คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 521

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้หลังให้ทรัพย์แล้ว กรณีหลานแสดงกริยาไม่เคารพต่อผู้ให้
ตายกที่นาให้หลานแล้วไปจำศีลอาศัยอยู่ที่วัดต่อมาร่างกายทรุดโทรมเพราะชรามาก จึงกลับมาขออาศัยหลานอยู่ หลานไม่ยอมให้ตาอาศัยจนตาต้องไปอาศัยอยู่กับบุตรคนหนึ่งต่อมาหลานหนีผัวตามชู้ไป ตาว่ากล่าวสั่งสอน หลานกลับด่าตาด้วยถ้อยคำหยาบช้าลามกต่างๆ ดังนี้ ชอบที่จะถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขห้ามโอนกรรมสิทธิในที่ดินพระราชทานต้องตีความอย่างเคร่งครัด และมีขอบเขตจำกัดเฉพาะเงื่อนไขที่ระบุไว้
การตีความข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ต้องตีความโดยจำกัดเงื่อนไขห้ามการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ให้ก่อนตายหรือโดยพินัยกรรมจะมีอยู่ได้ก็โดยจำกัดอย่างเคร่งครัด
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมฤดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีที,วอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า "..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน.." นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า " เรื่องเช่นนี้ " จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชการใด ๆ นั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทาน: การตีความต้องจำกัด และมีข้อแตกต่างตามแต่ละรัชกาล
การตีความข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ต้องตีความโดยจำกัดเงื่อนไขห้ามการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ก่อนตายหรือโดยพินัยกรรมจะมีอยู่ได้ก็โดยจำกัดอย่างเคร่งครัด
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมรดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีทีวอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า'..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน...'นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า'เรื่องเช่นนี้'จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชกาลใดๆ นั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในพินัยกรรม: การยกทรัพย์เมื่อตาย มิใช่การยกทรัพย์โดยเสน่หา
ความในพินัยกรรมข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้ตายเจตนายกทรัพย์ให้ผู้มีชื่อตั้งแต่วันทำพินัยกรรมฉะบับนี้มีข้อความเริ่มต้นระบุไว้ชัดว่าขอทำหนังสือพินัยกรรมเป็นคำสั่งเผื่อตายไว้ และตอนท้ายก็ยังกล่าวยืนยันว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยความเต็มใจและมีสติดีมีพยานลงชื่ออย่างพินัยกรรม ทุกประการเช่นนี้ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ตายมุ่งหมายจะยกทรัพย์ให้เมื่อผู้ตายตายลง หาใช่เป็นหนังสือยกทรัพย์ให้ดดยเสน่หาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายกทรัพย์โดยพินัยกรรม: การตีความพินัยกรรมสั่งให้ยกทรัพย์เมื่อเสียชีวิต มิใช่การยกทรัพย์โดยเสน่หา
ความในพินัยกรรมข้อหนึ่งกล่าวว่า ผู้ตายเจตนายกทรัพย์ให้ผู้มีชื่อตั้งแต่วันทำพินัยกรรมฉบับนี้ มีข้อความเริ่มต้นระบุไว้ชัดว่าขอทำหนังสือพินัยกรรมเป็นคำสั่งเผื่อตายไว้ และตอนท้ายก็ยังกล่าวยืนยันว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ด้วยความเต็มใจและมีสติดี มีพยานลงชื่ออย่างพินัยกรรมทุกประการ เช่นนี้ ย่อมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ตายมุ่งหมายจะยกทรัพย์ให้เมื่อผู้ตายตายลง หาใช่เป็นหนังสือยกทรัพย์ให้โดยเสน่หาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยกทรัพย์ไม่ใช่พินัยกรรม แต่จำเลยได้สิทธิครอบครองจากระยะเวลาครอบครอง
หนังสือระบุว่าเป็นพินัยกรรม์และมีพะยานกับผู้เขียนอย่างแบบพินัยกรรม์ แต่เมื่ออ่านข้อความตลอดแล้วเห็นได้ว่าผู้ยกทรัพย์ให้ไม่ได้แสดงเจตนาจะยกทรัพย์ให้เมื่อตายแต่กลับยกให้ทันทีตั้งแต่วันทำหนังสือนั้น จึงไม่ใช่เป็นพินัยกรรม์ แต่เป็นลักษณะสัญญาให้ทำหนังสือยกที่นามือเปล่าให้กันเอง ผู้รับได้เข้ายึดถือครอบครองนานั้นด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาแล้ว 1 ปี ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1367, 1369 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยกที่ดินไม่เป็นพินัยกรรม แต่จำเลยได้สิทธิครอบครองจากระยะเวลา
หนังสือระบุว่าเป็นพินัยกรรมและมีพยานกับผู้เขียนอย่างแบบพินัยกรรม แต่เมื่ออ่านข้อความตลอดแล้ว เห็นได้ว่าผู้ยกทรัพย์ให้ไม่ได้แสดงเจตนาจะยกทรัพย์ให้เมื่อตาย แต่กลับยกให้ทันทีตั้งแต่วันทำหนังสือนั้น จึงไม่ใช่เป็นพินัยกรรม แต่เป็นลักษณะสัญญาให้
ทำหนังสือยกที่นามือเปล่าให้กันเอง ผู้รับได้เข้ายึดถือครอบครองนานั้นด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาแล้ว 1 ปีย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1367,1369 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาปรานีประนอมยอมความเมื่อได้มาโดยแจ้งเท็จ สัญญาไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา
ลูกหนี้จำต้องคืนที่ดินให้เจ้าของไปโดยรับจะปราณีประนอมยอมความเพราะลูกหนี้ได้ที่ดินมาโดยการไปแจ้งเท็จต่อ เจ้าพนักงานหอทะเบียนที่ดินนั้น หาใช่เป็นกรณีที่ลูกหนี้ให้โดยเสน่หาไม่ เจ้าหนี้จะเพิกถอนการฉ้อฉลโดยอ้างว่าเพียงแต่ลูกหนี้รู้ถึงการเสียเปรียบฝ่ายเดียวก็พอแล้วเท่านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความจากการแจ้งเท็จ หอทะเบียนที่ดิน ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา
ลูกหนี้จำต้องคืนที่ดินให้เจ้าของไปโดยสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะลูกหนี้ได้ที่ดินมาโดยการไปแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงานหอทะเบียนที่ดินนั้น หาใช่เป็นกรณีที่ลูกหนี้ให้โดยเสน่หาไม่ เจ้าหนี้จะเพิกถอนการฉ้อฉลโดยอ้างว่าเพียงแต่ลูกหนี้รู้ถึงการเสียเปรียบฝ่ายเดียวก็พอแล้วเท่านั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแลกเปลี่ยนที่ดินกับผู้เยาว์: ศาลยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกับโจทก์ และโจทก์ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้จำเลยไปแล้ว จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยไม่เคยจะแลกเปลี่ยนที่ดินกับโจทก์ ที่ดินที่โจทก์โอนให้จำเลยนี้ โจทก์โดนให้โดยเสน่หา โจทก์แถลงรับว่าเมื่อตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินนั้น จำเลยยังเป็นผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของโจทก์ได้ความดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยอ้างว่าการแลกเปลี่ยนที่ดินนี้จะฟ้องร้องบังคับกันไม่ได้ เพราะเป็นการทำนิติกรรมกับผู้เยาว์ และทั้งไม่ได้ทำให้ถูกแบบตาม ป.ม.แพ่ง ฯ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ ยังไม่เพียงพอจะให้วินิจฉัยคดีได้ ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาพิพากษาใหม่.
of 19