คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303-2311/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะราชการส่วนกลางของโรงงานกระดาษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ได้รับการยกเว้นบังคับใช้ประกาศคุ้มครองแรงงาน จึงอาจต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย
แม้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นราชการส่วนกลางตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515ข้อ 3 และข้อ 5(4) แต่ไม่ปรากฏว่าโรงงานกระดาษเป็นส่วนราชการของกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย โรงงานกระดาษกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงมิใช่ราชการส่วนกลางไม่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 บังคับกรมโรงงานอุตสาหกรรมจำเลยในฐานะเป็นนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานกระดาษกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นนายจ้างของโจทก์จึงอาจถูกฟ้องให้รับผิดจ่ายค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189-2190/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเคหะแห่งชาติมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ และต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 28 กำหนดว่า "ในการดำเนินกิจการของการเคหะแห่งชาติให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน" เป็นหลักของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของรัฐควรต้องคำนึงอยู่แล้ว หาใช่เป็นข้อแสดงวัตถุประสงค์ว่าไม่ประสงค์เพื่อแสวงกำไรอย่างเด็ดขาดไม่ กิจการของการเคหะแห่งชาติจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กิจการสาธารณูปโภคย่อมมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร แม้เป็นรัฐวิสาหกิจ พนักงานยังคงเป็นลูกจ้าง
การดำเนินกิจการสาธารณูปโภคนั้น มิใช่ว่าจะเป็นการดำเนินกิจการที่มิได้มุ่งหวังกำไรโดยเด็ดขาดหรือเป็นกิจการที่ให้เปล่า กิจการของการประปานครหลวงอาจมีได้ทั้งกำไรและขาดทุน นอกจากนี้ในด้านรายได้กฎหมายก็ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย ค่าสัมภาระเงินสงเคราะห์ ประโยชน์ตอบแทน โบนัส เงินสำรอง และเงินลงทุนแล้วให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ ดังนั้น เงินที่นำส่งเป็นรายได้ของรัฐก็คือกำไรจากกิจการของจำเลยนั่นเอง กิจการของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
การที่พระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ กำหนดให้พนักงานของจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นเป็นเพียงกำหนดฐานะของพนักงานของจำเลย ซึ่งตามปกติถือไม่ได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ให้มีฐานะอย่างเจ้าพนักงานเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและปฏิบัติงานกับบุคคลภายนอกและความรับผิดทางอาญา ซึ่งพนักงานของจำเลยได้กระทำต่อจำเลยหรือรัฐซึ่งเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยคงเป็นไปในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างอยู่นั่นเอง ถึงหากจำเลยจะเรียกชื่อลูกจ้างประจำเป็นพนักงาน ก็หาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน: การรับฟังค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าชดเชย
โจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพ จำเลยให้การปฏิเสธโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบ แต่โจทก์มิได้นำสืบประเด็นข้อนี้ จึงจะฟังว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพไม่ได้ ที่ศาลฟังว่าโจทก์ได้รับค่าครองชีพ และนำไปรวมกับค่าจ้างเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1856/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตบังคับใช้ประกาศคุ้มครองแรงงานกับหน่วยงานของรัฐ: โรงงานยาสูบไม่ใช่ราชการส่วนกลาง
โรงงานยาสูบเป็นโรงงานของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1มิใช่ส่วนราชการของจำเลยที่ 1 โรงงานยาสูบจึงมิใช่ราชการส่วนกลาง ต้องอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลผู้เป็นเจ้าของโรงงานยาสูบ และเป็นนายจ้างของโจทก์จึงอาจถูกฟ้องให้รับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้ มิใช่เป็นการใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวบังคับแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นราชการส่วนกลาง
จำเลยที่ 2 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ย่อมเป็นนายจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 และมีหน้าที่ในฐานะเป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 46 จำเลยที่ 2 จึงอาจถูกฟ้องเรียกค่าชดเชยได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465-1466/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเกลื่อนกลืน: การจ่ายเงินบำเหน็จทดแทนค่าชดเชยเมื่อจำนวนเงินบำเหน็จสูงกว่า
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย และค่าชดเชยนั้นมีจำนวนต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับ จำเลยจึงจ่ายเงินบำเหน็จอันมีค่าชดเชยเกลื่อนกลืนอยู่ด้วยให้แก่โจทก์ กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสำนักงานสลากฯ ไม่เป็นราชการส่วนกลาง จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำเลยได้จัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 วัตถุประสงค์ของจำเลยไม่ใช่การบริหารราชการแผ่นดิน มีคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและวางนโยบายของจำเลยแยกต่างหากจากการบริหารราชการแผ่นดิน จำเลยจึงมิใช่ส่วนราชการที่เป็นราชการส่วนกลางตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ระบุไว้ ไม่เข้าข่ายยกเว้นใช้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ซึ่งออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มีสิทธิที่จะได้รับทั้งเงินบำเหน็จและค่าชดเชย คณะกรรมการของจำเลยให้โจทก์ขอรับเงินได้ประเภทเดียว เป็นการปฏิเสธจ่ายเงินอีกประเภทหนึ่ง โจทก์ขอรับเงินบำเหน็จจึงหาใช่เป็นการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฉีกใบเตือนไม่ใช่การทำลายทรัพย์สิน เหตุผลเลิกจ้างไม่ชอบธรรม
ผู้บังคับบัญชาสั่งให้โจทก์ปฏิบัติงาน โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชาจึงได้ออกใบเตือนให้โจทก์รับทราบ โจทก์ฉีกใบเตือนเฉพาะฉบับที่จำเลยออกให้โจทก์เท่านั้น ซึ่งเป็นฉบับที่มอบให้ลูกจ้าง ถือว่าลูกจ้างจะเอาไปทำอะไรก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยก็ไม่อาจอ้างว่าโจทก์ทำลายทรัพย์สินคือใบเตือนของจำเลย ดังที่ระบุไว้ในคำสั่งเลิกจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าการที่จำเลยปลดโจทก์ออกจากงาน เป็นการปลดหรือเลิกจ้างเพราะเหตุได้กระทำผิดดังที่ระบุไว้ในคำสั่ง จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน และชำระค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจ่ายเงินบำเหน็จควบคู่กับค่าชดเชยตามระเบียบและกฎหมายแรงงาน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยมีว่า ถ้าลูกจ้างได้รับเงินชดเชยอยู่แล้วไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ถ้าเงินชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จให้จ่ายเงินบำเหน็จเท่ากับส่วนที่ต่ำกว่าระเบียบ ดังนี้มิได้หมายความว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ จำเลยต้องจ่ายเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่เกินกว่าค่าชดเชยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างป่วยจนหมดสมรรถภาพ นายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย
นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะป่วยหมดสมรรถภาพในการทำงาน โดยมิได้กระทำผิด อยู่ในความหมายของเลิกจ้างตามข้อ 46 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
of 23