คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรเทิง มุลพรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม และอายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) การที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงนอกจากสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้มีข้อความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหมายความว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อความว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนก็มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน, ข้อตกลงนอกสัญญา, การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)ดังนั้นข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่าหากบริษัทง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลายมีความว่าหากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตายหรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบหรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังนี้ย่อมมีความหมายว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัทง.เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัทง. ชำระหนี้ก่อนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา691 แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนสัญญาค้ำประกันและตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนแต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32มิใช่มีอายุความ5ปีตามมาตรา193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ21ต่อปีผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ17ต่อปีตามสัญญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่6มิถุนายน2534ย้อนหลังขึ้นไป5ปีคือวันที่6มิถุนายน2529และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดีผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่าการคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การระบุจำนวนดอกเบี้ยในคำขอรับชำระหนี้มีผลต่อการพิพากษา
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระ ถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฏอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่า จำนวนเงิน 104,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน 104,000 บาท เท่านั้น โดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่ เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100 การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้เกินคำขอ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินค้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฎอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่าจำนวนเงิน104,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่5กุมภาพันธ์2534จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามแต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน104,000บาทเท่านั้นโดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา100การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า - พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ต้องทำให้ไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดเดิมได้
โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1โดยปิดหมายเมื่อวันที่7มิถุนายน2537ซึ่งจำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่7กรกฎาคม2537แม้ทนายจำเลยที่1จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่1กรกฎาคม2537ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก6วันที่จำเลยที่1สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคหนึ่งกรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงได้นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้ด้วยกรณีของจำเลยที่1จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่1ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่7กรกฎาคม2537การที่จำเลยที่1ยื่นคำขอในวันที่15กรกฎาคม2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาคำขอพิจารณาใหม่: การพิจารณาพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการยื่นคำขอภายในกำหนด
โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยปิดหมายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2537 แม้ทนายจำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก 6 วัน ที่จำเลยที่ 1 สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลง เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง กรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงได้ นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ด้วย กรณีของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2537 การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอในวันที่ 15 กรกฎาคม 2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6242/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมและการได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินที่ครอบครองร่วมกัน
โจทก์และจำเลยได้รับการยกที่ดินส่วนที่ได้ครอบครองตั้งแต่บิดาทั้งสองฝ่ายยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งบิดาทั้งสองฝ่ายถึงแก่กรรมต่างก็ได้ครอบครองเป็นส่วนสัดในส่วนที่ได้ครอบครองนั้นโดยไม่มีการโต้แย้งแนวเขตซึ่งกันและกันเป็นเวลาประมาณ30ปีมาแล้วและต่อมาภายหลังมีการขอแบ่งแยกและออกโฉนดเป็นของตนก็ยังคงเป็นไปตามที่ต่างฝ่ายครอบครองมาแม้นับตั้งแต่เวลาที่ได้มีการออกโฉนดใหม่จนถึงวันฟ้องจะไม่ถึง10ปีก็ตามแต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382และเมื่อโจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า10ปีโจทก์ย่อมได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลยในส่วนที่ใช้มาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วนั้นตามมาตรา1401ประกอบมาตรา1382แม้โจทก์อาจจะใช้เส้นทางอื่นได้ก็ไม่เป็นเหตุให้ภารจำยอมสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6242/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินเกิดจากการครอบครองปรปักษ์และสิทธิภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่อง
โจทก์และจำเลยได้รับการยกที่ดินส่วนที่ได้ครอบครองตั้งแต่บิดาทั้งสองฝ่ายยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งบิดาทั้งสองฝ่ายถึงแก่กรรม ต่างก็ได้ครอบครองเป็นส่วนสัดในส่วนที่ได้ครอบครองนั้นโดยไม่มีการโต้แย้งแนวเขตซึ่งกันและกันเป็นเวลาประมาณ 30 ปีมาแล้ว และต่อมาภายหลังมีการขอแบ่งแยกและออกโฉนดเป็นของตน ก็ยังคงเป็นไปตามที่ต่างฝ่ายครอบครองมา แม้นับตั้งแต่เวลาที่ได้มีการออกโฉนดใหม่จนถึงวันฟ้องจะไม่ถึง 10 ปี ก็ตาม แต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา1382 และเมื่อโจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ถนนสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินของจำเลยในส่วนที่ใช้มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วนั้น ตามมาตรา 1401 ประกอบ มาตรา 1382แม้โจทก์อาจจะใช้เส้นทางอื่นได้ก็ไม่เป็นเหตุให้ภาระจำยอมสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, สิทธิเรียกร้องหนี้, การมอบอำนาจ, การรับสภาพหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้จึงเป็นข้อที่จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่2ด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่2ฎีกาของจำเลยที่2ในประเด็นนี้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ในข้อนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้สัญญาค้ำประกันและจำนองและคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้หนังสือสัญญาค้ำประกันและหนังสือสัญญาจำนองส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้งกู้เงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ดังนั้นฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่ผ. และน. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์แม้ต่อมาผ. และน. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจระบุว่ามอบอำนาจให้ป. หรืออ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น2คนพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่างๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่างเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์30บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(2)แห่งประมวลรัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจดังนี้การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน30บาทจึงชอบแล้วหาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ30บาทไม่ สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่าตามที่จำเลยที่2บริษัทธ.และท. ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่1เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์3จำนวนเป็นเงิน45,920,000บาทนั้นจำเลยที่1ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวและยังค้างชำระเป็นเงิน10,516,643.83บาทรวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน56,436,643.83บาทให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด15ปีทั้งนี้จำเลยที่1ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ100,000บาทหากจำเลยที่1ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่1จำเลยที่1ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ถือได้ว่าเป็นสัญญา2ฝ่ายหาใช่จำเลยที่1ตกลงฝ่ายเดียวไม่และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่1ลูกหนี้คนใหม่ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่2บริษัทธ. และท. ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายการแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้ เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้วดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน5ปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาแปลงหนี้, อากรแสตมป์, การรับสภาพหนี้, ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ใหม่
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
of 38