พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7646/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าจ้างค้างจ่ายรายวันจากอัตราจ้างรายเดือน โดยอ้างอิงอัตรา 30 วันต่อเดือน ตามกฎหมาย
โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 จึงขาดไป โจทก์ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนซึ่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดให้นับเป็นอย่างอื่น จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคท้าย ให้ถือว่า เดือนหนึ่งมี 30 วัน
โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 37,500 บาท หารด้วย 30 เป็นค่าจ้างวันละ 1,250 บาท แต่เนื่องจาก ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ 56,250 บาท ซึ่งเท่ากับให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างเพิ่มอีก 2 วัน คิดเป็นเงิน 2,500 บาท แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่คำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2540 มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายค่าจ้างส่วนนี้ให้โจทก์ด้วย
โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 37,500 บาท หารด้วย 30 เป็นค่าจ้างวันละ 1,250 บาท แต่เนื่องจาก ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ 56,250 บาท ซึ่งเท่ากับให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างเพิ่มอีก 2 วัน คิดเป็นเงิน 2,500 บาท แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่คำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2540 มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายค่าจ้างส่วนนี้ให้โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการสหกรณ์แสวงหากำไรต้องอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสหกรณ์
แม้จำเลยเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2511มาตรา105และตามมาตรา104แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวปรากฏว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักรอันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันก็ตามแต่ตามมาตรา160(5)จำเลยยังมีอำนาจซื้อจัดหาจำหน่ายถือกรรมสิทธิ์ครอบครองหรือทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินและอาจมีรายได้จากค่าตอบแทนในการบริการตลอดถึงผลประโยชน์จากทรัพย์สินของตนเองตามมาตรา107(5)ในทางปฏิบัติจำเลยมีงบรายได้และค่าใช้จ่ายหากรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนินงานต่อไปแสดงว่าการดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านั้นมิใช่กิจการให้เปล่ากิจการของจำเลยจึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบ และการจ่ายค่าชดเชย/บำเหน็จ
โจทก์ใช้ให้ ส.ตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนให้แก่โจทก์ ซึ่งฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่โจทก์ก็ได้เข้าทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ ดังนั้นโจทก์มิได้มาทำงานสายในวันเกิดเหตุ จึงไม่ทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างและอาจต้องจ่ายรางวัลในการทำงานของโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยเท่านั้น การกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 47 (3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยจึงต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583
โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการยักยอกทรัพย์ของลูกจ้างอื่น แม้ไม่ให้ความร่วมมือในการติดตามทรัพย์
นางสาว ร. ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยยักยอกทรัพย์ของจำเลยไป แต่โจทก์ไม่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินนั้น และความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยก็เป็นการกระทำของนางสาว ร. โจทก์มิได้กระทำการใด ๆเป็นที่เสียหายแก่จำเลย แม้โจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการติดตามเอาทรัพย์ที่ นางสาว ร. ยักยอกไป และจับกุมนางสาว ร. ได้ขณะอยู่กับโจทก์ก็ตาม ก็หาเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2) ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3262/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องกล่าวเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้ชัดแจ้งในคำให้การ ศาลมิอาจวินิจฉัยเกินกรอบคำให้การ
ในคดีแรงงาน กรณีที่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือ จำเลยต้องกล่าวข้อเท็จจริงเป็นข้อต่อสู้ให้ชัดแจ้งในคำให้การ
คำให้การของจำเลยที่ให้การถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมาโดยตลอด ..." นั้นมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในเรื่องใดและเมื่อใด ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลาง ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ออกปฏิบัติงานตามหมายกำหนดเดินทางออกต่างจังหวัดตามที่จำเลยที่ 1 กำหนด และโจทก์ทำยอดขายไม่ได้ตามที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่มิได้มีปรากฏในคำให้การ เมื่อศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างแล้ววินิจฉัยว่าไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเมื่อเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัยไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นข้อเท็จจริง เมื่อศาลแรงงานกลาง ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อน
จำเลยจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงระหว่างเดินทางไปขายสินค้าตามจังหวัดต่าง ๆ แก่โจทก์โดยสม่ำเสมอพร้อมกับเงินเดือน จึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
คำให้การของจำเลยที่ให้การถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างมาโดยตลอด ..." นั้นมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในเรื่องใดและเมื่อใด ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลาง ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ออกปฏิบัติงานตามหมายกำหนดเดินทางออกต่างจังหวัดตามที่จำเลยที่ 1 กำหนด และโจทก์ทำยอดขายไม่ได้ตามที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่มิได้มีปรากฏในคำให้การ เมื่อศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างแล้ววินิจฉัยว่าไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเมื่อเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ศาลแรงงานกลางยกขึ้นวินิจฉัยไม่อาจนำมาอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจะเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เป็นข้อเท็จจริง เมื่อศาลแรงงานกลาง ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อน
จำเลยจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงระหว่างเดินทางไปขายสินค้าตามจังหวัดต่าง ๆ แก่โจทก์โดยสม่ำเสมอพร้อมกับเงินเดือน จึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งของธุรกิจ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" ตามบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยงานบ้านนั้นจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสวัสดิการบุตรไม่ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้จะช่วยคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างนำบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียนของจำเลยโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน เป็นเพียงการให้สวัสดิการแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้างที่จำเลยจะนำมารวมคำนวณเป็นค่าจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ตามกฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหลังได้รับการตักเตือนแล้ว
หนังสือแจ้งการลงโทษมีข้อความว่า "ในวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ได้กระทำความผิดคือได้ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2531 บริษัทได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 17-23 มกราคม 2532 เพื่อมิให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกจ้างอื่นต่อไป หากกระทำผิดซ้ำอีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" ข้อความที่ว่า "หากกระทำผิดซ้ำ อีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" นั้น มีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วยในตัว
ครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือนโจทก์ ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
ครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือนโจทก์ ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาป่วยต้องตรงตามข้อบังคับบริษัท และการจ่ายค่าจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การลาป่วยไว้ว่า พนักงานมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน ถ้าพนักงานป่วย 3 วันทำงานติดต่อกัน พนักงานจะต้องแสดงใบรับรองจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ถ้าไม่อาจทำใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งได้ให้ชี้แจงเหตุผลให้ทราบ การลาป่วยต้องขอลาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หรือระหว่างการเจ็บป่วยต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบ ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องกระทำภายใน 4 ชั่วโมงแรกของเวลาเริ่มปฏิบัติงานหรือแจ้งให้ทราบในวันแรกที่มาทำงานตามปกติ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มาทำงาน4 วัน ติดต่อกัน คือวันที่ 13 14 15 และ 18 กันยายน 2532 โจทก์ยื่นใบลาป่วย 4 วัน ตามข้อบังคับของจำเลย โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แพทย์ลงความเห็นว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 15 16 และ 18 กันยายน 2532 หาได้รับรองว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 13 14 กันยายน 2533 ด้วยไม่ การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยในวันที่ 13 14 ด้วย จึงไม่ตรงต่อความจริง และไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการลาป่วยที่ไม่ถูกต้องได้โดยไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ทำใบรับรองแพทย์มาแสดงอีก หาเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12 ไม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ในการยื่นใบลาป่วย
การที่โจทก์ลาป่วยเพียง 2 วัน โดยโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาในวันลาและไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบในระหว่างการลา เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยจริง การฝ่าฝืนของโจทก์ดังกล่าวคงมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นไม่อาจถือว่าโจทก์ขาดงานด้วยการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวแก่โจทก์
การที่โจทก์ลาป่วยเพียง 2 วัน โดยโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาในวันลาและไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบในระหว่างการลา เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยจริง การฝ่าฝืนของโจทก์ดังกล่าวคงมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นไม่อาจถือว่าโจทก์ขาดงานด้วยการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400-1405/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณบำเหน็จ แม้จำเลยยกเลิกหลังลาออก
ก่อนโจทก์ลาออกจากงาน จำเลยยังคงจ่ายค่าครองชีพให้พนักงานรวมทั้งโจทก์ด้วย ต่อมาหลังจากโจทก์ลาออกจากงานไปแล้ว จำเลยมีคำสั่งยกเลิกการจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงาน คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ ถือได้ว่าขณะที่โจทก์ลาออกจากงาน โจทก์ได้รับค่าครองชีพอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณเงินบำเหน็จด้วย