พบผลลัพธ์ทั้งหมด 223 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเมื่อเลิกจ้าง จำเป็นต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องควบคู่กัน
ความผิดพลาดในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเกิดขึ้น เพราะนายจ้างใช้บทกฎหมายเกี่ยวกับค่าชดเชยไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แล้ว นายจ้างก็หักเงินบำเหน็จที่จ่ายให้ลูกจ้างรับไปแล้วออกจากจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476-477/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ขององค์การสะพานปลาไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
เงินสมทบตามข้อบังคับองค์การสะพานปลา ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2518 ข้อ 11 เป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายงานเท็จเพื่อรับค่าแรง ย่อมเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้
ผู้คัดค้านมีหน้าที่ตัดผ้าใบ แล้วไม่ตัดผ้าใบตามคำสั่งกลับทำรายงานเท็จว่าตัดเสร็จแล้ว เพื่อแสวงหาประโยชน์จากเงินค่าแรงที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1)(2) จึงเป็นความผิดทางวินัยดังระบุไว้ตามข้อบังคับของผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสงเคราะห์กับการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้ข้อบังคับจำเลยจะกำหนดให้เทียบเท่ากัน ก็ไม่สามารถนำมาใช้แทนกันได้
เงินสงเคราะห์ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ เป็นเงินที่จ่ายให้ตาม ข้อบังคับของการประปานครหลวง ฉบับที่ 6 ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ และการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการประปานครหลวง พ.ศ. 2521 แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับ ฉบับที่ 32 และฉบับที่ 38 ซึ่งข้อ 13 วางระเบียบการให้เงินสงเคราะห์แก่ผู้ปฏิบัติงานไว้หลายประการ เช่น พ้นจากตำแหน่งกรณีสูงอายุ ฯลฯ เป็นต้น มิใช่เป็นเงินที่จ่ายให้ในกรณีเลิกจ้างโดยเฉพาะดังค่าชดเชย ถึงแม้ข้อบังคับข้อ 14 จะกำหนดให้ถือว่าการจ่ายเงินแก่ผู้ปฏิบัติงาน ตามข้อบังคับนี้ เป็นการจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน แต่เงินสงเคราะห์ และค่าชดเชยต่างเป็นเงินที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายต่างกัน และมีวัตถุประสงค์ต่างกัน จึงไม่อาจแปลปรับเข้ากันได้ ถึงแม้จำเลย จะได้จ่ายเงินสงเคราะห์ส่วนหนึ่ง และจ่ายเงินเพิ่มให้อีก รวมเท่ากับค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายค่าชดเชย ให้แก่โจทก์ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานแล้ว แต่การที่จำเลยได้จ่ายเงิน เพิ่มเป็นค่าชดเชยแก่โจทก์แล้วจำนวน 3,528.87 บาท โดยโจทก์มีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยทั้งสิ้น 10,200 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย ให้แก่โจทก์อีก 6,671.13 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับบริษัทกำหนดอายุเกษียณไม่ใช่สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้อบังคับของการเคหะแห่งชาติว่าด้วย การจ้าง การแต่งตั้งการออกจากตำแหน่ง วินัย และการลงโทษของลูกจ้างว่า"ลูกจ้างคนใดมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณในปีงบประมาณที่ลูกจ้างนั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์" นั้นเป็นกรณีกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างไว้เป็นการทั่วไป อาจมีอยู่ก่อนที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าเป็นลูกจ้างหรือเพิ่งมีขึ้นหลังจากบุคคลนั้นเข้าเป็นลูกจ้างแล้วก็ได้ มิใช่เป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นรายๆ ไปว่าจะจ้างกันเป็นระยะเวลานานเท่าใด แม้โจทก์ซึ่งเกิดปี พ.ศ.2463 อาจคำนวณอายุของตนและทราบล่วงหน้าอยู่แล้วว่า จำเลยจะจ้างโจทก์เพียงวันที่ 30 กันยายน 2523 ก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317-324/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุ: การเลิกจ้างเนื่องจากกฎหมาย หรือการกำหนดคุณสมบัติ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยนายจ้าง
รัฐวิสาหกิจเลิกจ้างพนักงานซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แม้ต้องเลิกจ้างเพราะมีกฎหมายบังคับ ไม่อาจจะจ้างต่อไปถึงหากจะมีความประสงค์จะจ้างต่อ ก็ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง
การที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์ก็ดี หรือมีระเบียบข้อบังคับของนายจ้างว่าให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างออกจากงานได้ เมื่อลูกจ้างครบเกษียณอายุก็ดี ไม่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง หากแต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างไว้เป็นการทั่วไป ไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฯ ฉบับที่ 2 ข้อ 1 และประกาศฯ ฉบับที่ 6 ข้อ2
ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และระเบียบว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มีหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินสงเคราะห์และเงินบำเหน็จหรือบำนาญแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามบทนิยามของคำว่า 'ค่าชดเชย' ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องถือว่าเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ว่าจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าค่าชดเชย นายจ้างก็ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างอยู่อีก
การจ่ายค่าครองชีพให้เป็นประจำทุกเดือนโดยมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือนนั้น นับได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
การที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีอายุไม่เกิน60 ปีบริบูรณ์ก็ดี หรือมีระเบียบข้อบังคับของนายจ้างว่าให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างออกจากงานได้ เมื่อลูกจ้างครบเกษียณอายุก็ดี ไม่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง หากแต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างไว้เป็นการทั่วไป ไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฯ ฉบับที่ 2 ข้อ 1 และประกาศฯ ฉบับที่ 6 ข้อ2
ข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และระเบียบว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างของการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มีหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินสงเคราะห์และเงินบำเหน็จหรือบำนาญแตกต่างไปจากค่าชดเชยตามบทนิยามของคำว่า 'ค่าชดเชย' ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ต้องถือว่าเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ว่าจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่าค่าชดเชย นายจ้างก็ยังมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างอยู่อีก
การจ่ายค่าครองชีพให้เป็นประจำทุกเดือนโดยมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือนนั้น นับได้ว่าค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงาน จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่มีระบุเหตุร้ายแรง ต้องตักเตือนก่อน
ลูกจ้างมาทำงานสายและประพฤติไม่สมควรต่อผู้บังคับบัญชาแต่ไม่มีในข้อบังคับว่าเป็นกรณีฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงที่จะให้ออกโดยไม่ต้องตักเตือนก่อน นายจ้างต้องใช้ค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าพาหนะจ่ายให้ลูกจ้างออกนอกสถานที่ถือเป็นค่าจ้าง แต่ค่าเช่าบ้านไม่ถือเป็นค่าจ้างหากไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน
ค่าพาหนะเหมาจ่ายเดือนละ 1,500 บาท โดยลูกจ้างต้องออกทำงานนอกสถานที่ ถือเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แต่ค่าเช่าบ้านไม่ใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ตามสภาพไม่ถือเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง-นายจ้าง และสิทธิค่าชดเชย กรณีผู้บริหารพ้นตำแหน่งด้วยความเห็นชอบของ ครม.
โจทก์เป็นผู้อำนวยการมีอำนาจกระทำการแทนองค์การจำเลยฐานะระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์พ้นตำแหน่งด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ถือเป็นการเลิกจ้างมีสิทธิได้ค่าชดเชย เงินที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์พนักงานตามข้อบังคับของจำเลยที่ให้ถือเป็นเงินชดเชย ก็ไม่ใช่เงินชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจำเลยยังต้องจ่ายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง: นายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ย
ค่าชดเชยต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้าง โดยไม่ต้องทวงถาม ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง