พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จรางวัล: จำเลยผูกพันตามระเบียบที่วางไว้จนกว่าจะแก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลงอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้างเมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่าง ๆดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งนี้ สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เพื่อตอบแทน ไม่เป็นการให้โดยเสน่หา โจทก์ขอถอนคืนไม่ได้
จำเลยได้ออกเงินชำระหนี้ให้แก่ผู้มีชื่อแทนโจทก์ โจทก์จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นการตอบแทน จึงไม่ถือว่าเป็นการให้โดยเสน่หา โจทก์จะมาขอถอนคืนการให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้เพื่อตอบแทนหนี้ ไม่ถือเป็นการให้โดยเสน่หา โจทก์ขอถอนคืนไม่ได้
จำเลยได้ออกเงินชำระหนี้ให้แก่ผู้มีชื่อแทนโจทก์ โจทก์จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นการตอบแทน จึงไม่ถือว่าเป็นการให้โดยเสน่หา โจทก์จะมาขอถอนคืนการให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกโดยไม่ชอบและสิทธิของทายาทที่แท้จริง ศาลมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียน
การที่จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับมรดกของเจ้ามรดกในที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนรับมรดกที่ดินพิพาทมา ตลอดจนการยอมรับว่าบิดาจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่แทนในนามของเจ้ามรดกตลอดมา เท่ากับเป็นการยอมรับความเป็นเจ้าของของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการครอบครองในลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อเจ้ามรดก จำเลยจึงไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
หลังจากเจ้ามรดกตาย มีทายาทอื่นที่มิใช่โจทก์จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา โฉนดที่ดินพิพาทยังคงมีชื่อเจ้ามรดกถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งจะยื่นขอโอนรับมรดก แสดงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของเจ้ามรดกอันจะพึงตกได้แก่บรรดาทายาทซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกันมา ในเบื้องต้นต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนกัน
การที่จำเลยซึ่งมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก เอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนรับมรดกโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของทายาทที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนโอนยกให้แก่ ข. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดกและการจดทะเบียนการให้นั้นเสียได้ เพราะจำเลยได้สิทธิมาโดยไม่ชอบ ข. ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
หลังจากเจ้ามรดกตาย มีทายาทอื่นที่มิใช่โจทก์จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา โฉนดที่ดินพิพาทยังคงมีชื่อเจ้ามรดกถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งจะยื่นขอโอนรับมรดก แสดงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของเจ้ามรดกอันจะพึงตกได้แก่บรรดาทายาทซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกันมา ในเบื้องต้นต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนกัน
การที่จำเลยซึ่งมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก เอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนรับมรดกโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของทายาทที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนโอนยกให้แก่ ข. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดกและการจดทะเบียนการให้นั้นเสียได้ เพราะจำเลยได้สิทธิมาโดยไม่ชอบ ข. ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการจดทะเบียนได้
การที่จำลยยื่นเรื่องราวขอรับมรดกของเจ้ามรดกในที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนรับมรดกที่ดินพิพาทมา ตลอดจนการยอมรับว่าบิดาจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่แทนในนามของเจ้ามรดกตลอดมา เท่ากับเป็นการยอมรับความเป็นเจ้าของของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการครอบครองในลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อเจ้ามรดก จำเลยจึงไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
หลังจากเจ้ามรดกตายมีทายาทอื่นที่มิใช่โจทก์จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา โฉนดที่ดินพิพาทยังคงมีชื่อเจ้ามรดกถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งจะยื่นขอโอนรับมรดก แสดงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของเจ้ามรดกอันจะพึงตกได้แก่บรรดาทายาทซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกันมา ในเบื้องต้นต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนกัน
การที่จำเลยซึ่งมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก เอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนรับมรดกโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของทายาทที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนโอนยกให้แก่ ข. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดก และการจดทะเบียนการให้นั้นเสียได้ เพราะจำเลยได้สิทธิมาโดยไม่ชอบ ข.ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
หลังจากเจ้ามรดกตายมีทายาทอื่นที่มิใช่โจทก์จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา โฉนดที่ดินพิพาทยังคงมีชื่อเจ้ามรดกถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งจะยื่นขอโอนรับมรดก แสดงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของเจ้ามรดกอันจะพึงตกได้แก่บรรดาทายาทซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกันมา ในเบื้องต้นต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนกัน
การที่จำเลยซึ่งมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก เอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนรับมรดกโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของทายาทที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนโอนยกให้แก่ ข. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดก และการจดทะเบียนการให้นั้นเสียได้ เพราะจำเลยได้สิทธิมาโดยไม่ชอบ ข.ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าต้องส่งมอบการครอบครอง หรือผู้รับครอบครองอยู่ก่อน การยกให้มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญใด ๆ การให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่การให้ซึ่งจะต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง เว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎฆมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง เว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎฆมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าต้องมีการส่งมอบ หรือผู้รับครอบครองอยู่ก่อน การยกให้มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญใด ๆ การให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่การให้ซึ่งจะต้องมีทั้งผู้ให้และผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองเว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489
ผู้ให้มีแต่สิทธิครอบครองในที่พิพาท ดังนั้น ผู้ให้จะโอนการครอบครองให้แก่ผู้รับก็แต่ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองเว้นแต่ผู้รับจะครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ก่อนแล้วก็ทำได้โดยเพียงแสดงเจตนา
ขณะที่เจ้ามรดกทำหนังสือยกที่พิพาทให้แก่ผู้รับผู้รับไม่อยู่ได้มาลงชื่อภายหลังและไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกส่งมอบที่พิพาทให้ผู้รับครอบครองหรือผู้รับได้ครอบครองที่พิพาทอยู่ก่อนทั้งหนังสือยกให้นั้นเป็นการยกให้โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน โดยให้มีผลสมบูรณ์ก่อนเจ้ามรดกตาย 3 วัน จึงยังฟังไม่ได้ว่าเจ้ามรดกได้แสดงเจตนาสละและโอนการครอบครองที่พิพาทให้ผู้รับที่พิพาทครึ่งหนึ่งที่เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกจึงยังเป็นมรดกของเจ้ามรดกอยู่ เมื่อโจทก์จำเลยและเจ้ามรดกเป็นอิสลามมิกชน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต 4 จังหวัด ดังนั้น ในการวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนในมรดกเพียงใด จำต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้ชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องสอด, เจตนายกทรัพย์, การซื้อทรัพย์โดยมีเจตนาให้เป็นสินส่วนตัว
ผู้ร้องสอดเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กับผู้ร้องสอด โจทก์เอาไปให้จำเลยโดยผู้ร้องสอดไม่รู้เห็นยินยอม แล้วผู้ร้องสอดขอถอนฟ้องในวันสืบพยานนัดแรกโดยแถลงต่อศาลว่าจะไม่นำคดีมาฟ้องจำเลยอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมซึ่งทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นรายเดียวกับคดีที่ผู้ร้องสอดเคยฟ้องจำเลย ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาในคดีอีก ดังนี้ คำร้องสอดถือว่าเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2002/2511)
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลยเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลยเพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องสอด & เจตนายกทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการฟ้องซ้ำและการให้ทรัพย์โดยมีเจตนาเฉพาะ
ผู้ร้องสอดเคยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าเป็นสินบริคณห์ของโจทก์กับผู้ร้องสอด โจทก์เอาไปให้จำเลยโดยผู้ร้องสอดไม่รู้เห็นยินยอม แล้วผู้ร้องสอดขอถอนฟ้องในวันสืบพยานนัดแรก โดยแถลงต่อศาลว่าจะไม่นำคดีมาฟ้องจำเลยอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องคดีนี้ขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมซึ่งทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นรายเดียวกับคดีที่ผู้ร้องสอดเคยฟ้องจำเลย ผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาในคดีอีก ดังนี้ คำร้องสอดถือว่าเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2002/2511)
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์กับผู้ร้องสอดเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาโจทก์ได้จำเลยเป็นภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ออกเงินซื้อทรัพย์พิพาทโดยมีเจตนายกให้จำเลย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนเมื่อมีบุตรเกิดขึ้น ดังนี้เมื่อโจทก์มีเจตนายกให้จำเลย จึงเรียกร้องทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งจากจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ทรัพย์สินไม่สมบูรณ์-โมฆะ หากไม่ทำตามฟอร์มตามกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยผู้เป็นบุตรว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิในการรับมรดกซึ่งมีสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์สิทธิและประโยชน์ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากบิดาโจทก์โดยยินยอมให้ทรัพย์มรดกดังกล่าวตกทอดได้แก่จำเลย สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์จำเลยมิได้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ ในขณะทำสัญญาหรือจะมีขึ้นในภายหน้าหากเป็นสัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้อสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้อสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะเพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)