คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างชั่วคราวที่มีกำหนดระยะเวลาชัดเจน ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อสิ้นสุดสัญญา แม้ทำงานเกิน 120 วัน
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวตามสัญญาจ้างสี่ฉบับกำหนดระยะเวลาจ้างและวันเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้จึงเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ75จะกำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานเกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำแต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างฉบับที่สี่กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามวรรคท้ายของข้อ46แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6-10/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะโรงงานยาสูบ, เกษียณอายุ, การจ่ายค่าชดเชย และการพิจารณาเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดเวลา
โรงงานยาสูบกระทรวงการคลังมิใช่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลังดังนั้นโรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลางหาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ข้อ1(1)บังคับไม่ การที่ระเบียบโรงงานยาสูบว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานยาสูบพ.ศ.2518และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2520กำหนดไว้ว่าพนักงานยาสูบคนใดมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แล้วถือว่าครบเกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ระเบียบดังกล่าวนี้ออกมาภายหลังที่พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มีผลบังคับแล้วระเบียบนี้จึงได้ออกมาอนุวัตตามเป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยแท้ มิใช่กรณีที่นายจ้างต้องผูกพันจ้างลูกจ้างจนมีอายุครบ60ปีนายจ้างจะเลิกจ้างเมื่อใดก็ได้จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งต่างประเภทกับเงินบำเหน็จที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จของโรงงานยาสูบฉะนั้นเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างไปแล้วตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6-10/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะโรงงานยาสูบและการจ่ายค่าชดเชย: การจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
โรงงานยาสูบกระทรวงการคลังมิใช่กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นกรมในสังกัดของกระทรวงการคลังดังนั้นโรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลางหาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ข้อ1(1)บังคับไม่ การที่ระเบียบโรงงานยาสูบว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานพนักงานยาสูบพ.ศ.2518และที่แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2520กำหนดไว้ว่าพนักงานยาสูบคนใดมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แล้วถือว่าครบเกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่อสิ้นปีงบประมาณของปีที่พนักงานผู้นั้นมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ระเบียบดังกล่าวนี้ออกมาภายหลังที่พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2518มีผลบังคับแล้วระเบียบนี้จึงได้ออกมาอนุวัตตามเป็นการกำหนดคุณสมบัติโดยแท้มิใช่กรณีที่นายจ้างต้องผูกพันจ้างลูกจ้างจนมีอายุครบ60ปีนายจ้างจะเลิกจ้างเมื่อใดก็ได้ จึงมิใช่การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งต่างประเภทกับเงินบำเหน็จที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างตามระเบียบการจ่ายบำเหน็จของโรงงานยาสูบฉะนั้นเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างไปแล้วตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมายจนนายจ้างได้รับความเสียหาย
จำเลยให้โจทก์ลูกจ้างติดต่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของจำเลยทางโทรทัศน์ โดยกำหนดงบประมาณค่าโฆษณาไว้เป็นเงิน 4 ล้านบาทต่อปี โจทก์ติดต่อให้บริษัท อ. โฆษณาผลิตภัณฑ์ ของจำเลยและได้มีการจ่ายค่าโฆษณาไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาท คงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเศษ แต่เหลือเวลาที่จะต้อง โฆษณาอีก 7 เดือน ประกอบกับสินค้าของจำเลยขายไม่ ค่อยดี จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ลดค่าโฆษณาลงโจทก์ ขัดคำสั่งของจำเลยโดยมิได้สั่งให้บริษัท อ. ลดการโฆษณาลงถือว่าเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรงแล้วกรณีจึงต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 (3) ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์คำสั่งพนักงานเงินทดแทน หากไม่ปฏิบัติตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งคำสั่งในศาล
เมื่ออธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลย และให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแล้ว จำเลยหาได้นำคดีไปสู่ศาลไม่ คำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นที่สุด จำเลยจะดำเนินการใด ๆ ในศาลแรงงานอีกไม่ได้รวมทั้งให้การต่อสู้คดี ทั้งนี้โดยต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหมายความรวมถึงพนักงานเงินทดแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุการทำงานต่อเนื่องกรณีโอนพนักงานจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การนับอายุงานต้องต่อเนื่อง แม้ข้อบังคับจำกัดสิทธิ
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ต่อมามี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ให้โอนโจทก์มาเป็นลูกจ้าง ของการเคหะแห่งชาติจำเลย การโอนเช่นนี้ฐานะความเป็น ลูกจ้างของโจทก์ยังคงมีอยู่ มิได้สิ้นสุดลงเช่นการ เลิกจ้าง เมื่อมิได้ตกลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น การนับอายุ การทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกันตั้งแต่โจทก์เข้า ทำงานกับธนาคาร ข้อบังคับของจำเลยซึ่งให้นับอายุการทำงาน ตั้งแต่เมื่อเริ่มเข้าทำงานกับจำเลย ต้องใช้บังคับเฉพาะพนักงานหรือลูกจ้างที่สมัครเข้าทำงานใหม่เท่านั้น มิใช่ ถูกโอนมาเช่นกรณีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุงานลูกจ้างที่โอนย้ายหน่วยงาน: ให้นับต่อเนื่องจากหน่วยงานเดิมได้
เดิมโจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ต่อมามี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ให้โอนโจทก์มาเป็นลูกจ้างของการเคหะแห่งชาติจำเลย การโอนเช่นนี้ฐานะความเป็น ลูกจ้างของโจทก์ยังคงมีอยู่ มิได้สิ้นสุดลงเช่นการ เลิกจ้าง เมื่อมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุ การทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกันตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับธนาคาร ข้อบังคับของจำเลยซึ่งให้นับอายุการทำงาน ตั้งแต่เมื่อเริ่มเข้าทำงานกับจำเลย ต้องใช้บังคับเฉพาะพนักงานหรือลูกจ้างที่สมัครเข้าทำงานใหม่เท่านั้น มิใช่ ถูกโอนมาเช่นกรณีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันที่ยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงาน จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ยื่นใบลาออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงานจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะ เรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ ยื่นใบลาออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อลูกจ้างเล่นการพนันนอกเวลางาน ศาลสั่งจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าว
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ห้ามพนักงานเล่นการพนันเฉพาะในระหว่างเวลาทำงาน ส่วนคำสั่งที่ออกมาก็เป็นเพียงเสริมข้อบังคับเกี่ยวกับการเล่นการพนันว่าจะมีโทษสถานเดียวคือไล่ออกเท่านั้นโดยไม่มีการสั่งพักงานอีก การที่โจทก์เล่นการพนันบนหอพักของจำเลยนอกเวลาทำงาน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
of 23