คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรเทิง มุลพรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7881/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง กรณีไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง
จำเลยที่1ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถยนต์การที่จำเลยที่2ลูกจ้างของจำเลยที่3ซึ่งเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ควบคุมยินยอมให้จำเลยที่1นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่1นำบุตรของจำเลยที่1ซึ่งเจ็บป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ความว่าจำเลยที่3ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้นเป็นการกระทำของจำเลยที่2โดยลำพังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่3จึงเป็นเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของจำเลยที่1ดังนั้นการกระทำละเมิดของจำเลยที่1ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7881/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่
จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถยนต์ การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ควบคุมยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 นำบุตรของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ็บป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 โดยลำพังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์: หลักการความบกพร่องในการนำสืบพยาน
พยานเอกสารที่ผู้ร้องขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์นั้นเป็นพยานเอกสารที่ผู้ร้องสามารถนำมาสืบในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นได้ เมื่อผู้ร้องไม่ระบุพยานและนำมาสืบในตอนนั้น นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองซึ่งหากยอมรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวย่อมจะไม่เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่าย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับฟังจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุผลและความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยที่ 1 จึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1เป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคแรก ซึ่งศาลชั้นต้นต้องส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รวมส่งมายังศาลฎีกาพร้อมกับฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยที่ 1 ไป โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นเพื่อจัดส่งคำฟ้องไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาก่อน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชิงทรัพย์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 12 ปี จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้ยื่นฎีกาแล้ว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเป็น 45 วันแล้ว จำเลยที่ 1เข้าใจว่าคำร้องดังกล่าวมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายสิ้นไปแล้ว โดยไม่ปรากฏมีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยอย่างใด กรณีไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364-7365/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในสำนวนคดีอาญา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแต่ในสำนวนหลังของศาลชั้นต้นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแล้วโจทก์และจำเลยที่8(โจทก์และจำเลยในสำนวนหลัง)มิได้ยื่นอุทธรณ์ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในสำนวนแรกยื่นอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนอุทธรณ์เกี่ยวกับสำนวนคดีหลังจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค1เกี่ยวกับจำเลยที่8จึงไม่ชอบและไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่8ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมหลอกโจทก์ซื้อฝากที่ดิน ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่1ติดต่อบอกขายที่ดินแก่โจทก์ร่วม2แปลงและนัดหมายไปดูที่ดินกันจำเลยที่1และที่2พาโจทก์ร่วมและสามีไปดูที่ดินทั้งสองแปลงแต่โจทก์ร่วมไม่ชอบจึงได้เสนอขายที่ดินแปลงพิพาทและจำเลยทั้งสองยังได้ร่วมกันพาโจทก์ร่วมไปดูทั้งยังชี้หลักเขตที่ดินซึ่งเป็นหลักเขตปลอมทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าเป็นที่ดินแปลงพิพาทจึงรับซื้อฝากไว้พฤติการณ์ของจำเลยที่1และที่2เป็นการร่วมกันวางแผนโดยแบ่งหน้าที่กันทำจึงเป็นตัวการร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมและร่วมกับจำเลยที่3ฉ้อโกง การที่จำเลยทั้งสองใช้เอกสารราชการปลอมแสดงต่อโจทก์ร่วมจนโจทก์ร่วมหลงเชื่อยอมรับซื้อฝากที่ดินไว้เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฉ้อโกงด้วยแต่การกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและความผิดฐานฉ้อโกงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังถูกขอให้ล้มละลาย ทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับการชำระหนี้ ถือเป็นการให้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีผลทำให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับการแบ่งชำระด้วยเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา115แม้การชำระหนี้ดังกล่าวจะเนื่องมาจากผู้คัดค้านอายัดเงินของลูกหนี้ที่มีต่อบริษัทอื่นไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีแพ่งที่ผู้คัดค้านฟ้องลูกหนี้ให้ชำระหนี้แล้วมีการต่อรองลดจำนวนหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็จะถือว่าลูกหนี้อยู่ในภาวะจำยอมหรือเป็นความจำเป็นอันมิได้ประสงค์ให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่มีตราบริษัท ศาลสั่งให้แก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
สำเนาหนังสือมอบอำนาจโจทก์เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ซึ่งไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์ แสดงว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่สมบูรณ์ โจทก์ได้กล่าวอ้างมาในอุทธรณ์และฎีกาว่า ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจมีการประทับตราสำคัญของโจทก์ถูกต้องแสดงถึงเจตนาจะทำการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66สั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจของผู้รับมอบอำนาจเสียให้สมบูรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีไม่สมบูรณ์ แก้ไขได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
สำเนาหนังสือมอบอำนาจโจทก์เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ ซึ่งไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์ แสดงว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่สมบูรณ์ โจทก์ได้กล่าวอ้างมาในอุทธรณ์และฎีกาว่า ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจมีการประทับตราสำคัญของโจทก์ถูกต้อง แสดงถึงเจตนาจะทำการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกาอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66 สั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจของผู้รับมอบอำนาจเสียให้สมบูรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะ vs. โมฆียะ: อายุความฟ้องเพิกถนิติกรรมซื้อขายที่ดินหลอกลวง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยอ้างว่านิติกรรมซื้อที่ดินและเรือนพิพาทเป็นโมฆียะกรรมต้องบอกล้างภายใน 10 ปีเท่านั้น ศาลฎีกาจึงนำบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องโมฆียะกรรมเท่านั้นมาปรับแก่คดีจะนำอายุความคดีฟ้องเรียกมรดกมาปรับไม่ได้ ส่วนอายุความทั่วไปก็มีกำหนด 10 ปี เท่ากับอายุความบอกล้างโมฆียะกรรมอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำมาปรับ
of 38