คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรเทิง มุลพรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดาต่อบุคคลภายนอกจากการจัดสรรที่ดินของบุตร และผลผูกพันของใบจองซื้อ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 เป็นบิดา ร.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2และขณะที่จำเลยที่ 2 ดำเนินโครงการการจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงย่อยพร้อมบ้านจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าว ประกอบกับจำเลยที่ 2ได้ปักป้ายโฆษณาไว้ปากทางเข้าหมู่บ้านโครงการ มีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านโครงการ ดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นในการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้เพียงผู้เดียว
โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่
การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 377อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดิน แบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาค่าก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้ม กรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใดทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้จัดสรรที่ดิน & สัญญาจะซื้อจะขาย: ความรับผิดของผู้ขาย & ผู้ซื้อ
แม้จำเลยที่ 1 จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 เป็นบิดา ร.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 2 และขณะที่จำเลยที่ 2ดำเนินโครงการการจัดสรรที่ดินขายเป็นแปลงย่อยพร้อมบ้านจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวประกอบกับจำเลยที่ 2 ได้ปักป้ายโฆษณาไว้ปากทางเข้าหมู่บ้าน โครงการ มีสำนักงานตั้งอยู่บริเวณหน้าหมู่บ้านโครงการดังนี้ พฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 รู้เห็นในการจัดสรรที่ดินของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินดังกล่าวมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้เพียงผู้เดียว โจทก์จองซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 พร้อมให้จำเลยที่ 2ปลูกสร้างบ้านในที่ดินตามใบจอง ซึ่งกำหนดให้โจทก์มาทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อจำเลยที่ 2 ได้วางผังแล้วเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้วางผังที่ดินแปลงที่โจทก์จองซื้อตามใบจอง การที่โจทก์ยังไม่ได้ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 2 จึงหาได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและสละสิทธิในใบจองตามข้ออ้างของจำเลยทั้งสองไม่ การที่โจทก์ได้วางเงินจองไว้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมถือได้ว่าเป็นการให้มัดจำและเป็นหลักฐานว่าได้ทำสัญญากันขึ้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 อีกทั้งตามใบจองได้ระบุ จำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จองซื้อ ราคาที่ดินแบบบ้านที่จะปลูกสร้างและราคาก่อสร้าง ตลอดจนบริเวณของที่ดินที่จองซื้อกับระบุว่าดังเอกสารแนบท้าย ซึ่งตามแผนผังที่ดินก็ระบุที่ดินที่โจทก์จองซื้อคือที่ดินในส่วนสีส้มกรณีจึงมีสาระสำคัญครบถ้วน เป็นสัญญาจะซื้อจะขายอันบังคับจำเลยที่ 2 ตามใบจองได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 629 และมีอำนาจจัดสรรที่ดินดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 ปลูกสร้างบ้านและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเสียภาษีในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกับโจทก์ออกค่าธรรมเนียมการซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการรังวัดแบ่งแยกที่ดินคนละครึ่ง กับให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดต่อศาลตามคำขอของโจทก์ จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งในส่วนนี้แต่อย่างใด ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247 การที่ ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นจากที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9538/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เมื่อวันที่5ตุลาคม2537ทนายโจทก์มอบฉันทะให้อ.เสมียนทนายนำอุทธรณ์ของโจทก์มายื่นต่อศาลชั้นต้นและให้ทำคำแถลงชำระค่าธรรมเนียมและรับทราบคำสั่งศาลแทนเจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาได้ใช้ตรายางประทับไว้ที่ริมซ้ายของอุทธรณ์ว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่12ตุลาคม2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วและอ.เสมียนทนายลงชื่อไว้แล้วต่อมาวันที่6ตุลาคม2537อ.ได้ไปวางเงินเป็นค่านำหมายคำฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามไว้ล่วงหน้าเจ้าหน้าที่ผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อรับเงินและประทับตรายางวันเดือนปีไว้ตามเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์การที่เจ้าหน้าที่รายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2537ว่าศาลได้ส่งหมายนัดมาเมื่อวันที่17ตุลาคม2537บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้นซึ่งไม่ตรงกับความจริงคงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับผู้แทนโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายนัดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสามไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ถึง1วันดังนี้จะถือว่าโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาหาได้ไม่ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9538/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาอุทธรณ์ล่าช้าและการเพิกเฉยคดี: ศาลฎีกาพิจารณาว่าโจทก์มิได้ทิ้งอุทธรณ์
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2537 ทนายโจทก์มอบฉันทะให้ อ.เสมียนทนายนำอุทธรณ์ของโจทก์มายื่นต่อศาลชั้นต้น และให้ทำคำแถลง ชำระค่าธรรมเนียมและรับทราบคำสั่งศาลแทน เจ้าหน้าที่งานอุทธรณ์ฎีกาได้ใช้ตรายางประทับไว้ที่ริมซ้ายของอุทธรณ์ว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 12 ตุลาคม 2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว และ อ.เสมียนทนายลงชื่อไว้แล้ว ต่อมาวันที่6 ตุลาคม 2537 อ.ได้ไปวางเงินเป็นค่านำหมายคำฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยทั้งสามไว้ล่วงหน้า เจ้าหน้าที่ผู้รับเงินได้ลงลายมือชื่อรับเงินและประทับตรายางวันเดือนปีไว้ตามเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่รายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 ว่า ศาลได้ส่งหมายนัดมาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม2537 บัดนี้พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งนั้น ซึ่งไม่ตรงกับความจริง คงเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับผู้แทนโจทก์ได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายนัดนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ทั้งสามไว้ล่วงหน้าแล้วก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ถึง 1 วัน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามตามคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาหาได้ไม่ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้จากการผิดสัญญาตัวแทน, เบี้ยปรับ, และอายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินแทนได้ทันที เป็นข้อกำหนดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดมิใช่หน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันหรือไม่เป็นเรื่องของโจทก์ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 ก็ไม่ได้กำหนดเวลาว่าเจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยพลัน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันยังชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบถ้วน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้และสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมาตรา 213 และมาตรา 685 สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยระบุว่า ในกรณีตัวแทนผิดนัดสัญญาขายเงินเชื่อไม่ส่งเงินค้างชำระภายใน ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 สัญญาตั้งตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ส่งเงินค่าปุ๋ยของโจทก์ที่จำเลยจำหน่ายได้ให้โจทก์ภายในกำหนดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ15 ต่อปีของเงินที่จะต้องส่งให้โจทก์ ดังนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งหรือค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(1) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7281/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ศาลต้องไต่สวนหากเจ้าหนี้อ้างความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 แม้ว่าในมาตรานี้ไม่ได้บัญญัติให้ศาลต้องทำการไต่สวนก่อน แต่ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลในอันที่จะทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้กรณีไม่อาจนำความในบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: วัตถุออกฤทธิ์เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 7 กับพวกร่วมกันผลิตเมทแมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายกับมีอีเฟดรีนไว้ในครอบครองในวาระเดียวกัน ทั้งวัตถุแห่งการกระทำความผิดต่างก็เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และยึดได้ในคราวเดียวกันถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างให้ถูกต้องและยังมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรชำระหนี้: ชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ประธานได้ทั้งหมด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 329 ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อน เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อน จึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรชำระหนี้: หนี้อุปกรณ์ต้องชำระก่อนหนี้ประธานเมื่อชำระไม่ครบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา329ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนจึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การคิดดอกเบี้ยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และอายุความตามกฎหมายล้มละลาย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา680 วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ดังนั้น ข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่า หากบริษัท ง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกัน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 38