พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74-75/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่กฎหมายบัญญัติ แม้เป็นเจ้าพนักงานก็อาจเป็นลูกจ้างได้
บุคคลใดจะมีฐานะเป็นลูกจ้างหรือไม่นั้น ย่อมเป็นไปตามคำนิยามของคำว่า 'ลูกจ้าง' ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน บุคคลที่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายก็อาจเป็นลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การกระทำของลูกจ้างที่มิอาจถือเป็นความผิดร้ายแรง
โจทก์เล่นหมากรุกในเวลาทำงาน จำเลยได้ออกหนังสือเตือนโจทก์แล้ว โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมลงนามรับทราบหนังสือเตือนจำเลยก็แจ้งให้โจทก์ทราบด้วยวิธีปิดประกาศ และการที่โจทก์นำหนังสือเตือนไปวางบนโต๊ะทำงานต่อหน้าผู้จัดการโรงงานซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา แม้จะมีลักษณะเป็นการท้าทายไม่เคารพผู้บังคับบัญชา เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับแต่ก็เป็นการกระทำเพื่อแสดงการปฏิเสธไม่ยอมลงนามรับทราบหนังสือเตือนและเป็นไปด้วยความสงบ ฉะนั้นพฤติการณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งและระเบียบข้อบังคับอันเป็นกรณีที่ร้ายแรง หรือกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) หรือป.พ.พ. ม.583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างงานไม่มีกำหนดระยะเวลา สิทธิการรับค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง
เอกสารของจำเลยที่ตอบรับโจทก์เข้าทำงานไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยตกลงจ้างกันเป็นกำหนดระยะเวลาเท่าใด ข้อความเกี่ยวกับเงินโบนัสก็เป็นเพียงเงื่อนไขว่ากรณีที่โจทก์ปฏิบัติงานจนถึงสิ้นเดือนธันวาคมก็จะได้รับเงินโบนัสเท่ากับเงินเดือน 2 เดือนเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมิได้แสดงว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์จนถึงเดือนธันวาคม ทั้งข้อตกลงที่ว่าในวันสุดท้ายของการสิ้นสุดตามสัญญาจะจ่ายเงินชดเชยให้ตามกฎหมายแรงงาน ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองยอมจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เมื่อสิ้นสุดตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีบอกกล่าวเลิกสัญญาตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์ไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานครมิใช่หน่วยงานราชการ ทำให้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและจำเลยมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
สำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานคร มิใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครหาได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 บังคับไม่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นประธานกรรมการบริหารและผู้อำนวยการสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ แม้เป็นเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 และกระทำการตามหน้าที่ระเบียบแบบแผนของทางราชการ แต่เมื่อเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ก็ต้องมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในฐานะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการ สำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ หาได้ฟ้องตำแหน่งหน้าที่เป็นจำเลยไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงอาจถูกฟ้องให้จ่ายค่าชดเชยได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่มิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ด้วย เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นประธานกรรมการบริหารและผู้อำนวยการสำนักงานปุ๋ยกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ แม้เป็นเจ้าหน้าที่ ในสังกัดกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 และกระทำการตามหน้าที่ระเบียบแบบแผนของทางราชการ แต่เมื่อเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ก็ต้องมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในฐานะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการ สำนักงานปุ๋ย กรุงเทพมหานคร ตามลำดับ หาได้ฟ้องตำแหน่งหน้าที่เป็นจำเลยไม่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงอาจถูกฟ้องให้จ่ายค่าชดเชยได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่มิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ด้วย เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770-3771/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้ปฏิบัติตามคำสั่ง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์โดยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่ง และอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมและนับอายุการทำงานติดต่อกันแล้วก็ตาม หากจำเลยยังค้างชำระค่าจ้างโจทก์ระหว่างเลิกจ้างอยู่อีก โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยให้ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระได้ กรณีไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก
เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้โดยไม่ต้องย้อนไปร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3769/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์เป็นสิทธิแยกต่างหาก ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
เงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เป็นคนละส่วนกับค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 41(4) แม้โจทก์จะได้รับเงินตามประกาศและกฎหมายดังกล่าวไปแล้วก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องเรียกเงินตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 41(1) อีก ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3727/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานธนานุเคราะห์เข้าข่ายบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ค่าชดเชยและเงินสมทบมีความแตกต่างกัน
กิจการสถานธนานุเคราะห์มิได้เป็นกิจการที่ให้เปล่าดังเช่นมูลนิธิหรือกิจการสาธารณกุศล แม้จะมีนโยบายสงเคราะห์และช่วยเหลือ ประชาชนทั่วไปผู้ประสบความทุกข์ยาก ก็มิได้เป็นกิจการที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ
เงินสมทบตามระเบียบสำนักงานธนานุเคราะห์ว่าด้วยเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. 2519 เป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย การที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าวว่า เงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าชดเชย จึงไม่มีผลใช้บังคับ
เงินสมทบตามระเบียบสำนักงานธนานุเคราะห์ว่าด้วยเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. 2519 เป็นเงินประเภทอื่นมิใช่ค่าชดเชย การที่จำเลยกำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าวว่า เงินสมทบที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าชดเชย จึงไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา แม้มีข้อตกลงเลิกจ้างก่อนกำหนด ก็ไม่ถือเป็นสัญญาไม่มีกำหนดเวลา
สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอน ตอนท้ายระบุว่า "ยกเว้นแต่จะได้เลิกจ้างก่อนกำหนด" ซึ่งทำได้ในกรณีโจทก์ทำผิดกฎข้อบังคับการทำงาน ข้อความนี้มิได้ทำให้สัญญานี้เป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาการจ้างไว้แน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองไม่ใช่ค่าชดเชย แม้มีวัตถุประสงค์คล้ายกัน ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง ตามข้อบังคับของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำเลย เป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชย จึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจและขอบเขตบังคับใช้กฎหมายแรงงาน: องค์การฟอกหนังไม่ใช่ราชการและอยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ.2498 มิได้มีมาตราใดให้องค์การฟอกหนังจำเลย เป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงกลาโหมโดยตรง จึงมิใช่ราชการส่วนกลางตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
องค์การฟอกหนังจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการอุตสาหกรรมและประกอบธุรกิจการค้าเพื่อมุ่งหวังกำไรเป็นรายได้แก่รัฐเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย จึงไม่เป็นกิจการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงเป็นนายจ้างลูกจ้างและอยู่ใต้บังคับของกฎหมายแรงงาน
อุทธรณ์ของจำเลยข้อ 3 ที่ขอถือเอาคำให้การเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์นั้น ไม่เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางโดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
องค์การฟอกหนังจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบการอุตสาหกรรมและประกอบธุรกิจการค้าเพื่อมุ่งหวังกำไรเป็นรายได้แก่รัฐเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมาย จึงไม่เป็นกิจการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงเป็นนายจ้างลูกจ้างและอยู่ใต้บังคับของกฎหมายแรงงาน
อุทธรณ์ของจำเลยข้อ 3 ที่ขอถือเอาคำให้การเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์นั้น ไม่เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางโดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย