พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการนำเรือกลับจากต่างประเทศ ไม่ใช่การซื้อขายเรือโดยตรง สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
เรือ ด.และเรือ ก.มีชื่อ ส.และ ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามลำดับ แต่เรือทั้งสองลำดังกล่าวได้ทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า จึงถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าจับกุมและยึดเรือไว้ โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเรือดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าแล้วมาทำสัญญาขายต่อให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเรือทั้งสองลำดังกล่าวและไม่สามารถที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำให้แก่จำเลยได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญากันนั้นทั้งสองฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วว่าประเทศสหภาพพม่าหรือรัฐบาลสหภาพพม่าก็ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำนั้นแต่รัฐบาลสหภาพพม่ามีสิทธิยึดเรือไว้เพราะทำผิดกฎหมายของประเทศสหภาพพม่าดังนั้นที่โจทก์ซื้อเรือทั้งสองลำจากประเทศสหภาพพม่าจึงเป็นเพียงการซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับประเทศไทยได้เท่านั้น ดังนั้น ที่โจทก์ขายสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยจึงเป็นการขายสิทธิจะได้รับเรือคืนจากประเทศสหภาพพม่ามิใช่การซื้อขายเรือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคแรก ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลบังคับได้และไม่เป็นโมฆะ จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าซื้อสิทธินำเรือกลับประเทศไทยจากโจทก์และโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมเช่นนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ก็บัญญัติแต่เพียงว่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้น ทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ได้ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมเช่นนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ก็บัญญัติแต่เพียงว่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้น ทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ได้ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการนำเรือกลับไทย ไม่ใช่การซื้อขายเรือตามกฎหมาย จึงไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ซื้อเรือจาก รัฐบาลสหภาพพม่าซึ่งยึดเรือไว้เพราะเรือดังกล่าวทำผิดกฎหมายโดยทำ การประมงเข้าไปใน เขตน่านน้ำของ ประเทศสหภาพพม่า เป็นเพียงการ ซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับคืนประเทศไทยได้เมื่อโจทก์ ขายสิทธิให้แก่จำเลยจึงมิใช่การ ซื้อขายเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกไม่จำต้องทำ เป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ค่าอ้างเอกสารเป็น ค่าธรรมเนียมอื่นๆเมื่อโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวและศาลเห็นว่าเป็น พยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)ก็ให้ อำนาจศาล รับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ระบุรายละเอียดโฉนดและกำหนดเวลาจดทะเบียน เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
หนังสือสัญญาซื้อขายมีข้อความว่า ผู้ขายตกลงขายที่ดินสวนจากให้ผู้ซื้อ ผู้ขายได้รับชำระราคาจากผู้ซื้อครบถ้วนและส่งมอบที่ดินให้ผู้ซื้อแล้วตั้งแต่วันทำสัญญา แสดงว่าคู่กรณีมีเจตนามุ่งซื้อขายที่ดินกันเสร็จเด็ดขาด ทั้งสัญญาดังกล่าวก็ไม่ลงเลขที่หรือรายละเอียดของโฉนดไว้เป็นข้อตกลงแน่นอนว่าจะต้องโอนที่ดินโฉนดเลขที่เท่าใดให้แก่กัน และไม่มีข้อตกลงว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เมื่อใดเป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย: กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลย การโอนเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้
ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย 1 วัน จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามแม้จะฟังว่าก่อนหน้านั้นจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทให้แก่ ท.ท. ชำระราคาครบถ้วนแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เนื่องจาก ท. ประสงค์จะขายต่อและจะให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปทีเดียวเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียม ต่อมา ท. ตกลงจะขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยมีข้อความระบุว่าเป็นการขายภายใต้ความยินยอมของ ท. เมื่อผู้คัดค้านที่ 1ชำระราคาให้ ท. ครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามตามความประสงค์ของผู้คัดค้านที่ 1 แต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่ ท. การซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยกับ ท. ก็ยังไม่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ จำเลยจึงมิใช่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแทน ท. ผลตามสัญญาจะซื้อขายทั้งสองฉบับคงมีแต่เพียงว่าหากจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1โดย ท.ยินยอมไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายกับท. เท่านั้นการที่จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามจึงหาใช่เป็นการโอนที่พิพาทแทน ท. ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินดังกล่าวเป็นการโอนในระหว่างสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยขณะนั้นจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ต้องถือว่าเป็นการโอนโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านทั้งสามได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306-4307/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถว จำเลยต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพถนนตามสัญญา
จำเลยประกาศโฆษณาขายที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ซื้อว่ามีถนนกว้าง 10 เมตร เมื่อครบ 10 ปีแล้วจะยกให้เป็นทางสาธารณะ เป็นสัญญาต่อเนื่องในการขายระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่การให้คำมั่นว่าจะให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยอมให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินไปและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อโจทก์ผู้มี สิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นตามสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์
จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยอมให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินไปและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อโจทก์ผู้มี สิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นตามสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ปลูกบนที่ดิน: การซื้อขายส่วนควบ การจดทะเบียน และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ ที่ดินมีโฉนด จากจำเลย โดย ทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาเมื่อผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ บ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตก เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่ วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดย ไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อ ขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 456 อีกโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านหลังซื้อขายเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องจดทะเบียน ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อที่ดินมีโฉนดจากจำเลย โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาผู้ร้องกับพี่สาวซื้อบ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ป.พ.พ.มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์บ้านส่วนควบที่ดิน: การซื้อขายบ้านแยกจากที่ดินไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ ที่ดินมีโฉนด จากจำเลย โดย ทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาเมื่อผู้ร้องกับพี่สาวซื้อ บ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตก เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107วรรคสอง ตั้งแต่ วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดย ไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อ ขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา 456 อีกโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าโมฆะ แต่สิทธิโอนการครอบครองยังคงมีผลบังคับได้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ทำเป็นหนังสือ แต่ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้สัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และตกเป็นโมฆะ อีกทั้งจะนำสืบว่าผู้ขายจะไปยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วจดทะเบียนโอนให้ผู้ซื้อหาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเอกสารต้องห้ามตามกฎหมาย
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งตกเป็นโมฆะ เมื่อปรากฏข้อความในสัญญาว่าผู้ขายยอมมอบที่ดินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อในวันทำสัญญา กรณีย่อมเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าคู่สัญญาได้รู้ว่าการซื้อขายไม่สมบูรณ์ ก็คงจะตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนผู้ซื้อจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้ส่งมอบการครอบครองที่ดินที่ซื้อขาย เพื่อโอนการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาได้ แต่จะบังคับให้โอนที่ดินโดยทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่
การซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งตกเป็นโมฆะ เมื่อปรากฏข้อความในสัญญาว่าผู้ขายยอมมอบที่ดินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อในวันทำสัญญา กรณีย่อมเป็นที่พึงสันนิษฐานได้ว่า ถ้าคู่สัญญาได้รู้ว่าการซื้อขายไม่สมบูรณ์ ก็คงจะตั้งใจให้สมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนผู้ซื้อจึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้ส่งมอบการครอบครองที่ดินที่ซื้อขาย เพื่อโอนการครอบครองให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาได้ แต่จะบังคับให้โอนที่ดินโดยทำเป็นหนังสือและจำทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้จดทะเบียน: เช็คไม่ผูกมัดเมื่อสัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยออกเช็คชำระหนี้โจทก์ ตามสัญญาซื้อขายบ้านที่จำเลยเป็นผู้ซื้อ เช็คถึงกำหนดแล้ว โจทก์เบิกเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากเงินในบัญชีไม่พอจ่าย เมื่อปรากฏว่าการซื้อขายบ้านอันเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก เช็คพิพาทเป็นเช็คชำระหนี้ตามสัญญาที่เป็นโมฆะจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3