พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207-1209/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: หลักการผิดนัดชำระหนี้ และขอบเขตอำนาจศาลแรงงาน
ตามข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แก้ไขฉบับที่ 2 และฉบับที่ 6 นายจ้างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ค่าชดเชยให้ลูกจ้างทันที โดยลูกจ้างไม่ต้องทวงถาม เมื่อนายจ้างไม่ชำระย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัด และลูกจ้างเสียหายอยู่ในตัว แม้กฎหมายว่าด้วยแรงงานมิได้บัญญัติถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้ก็นำหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ที่ให้ลูกหนี้รับผิดเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดมาบังคับได้
ตามคำฟ้องมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยไว้ ทั้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็มิได้อ้างเหตุผลความเป็นธรรมตามที่เห็นควรประการใด การที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าดอกเบี้ยในค่าชดเชยด้วยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 52
ตามคำฟ้องมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยไว้ ทั้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางก็มิได้อ้างเหตุผลความเป็นธรรมตามที่เห็นควรประการใด การที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าดอกเบี้ยในค่าชดเชยด้วยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165-1175/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: เกิดหนี้ในวันเลิกจ้าง ไม่ต้องทวงถามก่อนฟ้อง มีดอกเบี้ย
หนี้ค่าชดเชยเป็นหนี้ที่กำหนดไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้าง หมายความว่านายจ้างเลิกจ้างวันใด นายจ้างย่อมมีหนี้ตามกฎหมายถึงกำหนดชำระแก่ลูกจ้างในวันที่เลิกจ้าง อันเป็นวันแห่งปฏิทิน ลูกจ้างหาจำต้องทวงถามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสองไม่ เมื่อนายจ้างไม่จ่ายย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันเลิกจ้างต้องรับผิดเสีย ค่าดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย: ระเบียบของนายจ้างที่ไมขัดแย้งกับกฎหมาย
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างของจำเลยแปลได้ว่าลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้ทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จให้ได้รับค่าชดเชยแต่ประเภทเดียว เว้นแต่ลูกจ้างผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จซึ่งมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชย จึงให้ได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่สูงกว่าค่าชดเชย ระเบียบดังกล่าวนี้มิได้ให้ งดการจ่ายค่าชดเชยซึ่งต้องจ่ายตามกฎหมาย แต่ให้งดหรือจ่ายบางส่วนสำหรับเงินบำเหน็จ ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจ่าย เป็นระเบียบที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อนายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับแล้วแม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จ ก็ยังเป็นค่าชดเชยตามความจริง
เมื่อนายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับแล้วแม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จ ก็ยังเป็นค่าชดเชยตามความจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในการสั่งค่าเสียหายและการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างได้ โดยมีอำนาจกำหนดได้ตามที่เห็นสมควรพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 41(4) ไม่ต้องอาศัยเทียบเคียงกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเกี่ยวกับการกำหนดค่าชดเชยเพราะไม่ใช่เป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างครูโรงเรียนราษฎร์ ไม่จ่ายค่าชดเชย พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำเตือนได้
ครูโรงเรียนราษฎร์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่านายจ้างเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย มิใช่กรณีพิพาทในเรื่องกำหนดหรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่เรื่องที่ต้องบังคับ ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่เป็นเรื่อง ที่ต้อง ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และไม่มีข้อบังคับให้นำ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ มาใช้ พนักงานตรวจแรงงาน มีอำนาจ ออกคำเตือนให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยได้ ตามข้อ 77 แห่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็น การโต้แย้ง สิทธิของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับธนาคารไม่อาจใช้แทนการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายได้
ลักษณะ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำเลยแก่โจทก์ลูกจ้างของจำเลยซึ่งครบเกษียณอายุ ไม่อาจแปลปรับเข้าด้วยกันกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และ ข้อ 47 ต้องนับว่าเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างดังที่ระบุไว้ในบทนิยามคำว่า "ค่าชดเชย" แม้ข้อบังคับจะกำหนดให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชย ก็หามีผลแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747-768/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินรางวัลพิเศษเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ แม้จะมีการประกาศว่าไม่รวม
เงินรางวัลพิเศษเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติอย่างเดียวกับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ย่อมเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานฯ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยแรงงานที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ออกจากงาน เงินรางวัลพิเศษจึงเป็นค่าจ้างปกติตามที่นิยามไว้ในคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม อันต้องนำไปรวมคำนวณเงินบำเหน็จ การที่จำเลยประกาศว่าเงินรางวัลพิเศษไม่ถือเป็นค่าจ้างตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านนั้น ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ตกลงตามประกาศนั้น จึงถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: นายจ้างผิดนัดชำระ ลูกจ้างมีสิทธิเรียกดอกเบี้ย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยของค่าชดเชยจากนายจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและการเลิกจ้าง: การออกจากงานโดยสมัครใจไม่ใช่การเลิกจ้าง และสิทธิในเงินโบนัส
กรรมการผู้จัดการของบริษัทนายจ้างแจ้งความกล่าวหาลูกจ้างว่าลักทรัพย์จนลูกจ้างถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับไปคุมขังและถูกฟ้องอาญา แต่ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุด ว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้การกล่าวหานั้นจะปราศจากมูลความจริง ลูกจ้างก็ถูกจับและควบคุมไว้ไม่ได้ทำงาน 5 วันไม่ถึง 7 วันทำงานติดต่อกัน เมื่อลูกจ้างมีประกันตัวมาก็ไม่กลับเข้าทำงาน โดยไม่ปรากฏว่านายจ้างไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานหรือกลั่นแกล้งประการอื่น เป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่ทำงานกับนายจ้างต่อไปโดยความสมัครใจของลูกจ้างเอง มิใช่เหตุเพราะนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยโดยที่ไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้เป็นหนังสือเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัส เป็นแต่นายจ้างเคยจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้าง 1 เดือน เมื่อสิ้นปี แสดงว่านายจ้างจะจ่ายเงินโบนัสให้ต่อเมื่อลูกจ้างผู้นั้นยังคงทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยถึงสิ้นปี เมื่อลูกจ้างออกจากงานไปเสียก่อนสิ้นปี ทั้งไม่ปรากฏว่านายจ้างต้องจ่ายเงินโบนัส แม้ลูกจ้างจะออกไปในระหว่างปีโดยคำนวณตามระยะของการทำงานหรือผลงานแล้ว ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ "อัตราเดิม" ในสัญญาจ้าง: หลักเกณฑ์ปรับค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำ
บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยในการปรับค่าจ้างเป็นรายเดือนแก่ลูกจ้างรายวันมีว่า "ลูกจ้างรายวันที่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันละ 47 บาทขึ้นไปทั้งนี้หากต่อไปมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่เป็นวันละเกิน 35 บาทแล้ว การพิจารณาปรับค่าจ้างเป็นรายเดือนแก่ลูกจ้างรายวันจะถือเอาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสุดที่บริษัทปรับให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่รวมกับอัตราเดิมเป็นเกณฑ์การพิจารณา" คำว่าอัตราเดิมตามข้อตกลงดังกล่าวหมายถึงอัตราค่าจ้างวันละ47 บาท ที่กำหนดไว้ในตอนต้นนั้นเองไม่ใช่อัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างหรือโจทก์แต่ละคนได้รับขณะทำข้อตกลงเพราะค่าจ้างที่โจทก์แต่ละคนได้รับไม่ได้ถูกนำมาระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงอันจะถือให้เห็นว่าเป็นอัตราเดิมเมื่อมีการปรับค่าจ้างใหม่จึงต้องนำค่าจ้างขั้นต่ำที่สุดที่ปรับให้มารวมกับอัตราค่าจ้าง 47 บาทและกลายเป็นอัตราเดิมตามข้อตกลงนี้ต่อไป