คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134-3135/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายจ้าง: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลก็เป็นนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
นายจ้างตามคำนิยามในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 นอกจากหมายความถึงผู้ที่รับเอาลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งในคดีนี้ได้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษกาญจนบุรีแล้ว ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลยังหมายความถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นด้วย เมื่อผู้อำนวยการโรงงานกระดาษจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ แม้จะมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทจ่ายบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่ม
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยให้จ่ายเงินบำเหน็จหรือค่าชดเชยอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีจำนวนสูงกว่าอีกอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การจ้างงานผ่านหัวหน้างาน ไม่ถือเป็นลูกจ้างโดยตรง
บริษัทจำเลยประกอบกิจการขนถ่ายสินค้าบนเรือเดินทะเล การตกลงให้มีการขนถ่ายสินค้าเป็นการตกลงระหว่างจำเลยกับหัวหน้าใหญ่ ซึ่งจะไปบอกหัวหน้าสายซึ่งมีกรรมกรอยู่ในสายของตนมาทำงาน การควบคุมการทำงานหรือสั่งการใดๆ ย่อมอยู่ที่หัวหน้าใหญ่และหัวหน้าสาย จำเลยกับกรรมกรไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน ตั้งแต่การจ้าง การจ่ายค่าจ้าง และการควบคุมการทำงาน โจทก์ซึ่งเป็นกรรมกรขนถ่ายสินค้าจึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จกับการเรียกร้องค่าชดเชย: กฎและข้อบังคับบริษัทตัดสิทธิลูกจ้างหรือไม่
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทจำเลยมีว่าพนักงานที่ได้รับการปลดเกษียณจะได้รับเงินบำเหน็จหรือค่าชดเชยอื่นๆ ในการเลิกจ้าง ทั้งนี้จำเลยจะจ่ายให้เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่งที่มากกว่า ฉะนั้น การที่จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จแต่อย่างเดียวหามีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชยด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2676-2687/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุการทำงานเพื่อคำนวณค่าชดเชย: เริ่มนับจากวันเริ่มทำงานจริง ไม่ใช่วันที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานมีผลบังคับใช้
การนับระยะเวลาการทำงานเพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างนั้น หมายถึงการนับระยะเวลาที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงาน มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการเดินทางกลับหลังปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น ไม่ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
โจทก์เป็นพนักงานขายสินค้าและเก็บเงินประจำสาขาบริษัทไปทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าตามหน้าที่และคำสั่งของผู้จัดการสาขา การทำงานให้นายจ้างเสร็จสิ้นแล้ว ขณะเดินทางกลับบ้านถูกรถยนต์เฉี่ยวรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับมาล้มลง โจทก์ได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง สำนักงานกองทุนเงินทดแทนไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
พนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นลูกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488-2492/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งค่าชดเชยและการพิสูจน์วัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรของกิจการประปานครหลวง
ฟ้องแย้งว่าจำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์ประเภท 2 ให้แก่โจทก์แล้วโดยตามข้อบังคับของจำเลยให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยด้วย ต่อมาจำเลยทราบว่าข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสงเคราะห์ ขอให้บังคับโจทก์คืนเงินดังกล่าวที่รับไปให้แก่จำเลย ดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าชดเชยตามคำฟ้องเดิม จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
กิจการของการประปานครหลวงเป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไร ไม่ได้รับยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่จะไม่อยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415-2420/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานช่วงและลูกจ้างมีกำหนดเวลา: จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างตามกำหนดสัญญา
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามโครงการสำรวจที่ดินเพื่อเวนคืนโดยครั้งแรกคาดว่างานตามโครงการจะเสร็จภายใน 8 เดือน แต่เมื่องานไม่เสร็จ การจ้างโจทก์จึงกระทำเป็นช่วง ๆ ติดต่อกันมา เมื่อช่วงสุดท้ายสัญญาจ้างสิ้นสุดลง จำเลยก็เลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จึงเป็นการตกลงจ้างโจทก์โดยมีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนทุกช่วง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และจำเลยเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343-2346/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงงานยาสูบเป็นรัฐวิสาหกิจ นายจ้างลูกจ้างบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้
โรงงานยาสูบเป็นโรงงานผลิตบุหรี่ซิกาแรตจำหน่ายเพื่อแสวงหากำไรเป็นรายได้ของแผ่นดินที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการเช่นเอกชนผู้ประกอบอุตสาหกรรมอื่นโดยทั่วไป มิใช่ราชการส่วนกลางตามความหมายที่ยกเว้นไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้แทนได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการโรงงานยาสูบมีอำนาจควบคุมดูแลจัดกิจการของโรงงานตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างตามความของประกาศกระทรวงมหาดไทย
of 23