คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8332/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาที่ศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งตัวผู้ต้องหาและระยะเวลาการฟ้องทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ จำเลยให้การปฏิเสธ ความผิดฐานดังกล่าวมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 296 ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา เมื่อท้องที่ศาลจังหวัดหลังสวนยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่อัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนการที่จะให้ใช้บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ใดเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งมีการตราพระราชกฤษฎีกาแล้วและมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2532 คดีนี้จึงอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ให้จำเลยทราบวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 กรณีย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันดังกล่าว พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวจำเลยพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้ฟ้องภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าไม่สามารถฟ้องได้ทันภายในกำหนด พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้อง คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2543 โดยไม่ได้ขอผัดฟ้องและพ้นกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 จึงไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลและการฟ้องเกินกำหนด: ผลกระทบต่อการรับฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ส่วนการที่จะนำมาใช้ในท้องที่ใด เมื่อใดนั้นก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532 บัญญัติให้นำมาใช้บังคับในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาได้ระบุให้ใช้เฉพาะในเขตหรืออำเภอเมืองบุรีรัมย์ คูเมือง นางรอง บ้านกรวด ประโคนชัยลำปลายมาศและสตึกเท่านั้น มิได้ระบุให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ตำบลทองหลางกิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ ในอันที่จะต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับด้วย การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเกินกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้ผัดฟ้องหาได้ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกปัญหาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเกินกำหนดระยะเวลาโดยมิได้มีการผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดขึ้นวินิจฉัยโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2,3 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด ซึ่งยังมิได้ มีศาลแขวงเปิดทำการ สำหรับคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไมเกิน หกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เจ้าพนักงานจับจำเลยในกระทงความผิด ฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรที่สิ้นอายุพร้อมกับกระทงความผิดฐานดูดทรายในแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยมิได้รับอนุญาต เมื่อกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรสิ้นอายุกฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้กับความผิดกระทงนี้ โดยพนักงานสอบสวนต้องส่งจำเลยให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องในกระทงความผิดนี้ภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่มีการจับกุมหรือต้องขอผัดฟ้องไว้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ขอผัดฟ้อง และนำตัวจำเลยมาฟ้องหลังจากที่จับกุมในข้อหาดังกล่าวเกินกำหนดเวลาในมาตรา 7 โดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 9 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 7 และ 9 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาเกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2,3 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการสำหรับคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเจ้าพนักงานจับจำเลยในกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรที่สิ้นอายุพร้อมกับกระทงความผิดฐานดูทรายในแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันโดยมิได้รับอนุญาต เมื่อกระทงความผิดฐานควบคุมเรือยนต์และเครื่องจักรยนต์โดยใช้ประกาศนียบัตรสิ้นอายุ กฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้กับความผิดกระทงนี้ โดยพนักงานสอบสวนต้องส่งจำเลยให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องในกระทงความผิดนี้ภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่มีการจับกุมหรือต้องขอผัดฟ้องไว้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2494 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ขอผัดฟ้อง และนำตัวจำเลยมาฟ้องหลังจากที่จับกุมในข้อหาดังกล่าวเกินกำหนดเวลาในมาตรา 7 โดยมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 9 จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 7 และ 9 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง