คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติ การจ่ายบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯมาตรา 9, 11 เป็นเพียงบทบัญญัติกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะขาดคุณสมบัติเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือเป็นแนวเดียวกันเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่า เมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว การจ้างเป็นอันระงับไปในตัวทันที หากจักต้องจัดการให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
บำเหน็จเป็นเงินซึ่งมีลักษณะเป็นการตอบแทนที่พนักงานหรือลูกจ้างได้ทำงานมาด้วยดีตลอดมาจนถึงวันที่ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ส่วนค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้าง ดังนั้น แม้จำเลยจ่ายบำเหน็จโดยมีวิธีคำนวณเหมือนค่าชดเชย และกำหนดให้ถือว่าเป็นค่าชดเชย ก็หามีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หรือตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
ฟ้องโจทก์ในชั้นแรกขอให้ศาลบังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหาย และเงินโบนัส พร้อมทั้งดอกเบี้ย ต่อมาโจทก์แถลงไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายและเงินโบนัสกับดอกเบี้ย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงเหลือเพียงข้อเดียวคือเรียกให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเพราะเลิกจ้างโจทก์อันเป็นการอาศัยสิทธิตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หาใช่เป็นการ ฟ้อง ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก ทายาทมีสิทธิได้รับค่าชดเชยทั้งหมดจากนายจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นสิทธิอย่างหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นมรดก ย่อมตกทอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมได้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยนี้ทายาททุกคนมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 298 โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของลูกจ้างผู้ถึงแก่กรรมจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยทั้งหมดจากจำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนเงินที่เบิกจ่ายเกินสิทธิและหักกลบลบหนี้ได้หรือไม่ในคดีแรงงาน
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารออมสิน จำเลยได้เบิกเงินค่าเล่าเรียนจากจำเลยไปโดยไม่มีสิทธิ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกคืนได้ตามระเบียบวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุต รและการยืมเงินทดรองสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยที่จ่ายให้โจทก์ไปโดยไม่ถูกต้องดังกล่าวคืนนั้น ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 344 จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนโจทก์เพื่อชดใช้เงินซึ่งโจทก์เบิกไปโดยมิชอบได้ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การสิ้นสภาพข้อพิพาทเมื่อลูกจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และการโต้แย้งสิทธิจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุตำแหน่งจำเลยมาในฟ้อง แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่าจำเลยเป็นพนักงานปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อาศัยความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งที่ มท 1206/9094 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2515 ของจำเลยโดยระบุตำแหน่งจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีค่าชดเชย: แม้กฎหมายเกี่ยวข้องความสงบเรียบร้อย ก็ไม่อาจฟ้องซ้ำได้หากเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า การที่โจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ามิใช่เป็นกรณีเลิกจ้างคดีถึงที่สุด แล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เรียกค่าชดเชยโดยอาศัยเหตุว่า เป็นการเลิกจ้างอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ เพราะแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ก็มิใช่กรณีที่ยกเว้นให้ฟ้องซ้ำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำกับการจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร: การคุ้มครองแรงงานแยกจากอัตราค่าจ้าง
การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจอยู่ในบังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานที่มิให้ใช้บังคับแก่การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวง กำไรในทางเศรษฐกิจนั้นหมายถึงเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั่ว ๆ ไปตามที่จำแนกไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 9เท่านั้นไม่หมายถึงเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน การจ่ายเงินบำเหน็จถือเป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้ว
คำสั่งของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นมิได้ออกโดยอาศัยพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น การที่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มายกเลิกพระราชบัญญัติ นี้ จึงหากระทบกระเทือนถึงคำสั่งนั้นไม่
คำสั่งที่มีความว่า ในกรณีที่พนักงานประจำมีสิทธิได้รับทั้งเงินชดเชยและเงินบำเหน็จ ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าเงินชดเชย ให้ตัดเงินบำเหน็จออกเท่ากับจำนวนเงินชดเชยแต่ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยให้ได้รับแต่เงินชดเชยอย่างเดียวนั้น ถือได้ว่าได้จ่ายเงินชดเชยให้เช่นกันเพียงแต่จ่ายรวมไปกับเงินบำเหน็จเท่านั้น และในกรณีเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินชดเชยก็จะจ่ายเงินบำเหน็จให้เท่ากับเงินชดเชย ดังนี้ การจ่ายเงินบำเหน็จดังกล่าวจึงเป็นการจ่ายเงินชดเชยรวมไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลไม่อำนาจสั่งจ่ายค่าชดเชย ต้องพิจารณาตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัท
แม้การเลิกจ้างของจำเลยจะมิใช่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและเงินอื่น ๆ ตามข้อบังคับของจำเลยไม่
โจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้จ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าและค่าเสียหายให้โจทก์คณะกรรมการยกคำร้องของโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้อง โดยมิได้วินิจฉัยปัญหาว่าจำเลยต้องจ่ายเงินต่าง ๆ นั้นให้โจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223-235/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาจ้างจากนายจ้างเดิมสู่นายจ้างใหม่ และหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าโรงภาพยนตร์จากจำเลยร่วมโดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ตกลงรับช่วงจ้างคนงานจากจำเลยร่วมให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไป ลูกจ้างของจำเลยร่วมจึงเปลี่ยนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 สัญญาจ้างระหว่างจำเลยร่วมกับลูกจ้างจึงเป็นอันระงับ อันเป็นกรณีนายจ้างเดิมโอนสิทธิของตนให้แก่นายจ้างใหม่ โดยความยินยอมของลูกจ้าง เพราะลูกจ้างได้ทำงานให้แก่จำเลยที่1 จนถึงวันเลิกจ้างเป็นเวลาสองเดือนเศษดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า และแม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้เลิกสัญญากับจำเลยร่วม ก็ไม่มีผลทำให้หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกจ้างต้องเปลี่ยนแปลงไป
of 23