คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 123 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบซ้ำหลังได้รับคำเตือนแล้ว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน 3 วัน และขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วย หาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1916/2527)
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรง กรณีข่มขู่ต่อรองให้ละเลยระเบียบองค์กร มิใช่สิทธิลูกจ้าง
ลูกจ้างขออนุญาตผู้บังคับบัญชาออกนอกสถานที่ตั้งแต่เวลา 9 น.ถึง 11 น. แต่กลับมาถึงที่ทำงานเวลา 14 น. ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ลูกจ้างยื่นใบลาครึ่งวัน เพราะการขออนุญาตออกนอกสถานที่ได้จะต้องไม่เกิน 2 ชั่วโมงครึ่งลูกจ้างไม่พอใจจึงเขียนใบลาและเขียนข้อความในเอกสารใส่ ซองวางไว้ที่โต๊ะผู้บังคับบัญชาโดยเจตนาให้ผู้บังคับบัญชายอมตกลงกับตนเรื่องไม่ต้องยื่นใบลา ในเอกสารดังกล่าว มีข้อความว่าลูกจ้างอาจเปิดเผยความไม่ดีของผู้บังคับบัญชาในทำนองทุจริตเกี่ยวกับอาคารพาณิชย์ การกระทำของลูกจ้าง ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความกลัวยอมตกลงกระทำในสิ่งที่ผิดระเบียบ มิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม เพราะลูกจ้างเจตนาที่จะใช้เหตุดังกล่าวเป็น ข้อต่อรองกับผู้บังคับบัญชาให้กระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียง อย่างเดียว ไม่เป็นการสมควรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพึงกระทำ ต่อผู้บังคับบัญชาเช่นนั้น ทั้งการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชากระทำในสิ่งผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอาจเป็นเหตุก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างจึงได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรงซึ่งตามข้อบังคับของนายจ้างมีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการ กระทำที่ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกรณีร้ายแรงตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขู่ผู้บังคับบัญชาเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษทางวินัยถือเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง และการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ลูกจ้างขออนุญาตผู้บังคับบัญชาออกนอกสถานที่ตั้งแต่เวลา 9 น.ถึง 11 น. แต่กลับมาถึงที่ทำงานเวลา 14 น. ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ลูกจ้างยื่นใบลาครึ่งวัน เพราะการขออนุญาตออกนอกสถานที่ได้จะต้องไม่เกิน2 ชั่วโมงครึ่ง ลูกจ้างไม่พอใจจึงเขียนใบลาและเขียนข้อความในเอกสารใส่ซองวางไว้ที่โต๊ะผู้บังคับบัญชาโดยเจตนาให้ผู้บังคับบัญชายอมตกลงกับตนเรื่องไม่ต้องยื่นใบลา ในเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าลูกจ้างอาจเปิดเผยความไม่ดีของผู้บังคับบัญชาในทำนองทุจริตเกี่ยวกับอาคารพาณิชย์ การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความกลัวยอมตกลงกระทำในสิ่งที่ผิดระเบียบ มิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม เพราะลูกจ้างเจตนาที่จะใช้เหตุดังกล่าวเป็น ข้อต่อรองกับผู้บังคับบัญชาให้กระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียง อย่างเดียว ไม่เป็นการสมควรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพึงกระทำ ต่อผู้บังคับบัญชาเช่นนั้น ทั้งการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชากระทำในสิ่งผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอาจเป็นเหตุก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างจึงได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ซึ่งตามข้อบังคับของนายจ้างมีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการ กระทำที่ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกรณีร้ายแรงตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการตักเตือนทางหนังสือ: ใบเตือนของหัวหน้าแผนกที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ถือเป็นใบเตือนของนายจ้าง
การตักเตือนเป็นหนังสือตามกฎหมายเป็นอำนาจของนายจ้าง การที่หัวหน้าแผนกของนายจ้างออกใบเตือนแก่ลูกจ้างโดยไม่ปรากฏว่าผู้มีอำนาจว่าจ้างหรือเลิกจ้างของนายจ้างมอบหมายอำนาจในการออกใบเตือนให้ จะถือว่าหัวหน้าแผนกเป็นตัวแทนของนายจ้างในการออกใบเตือนด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตักเตือนลูกจ้างต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจของนายจ้าง การมอบอำนาจให้หัวหน้าแผนกต้องชัดเจน
การตักเตือนเป็นหนังสือตามกฎหมายเป็นอำนาจของนายจ้าง การที่หัวหน้าแผนกของนายจ้างออกใบเตือนแก่ลูกจ้างโดยไม่ปรากฏว่าผู้มีอำนาจว่าจ้างหรือเลิกจ้างของนายจ้างมอบหมายอำนาจในการออกใบเตือนให้ จะถือว่าหัวหน้าแผนกเป็นตัวแทนของนายจ้างในการออกใบเตือนด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2914-2915/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากผลงานไม่เป็นที่พอใจ และการปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีใจความว่า หากพนักงานที่บริษัทพิจารณาเห็นว่ามีผลงานประจำปีไม่เป็นที่พอใจพนักงานผู้นั้นจะไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือนตามผลงานพนักงานจะได้รับการตักเตือนหรือบอกกล่าวถึงข้อบกพร่องของตนเพื่อให้มีโอกาสปรับปรุงแก้ไขตนเอง หากยอมปรับปรุงก็จะได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนในปีถัดไป ส่วนผู้ที่มีผลงานไม่เป็นที่พอใจอย่างยิ่งหรือมีผลงานไม่ดีติดต่อกันเป็นเวลานานอาจถูกปลดออกจากงานได้นั้น การที่ลูกจ้างมีผลงาน ไม่เป็นที่พอใจนายจ้าง ได้ถูกตักเตือนถึงข้อบกพร่องหลายครั้งหลายหนตลอดมาเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหลายครั้ง หลังจากนั้นนายจ้างจึงได้ปลดลูกจ้างออกจากงาน ถือได้ว่าลูกจ้าง ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือแล้วตามมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัทโดยได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้างโดยชอบตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหา ไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียดดังเช่นคำฟ้องเป็นหนังสือ เมื่อพิจารณาคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ซึ่งโจทก์ส่งศาลและศาลนำมาแนบท้ายคำฟ้องไว้ ถือว่ามีรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ครบถ้วนเป็นรายการแห่งข้อกฎหมายบัญญัติไว้แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ เต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง หากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้ว นายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ ตามมาตรา 123 (3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท แม้ไม่มีระบุโทษชัดเจน ศาลยืนตามอำนาจนายจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 35 ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหา ไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียดดังเช่นคำฟ้องเป็นหนังสือ เมื่อพิจารณาคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ซึ่งโจทก์ส่งศาลและศาลนำมาแนบท้ายคำฟ้องไว้ ถือว่ามีรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนครบถ้วนเป็นรายการแห่งข้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ แต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างหากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้วนายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตามย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรกไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง โดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)
ในการชี้ขาดคำร้องตามมาตรา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และสิทธิในการเลิกจ้างลูกจ้างที่เล่นการพนันนายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเดิม
การที่นายจ้างกับลูกจ้างจะทำข้อตกลงกันใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 แล้วดำเนินการตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 13 ด้วย นายจ้างไม่อาจกระทำได้ฝ่ายเดียว
การที่ลูกจ้างเล่นการพนันในบริเวณโรงงานเป็นครั้งแรก ไม่ถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีที่ร้ายแรง นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโดยมิได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3)
ในการการชี้ขาดคำร้องตามมารา 125 เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เห็นว่าการกระทำของนายจ้างตามที่ถูกลูกจ้างยื่นคำร้องกล่าวหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็มีอำนาจสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายได้ โดยไม่ต้องมีคำขอเรียกร้องค่าเสียหาย
of 3