พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์/อสังหาริมทรัพย์ไม่สมบูรณ์เพราะไม่ทำตามฟอร์มกฎหมาย และสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยผู้เป็นบุตรว่า โจทก์ยินยอมสละสิทธิในการรับมรดก ซึ่งมีสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ สิทธิและประโยชน์ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากบิดาโจทก์ โดยยินยอมให้ทรัพย์มรดกดังกล่าวตกทอดได้แก่จำเลย สัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเพราะโจทก์จำเลยมิได้มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์ในขณะที่สัญญาหรือจะมีขึ้นในภายหน้า หากเป็นสัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้สังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
สัญญาให้สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ทั้งไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 523 ถึง 525 บังคับไว้ย่อมไม่สมบูรณ์ เท่ากับไม่มีสัญญาให้ซึ่งสังหาริมทรัพย์และที่เกี่ยวกับการให้สังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 115
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ว่าสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หากเป็นสัญญาให้ที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรรมการจัดการมรดก: สิทธิจัดการที่ดินตามสัญญาให้ที่มีเงื่อนไข
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาให้จะตกเป็นของวัด อ. แต่ก็อยู่ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขที่ว่า เมื่อผู้ให้วายชนม์แล้วคณะกรรมการจัดการมรดกของผู้ให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการเก็บผลรายได้จากที่ดินนั้นเพื่อแบ่งปันแก่วัด อ. และบุคคลอื่นตามส่วนที่กำหนดไว้ในสัญญาคณะกรรมการจัดการมรดกซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้เช่าที่ดินนั้นได้แม้คำฟ้องจะระบุว่าวัด อ.เป็นโจทก์ แต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนถึงอำนาจของผู้จัดการมรดก แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยอาศัยอำนาจของผู้จัดการมรดก หาใช่อาศัยอำนาจของวัด อ. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ วัดอ. ไม่มีสิทธิที่จะขัดขวางอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดก เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด อ.อยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งสัญญาให้ดังกล่าว เมื่อฟังว่าที่ดินที่จำเลยเช่าอยู่ในอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดกคณะกรรมการจัดการมรดกจะมอบอำนาจฟ้องก่อนทำสัญญาเช่าหรือภายหลังการทำสัญญาเช่าก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะกรรมการจัดการมรดกตามสัญญาให้กรรมสิทธิ์ที่มีเงื่อนไข
แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาให้จะตกเป็นของวัด อ. แต่ก็อยู่ภายใต้บังคับแห่งเงื่อนไขที่ว่า เมื่อผู้ให้วายชนม์แล้วคณะกรรมการจัดการมรดกของผู้ให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการเก็บผลรายได้จากที่ดินนั้น เพื่อแบ่งปันแก่วัด อ. และบุคคลอื่นตามส่วนที่กำหนดไว้ในสัญญา คณะกรรมการจัดการมรดกซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้เช่าที่ดินนั้นได้ แม้คำฟ้องจะระบุว่า วัดอ. เป็นโจทก์ แต่ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนถึงอำนาจของผู้จัดการมรดก แสดงให้เห็นว่าโจทก์ฟ้องโดยอาศัยอำนาจของผู้จัดการมรดก หาใช่อาศัยอำนาจของวัด อ. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ วัด อ. ไม่มีสิทธิที่จะขัดขวางอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดก เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด อ.อยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งสัญญาให้ดังกล่าวเมื่อฟังว่าที่ดินที่จำเลยอยู่ในอำนาจจัดการของคณะกรรมการจัดการมรดก คณะกรรมการจัดการมรดกจะมอบอำนาจฟ้องก่อนทำสัญญาเช่าหรือภายหลังการทำสัญญาเช่าก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองที่ดินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด การโอนสิทธิ และการฟ้องขับไล่
คดีก่อนจำเลยฟ้องมารดาโจทก์ว่า บิดาจำเลยกู้เงินมารดาโจทก์ แล้วมอบที่นาพิพาทให้มารดาโจทก์ยึดถือทำกินต่างดอกเบี้ยบิดาจำเลยตายแล้ว จำเลยเป็นผู้รับมรดก จึงขอให้มารดาโจทก์คืนที่นาพิพาทแก่จำเลย ศาลพิพากษาถึงที่สุดฟังตามที่มารดาโจทก์ต่อสู้คดีว่า บิดาจำเลยขายที่นาพิพาทให้มารดาโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่โดยอาศัยสิทธิมารดาโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ปรากฏว่าระหว่างพิจารณาคดีก่อน มารดาโจทก์ยกที่นาพิพาทให้โจทก์และเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วโจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ อ้างว่าจำเลยอาศัย จำเลยต่อสู้ว่า การที่จำเลยฟ้องมารดาโจทก์ในคดีก่อนเป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครองโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อเกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เมื่อคำพิพากษาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วฟังว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่โดยอาศัยสิทธิมารดาโจทก์จำเลยจะโต้เถียงฝ่าฝืนคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยได้แสดงเจตนาแย่งการครอบครองที่พิพาทอีกไม่ได้ โจทก์ได้รับโอนที่นาพิพาทมา ถือได้ว่าได้รับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่พิพาทด้วยการที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้นานเท่าใดก็หาเป็นการแย่งการครอบครองไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการครอบครองที่ดินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด การโอนสิทธิ และการฟ้องขับไล่
คดีก่อนจำเลยฟ้องมารดาโจทก์ว่า บิดาจำเลยกู้เงินมารดาโจทก์ แล้วมอบที่นาพิพาทให้มารดาโจทก์ยึดถือทำกินต่างดอกเบี้ย บิดาจำเลยตายแล้ว จำเลยเป็นผู้รับมรดก จึงขอให้มารดาโจทก์คืนที่นาพิพาทแก่จำเลย ศาลพิพากษาถึงที่สุดฟังตามที่มารดาโจทก์ต่อสู้คดีว่า บิดาจำเลยขายที่นาพิพาทให้มารดาโจทก์ จำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่โดยอาศัยสิทธิมารดาโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ปรากฏว่าระหว่างพิจารณาคดีก่อน มารดาโจทก์ยกที่นาพิพาทให้โจทก์ และเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วโจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ อ้างว่าจำเลยอาศัย จำเลยต่อสู้ว่า การที่จำเลยฟ้องมารดาโจทก์ในคดีก่อนเป็นการแสดงเจตนาแย่งการครอบครอง โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้เมื่อคำพิพากษาคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วฟังว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทอยู่โดยอาศัยสิทธิมารดาโจทก์ จำเลยจะโต้เถียงฝ่าฝืนคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยได้แสดงเจตนาแย่งการครอบครองที่พิพาทอีกไม่ได้ โจทก์ได้รับโอนที่นาพิพาทมา ถือได้ว่าได้รับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับที่พิพาทด้วย การที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อมาต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้นานเท่าใดก็หาเป็นการแย่งการครอบครองไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำขอท้ายฟ้องที่ให้ถือคำพิพากษาแทนเจตนาจำเลย และการบังคับคดีตามสัญญาให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้ ฉ. และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง จำเลยร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยที่ 1 ทั้งแปลงก่อน โดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะแบ่งให้ ฉ. ครึ่งหนึ่งภายหลัง และจะระบุข้อตกลงไว้ในหนังสือสัญญาให้ด้วย โจทก์จึงลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือสัญญาให้ ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่แบ่งที่ดินให้ ฉ. มิได้ระบุข้อตกลงไว้ในสัญญาให้ และได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จำนองที่พิพาทไว้กับธนาคาร สัญญาให้จึงไม่สมบูรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง โดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย และแบ่งที่พิพาทที่ไถ่ถอนแล้วให้ ฉ. ครึ่งหนึ่ง ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ ในกรณีที่โจทก์ชนะคดีและจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาจะด้วยเหตุใดก็ตาม โจทก์ก็อาจไถ่ถอนที่ดินพิพาทอันมีผลผูกพันส่วนที่จะยกให้ ฉ. เสียเอง แล้วมาฟ้องเรียกร้องเอาค่าไถ่ถอนคืนจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้ สำหรับผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจร้องสอดหรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาในคดีนี้ได้อยู่แล้ว หรือคู่กรณีจะเลือกฟ้องร้องกันใหม่เป็นอีกคดีหนึ่งก็ได้
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่
ความประสงค์ของโจทก์ตามคำขอก็คือต้องการให้จำเลยโอนที่พิพาทครึ่งหนึ่งให้ ฉ. โดยปลอดจำนองเท่านั้น ซึ่งถ้าปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์รับที่ดินพิพาทไว้โดยมีข้อตกลงดังกล่าว จำเลยก็ถูกผูกมัดโดยสัญญาที่จะต้องโอนที่ดินให้ ฉ. ตามที่โจทก์ขอมา ส่วนการที่ ฉ. จะรับการให้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งในชั้นบังคับคดี หาทำให้คำขอของโจทก์บังคับไม่ได้แต่อย่างไรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หาเพื่อตอบแทนอุปการะและการซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องการยกทรัพย์สินให้หลานและข้อพิพาทเรื่องการซื้อขาย
โจทก์กับ ช.เป็นสามีภรรยาไม่มีบุตรด้วยกัน จำเลยเป็นหลานของ ช.ช. ยกที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยครึ่งหนึ่งโดยเสน่หา ขณะที่ ช.ยกที่พิพาทให้จำเลยนั้น ทั้งโจทก์และช.ต่างมีอายุ 70 ปีเศษแล้ว เมื่อ ช.ป่วย. จำเลยได้ดูแลปรนนิบัติและรักษาพยาบาลช.ทั้งช่วยออกเงินค่ารักษาพยาบาลแต่ผู้เดียว.การที่ช. ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยครึ่งหนึ่ง จึงเป็นการให้เพื่อตอบแทนความอุปการะช่วยเหลือ และเป็นการให้โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีของกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน
จำเลยให้การว่า จำเลยกับ ช.ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยออกเงินคนละครึ่งแต่ในชั้นพิจารณาจำเลยกลับนำสืบว่า ช.ซื้อที่ดินแปลงพิพาทผู้เดียว ต่อมา ช.จึงขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เป็นการนำสืบข้อความนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า จำเลยกับ ช.ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยออกเงินคนละครึ่งแต่ในชั้นพิจารณาจำเลยกลับนำสืบว่า ช.ซื้อที่ดินแปลงพิพาทผู้เดียว ต่อมา ช.จึงขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เป็นการนำสืบข้อความนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้หลานเป็นสินสมรสตามสมควรทางศีลธรรม ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
ในคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม และได้เน้นอีกว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทน ไม่ใช่เป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ เป็นการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นปู่ย่าของจำเลยที่ 2 มีที่ดินนอกจากที่พิพาทอีกหลายแปลง มีราคานับล้านบาทที่พิพาทส่วนที่ยกให้เป็นเพียงส่วนน้อย มีราคาไม่มากการยกให้โจทก์ก็ทราบดีและยินยอมอันเป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่จำเป็นให้ความยินยอมเป็นหลักฐาน เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่าไม่ได้ให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ทั้งได้อธิบายเกี่ยวกับการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีไว้ชัดแจ้ง จึงเป็นประเด็นแห่งคดี
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาท การยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีและไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่ง เป็นภริยา
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาท การยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีและไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่ง เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินสินสมรสให้บุตร/หลานโดยเสน่หา การให้ตามสมควรทางศีลธรรม และอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์
ในคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม และได้เน้นอีกว่า. เป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทน ไม่ใช่เป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ เป็นการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เป็นปู่ย่าของจำเลยที่ 2 มีที่ดินนอกจากที่พิพาทอีกหลายแปลง มีราคานับล้านบาท ที่พิพาทส่วนที่ยกให้เป็นเพียงส่วนน้อย มีราคาไม่มาก การยกให้ โจทก์ก็ทราบดีและยินยอม อันเป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอมเป็นหลักฐานเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่า ไม่ได้ให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ทั้งได้อธิบายเกี่ยวกับการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีไว้ชัดแจ้ง จึงเป็นประเด็นแห่งคดี
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาทการยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยา
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาทการยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารยกทรัพย์ระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิต ไม่ถือเป็นพินัยกรรมบังคับใช้หลังเสียชีวิต จำเลยมีสิทธิปฏิเสธได้
ผู้ตายทำเอกสารไว้ มีข้อความว่า "กระผม พระรัตน์ โอภาโสขอมอบถวายท่านเจ้าคุณพระสมุทรเมธาจารย์ เรื่องทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่มีอยู่ในขณะเป็นพระนี้ทั้งหมดห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาด" ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าเป็นการแสดงถึงเจตนาของผู้ตายในการกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินให้เกิดผลบังคับเมื่อได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเลย จึงมิใช่พินัยกรรมคงเป็นเพียงหนังสือยกทรัพย์ให้ในระหว่างมีชีวิตเท่านั้นการที่ระบุห้ามมิให้ญาติผู้ใดมาเกี่ยวข้องด้วยโดยเด็ดขาดเป็นข้อความเขียนห้ามไว้ตามธรรมดา เพราะได้ยกให้ไปแล้ว จะแปลเลยไปถึงว่ามีความหมายเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินที่จะให้เกิดผลบังคับเมื่อตายหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม จำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธในเรื่องพินัยกรรมที่เป็นมูลฟ้อง อันเป็นการปฏิเสธเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้