คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918-2920/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานต่างประเทศ: ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานมีฐานะเป็นตัวแทนได้ และต้องรับผิดชอบค่าจ้างลูกจ้าง
บทบัญญัติมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มีความหมายว่านายจ้างซึ่งอยู่ในต่างประเทศก็ดี หรือตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวนั้นก็ดี จะดำเนินการรับสมัครคนหางานเพื่อไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างโดยตรงโดยไม่ผ่านการจัดหาของสำนักงานจัดหางานในประเทศ ไทย หรือกรมแรงงานนั้นไม่ได้ หากนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรานี้ ก็จะมีความผิดตามมาตรา 82 และบทบัญญัติมาตรา 50 ก็มิได้ห้ามไว้ว่า ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานจะเป็นตัวแทนของนายจ้างไม่ได้ ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางานอาจมีฐานะเป็นตัวแทนของนายจ้างอีกฐานะหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การจ่ายค่าจ้างเกิน และค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณบำเหน็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างตอกบัตรทำงานแต่ไม่ได้ทำงานจริง การพิสูจน์เจตนาและความถูกต้องของคำสั่งลา
การที่โจทก์ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานโดยไม่ได้ทำงานตามเวลาที่มีการตอกบัตร จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุและพฤติการณ์ด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างไร การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ป่วย ได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานให้ลาได้เพื่อวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ไม่อยู่ทำงานนั้นเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยตามประเด็นพิพาทที่กำหนดว่าโจทก์กระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังตามพยานหลักฐานของจำเลยว่าการที่โจทก์ตอกบัตรลงเวลาทำงาน แล้วหยุดงานโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการโรงงาน เป็นการปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่รับฟังว่า โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดจากหัวหน้างาน จึงมิได้ปฏิบัติผิดข้อบังคับของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานโดยชอบของสมาชิกสหภาพแรงงาน แม้ไม่ได้แจ้งความประสงค์เอง การเลิกจ้างเป็นอันไม่เป็นธรรม
เมื่อสหภาพแรงงานนัดหยุดงานโดยชอบแล้ว การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่มิได้ร่วมหยุดงานในตอนแรกออกมาร่วมนัดหยุดงานในภายหลัง ย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ และไม่จำต้องแจ้งความประสงค์ขอนัดหยุดงานตามนัยแห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 34 วรรคท้ายอีก กรณีดังกล่าวนั้นการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งสมทบนัดหยุดงานในภายหลังโดยอ้างเหตุว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่การงาน จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำกับการจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร: จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2529 ข้อ 2 กำหนดว่า ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) งานเกษตรกรรม ฯลฯ (2) งานอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด แสดงว่ากิจการที่ไม่อยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องมีการกำหนดขึ้นตามข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อยังมิได้มีการกำหนดว่า การจ้างแรงงานที่มิได้วัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไม่อยู่ในบังคับของประกาศนี้ซึ่งเป็นประกาศที่มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแรงงานต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานแล้ว การจ้างแรงงานดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัย กรณีฝ่าฝืนระเบียบ ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทจำเลย ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานโดยปล่อยให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในบริเวณโรงงานของจำเลย แม้จะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นการที่โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ โดย มิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดประชุมในโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การตีความ 'การประชุม' ตามระเบียบบริษัท
ระเบียบของผู้ร้องมีข้อห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ได้ความว่า ขณะที่พนักงานของผู้ร้องมารวมกันเพื่อรับประทานอาหารในระหว่างพักแม้มิใช่การมาร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในความหมายของ "ประชุม" เมื่อผู้คัดค้านได้แถลงข้อเท็จจริงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่อพนักงานดังกล่าว เช่นนี้ พฤติการณ์ของผู้คัดค้านถือเป็นการเปิดประชุมแล้ว ผู้ร้องชอบที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ตามระเบียบดังกล่าวของตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวกับสิทธิลูกจ้าง: ค่าจ้างค้างจ่ายยังคงเรียกร้องได้ แม้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย
การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวมีผลเพียงทำให้จำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินกิจการแทนหามีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับลูกจ้างต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยนั่นเอง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิเสธไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยเกี่ยงให้ไปขอรับชำระหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯก็เป็นเพียงแจ้งให้โจทก์ไปขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว ค่าจ้างของโจทก์ซึ่งถึงกำหนดหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่หนี้ที่จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามมาตรา94แห่งพ.ร.บ.ล้มละลายฯและไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนตามมาตรา146เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ทันที.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1894/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงเงินสะสม: เงินสะสมกับค่าเสียหายจากการปล่อยสินเชื่อไม่เกี่ยวข้องกัน จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วง
เงินสะสมที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยกับค่าเสียหายของจำเลยอันเนื่องจากการที่โจทก์ปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ไม่เกี่ยวข้องกัน ทั้งมิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครองอยู่โดยมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์สินนั้น จำเลยหามีสิทธิยึดหน่วงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เมื่อหักกลบลบหนี้ไม่ จำเลยต้องจ่ายเงินสะสมแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐานคดีแรงงาน การเลิกจ้างและค่าชดเชย
ปัญหาที่ว่าคำเบิกความของพยานปากใดมีเหตุผลหรือมีน้ำหนักควรเชื่อถือหรือไม่เพียงใด เป็นดุลพินิจในการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลจำเลยจะอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของโจทก์ ว่าไม่มีใบรับรองแพทย์ เพราะมิได้ไปหาแพทย์เนื่องจากไม่มีเงิน แล้ววินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายว่า การที่โจทก์ขาดงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเพราะโจทก์เจ็บป่วยนั้น แม้โจทก์จะไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และถือไม่ได้ว่าเป็นการขาดงานเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)(4) ซึ่งจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ดังนี้แม้จะเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อเลิกจ้าง จำเลยก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
of 23