อโจทก์แล้ว ก็ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีโดยไม่จำต้องสอบถามผู้เสียหายที่ไม่ได้มาศาลอีก เพราะผู้เสียหายไม่ได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาล การที่ศาลชั้นต้นยังคงดำเนินคดีต่อไปจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างและให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างจำพวก ไม่ทำให้สับสน, สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าแม้ไม่ได้จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ต่างใช้รูปหัวไก่เป็นส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้า ซึ่งมีส่วนคล้ายกันมาก แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า ของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างกันหรือต่างจำพวก สินค้ากันในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้และโจทก์กับจำเลยต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนสำหรับ สินค้าคนละประเภทกันดังกล่าวผลิตออกจำหน่ายแก่สาธารณชน โดยสุจริตมาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนสาธารณชนทราบดีว่า สินค้าชนิดใดเป็นของโจทก์ ชนิดใดเป็นของจำเลย มิได้ทำให้ สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้าแต่อย่างใด เครื่องหมายการค้า ของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียน ไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็น เจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่เข้าลักษณะ ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6(3) และ 13 วรรคหนึ่ง(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาโดยสุจริตการที่โจทก์มิได้ต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และนายทะเบียนได้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้น มีผลทำให้โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอันจะได้รับความคุ้มครองในฐานะดังกล่าวตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น หาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ไม่ให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไปไม่และโจทก์ย่อมมีสิทธิ ที่จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใหม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่เสียสิทธิในการใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงหาใช่ข้อวินิจฉัยที่ คลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความเท็จในการฟ้องเดิม ศาลไม่รับ เพราะเป็นคนละเรื่อง
จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสองอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 1โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตนำความเท็จมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดค่าจ้างทนายความ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในศาลอีก จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ทั้งสองกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาลฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์ทั้งสองมาเป็นข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากความเท็จในการฟ้องเดิม ศาลไม่รับพิจารณา เหตุไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้อง
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้าง ใช้สิทธิทางศาลอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ทั้งสองกระทำละเมิด ต่อจำเลยที่ 2 เพราะโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเอาความเท็จมาฟ้องต่อศาล ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเป็น ฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุแห่งการฟ้องของโจทก์ทั้งสองมาเป็น ข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของ จำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะ รวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
of 11