คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรเทิง มุลพรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995-5996/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าที่ดินไม่ผูกพันทายาทเมื่อผู้ให้คำมั่นเสียชีวิตก่อนครบกำหนด
สัญญาเช่ามีข้อความว่า "มีกำหนดเวลาการเช่า 10 ปี และให้ผู้เช่ายินยอมต่อสัญญาให้ผู้เช่า 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป" ข้อความตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของ ย.ว่าจะให้โจทก์เช่าที่ดินต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ได้สอนงอรับก่อน ย.ตาย และโจทก์รู้แล้วว่า ย ตายก่อนจะครบกำหนด 10 ปี ตามสัญญาเช่า กรณีต้องบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 360ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา 130 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่มาตรา 169 วรรคสอง) มาใช้บังคับ คำมั่นของ ย ย่อมไม่มีผลบังคับ แม้สัญญาเช่าข้อ 3 จะระบุให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันไปถึงทายาทผู้รับพินัยกรรมของ ย. ด้วยก็ตาม แต่เมื่อคำมั่นของ ย. ไม่มีผลบังคับเสียแล้ว ก็ไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันจำเลยในฐานะทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995-5996/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าที่ยังไม่เกิดผลผูกพันเมื่อผู้ให้คำมั่นเสียชีวิต ไม่เป็นมรดกผูกพันทายาท
สัญญาเช่ามีข้อความว่า "มีกำหนดเวลาการเช่า10ปีและให้ผู้เช่ายินยอมต่อสัญญาให้ผู้เช่า2ครั้งครั้งละ10ปีนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป"ข้อความตามสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นเพียงคำมั่นของย.ว่าจะให้โจทก์เช่าที่ดินต่อไปเท่านั้นยังมิได้ก่อให้เกิดสัญญาเมื่อโจทก์ไม่ได้สอนงอรับก่อนย.ตายและโจทก์รู้แล้วว่าย ตายก่อนจะครบกำหนด10ปีตามสัญญาเช่ากรณีต้องบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ซึ่งบัญญัติมิให้นำบทบัญญัติมาตรา130วรรคสอง(ที่แก้ไขใหม่มาตรา169วรรคสอง)มาใช้บังคับคำมั่นของย ย่อมไม่มีผลบังคับแม้สัญญาเช่าข้อ3จะระบุให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันไปถึงทายาทผู้รับพินัยกรรมของย. ด้วยก็ตามแต่เมื่อคำมั่นของย. ไม่มีผลบังคับเสียแล้วก็ไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันจำเลยในฐานะทายาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งศาลชั้นต้นและอายุความค่าซ่อม
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ว่าจ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้ซ่อมเครื่องปั๊มของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดต่อโจทก์ ส่วนที่คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดกันอันจะทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์จะบังคับจำเลยคนใด ทั้งต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในข้อนี้ให้เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เช่นกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจะชำระเงินค่าซ่อมกันเมื่อมีการวางบิลแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมของโจทก์จึงเกิดขึ้นนับแต่วันวางบิล อายุความต้องเริ่มนับแต่วันวางบิล ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12 ที่แก้ไขใหม่) หาใช่นับแต่วันที่ลงในใบส่งของอันเป็นวันรับมอบการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 602 ไม่ เมื่อนับแต่วันวางบิลถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5955/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่อุทธรณ์/ฎีกาขัดกับข้อจำกัดตามกฎหมาย และยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเรื่องอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่2และที่3ได้ว่าจ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่1ให้ซ่อมเครื่องปั๊มของจำเลยที่1ให้จำเลยทั้งสามร่วมรับผิดต่อโจทก์ส่วนที่คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นที่เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดกันอันจะทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์จะบังคับจำเลยคนใดทั้งต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเป็นจำเลยทั้งสามซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1ได้โต้แย้งคำสั่งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกี่ยวกับคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของจำเลยที่1เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานหลักฐานจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในข้อนี้ให้เป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งเช่นกัน โจทก์กับจำเลยที่1มีข้อตกลงว่าจะชำระเงินค่าซ่อมกันเมื่อมีการวางบิลแล้วสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมของโจทก์จึงเกิดขึ้นนับแต่วันวางบิลอายุความต้องเริ่มนับแต่วันวางบิลซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169เดิม(มาตรา193/12ที่แก้ไขใหม่)หาใช่นับแต่วันที่ลงในใบส่งของอันเป็นวันรับมอบการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา602ไม่เมื่อนับแต่วันวางบิลถึงวันฟ้องยังไม่เกิน2ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สัญญาซื้อขายเดิมเป็นโมฆะ แต่กรรมสิทธิ์ย่อมตกแก่ผู้ครอบครอง
ในการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างถ.กับจำเลยจำเลยได้ชำระเงินแก่ถ.เป็นจำนวนมากแล้วตามข้อตกลงระหว่างถ.กับจำเลยนั้นไม่ปรากฎว่าจะชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันที่ไหนเมื่อใดหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้วถ.มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยครอบครองติดต่อกันมาเป็นเวลานับสิบปีโดยไม่ปรากฎว่ามีฝ่ายใดได้ติดต่อหรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้และไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เรียบร้อยการซื้อขายระหว่างถ.กับจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เสร็จเด็ดขาดเมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะแต่การที่ถ.ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและยอมให้จำเลยเข้าครอบครองปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทเป็นการส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยถือได้ว่าถ.ได้สละการครอบครองให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า10ปีแล้วจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ฝ่ายโจทก์ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยถ.จดทะเบียนยกให้ไม่เสียค่าตอบแทนจำเลยย่อมยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอันได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ยันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5874/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์
ในการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ถ.กับจำเลย จำเลยได้ชำระเงินแก่ ถ.เป็นจำนวนมากแล้ว ตามข้อตกลงระหว่าง ถ.กับจำเลยนั้นไม่ปรากฏว่าจะชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันที่ไหน เมื่อใด หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว ถ.มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยครอบครองติดต่อกันมาเป็นเวลานับสิบปี โดยไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดได้ติดต่อหรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้และไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เรียบร้อย การซื้อขายระหว่าง ถ.กับจำเลยเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เสร็จเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะ แต่การที่ ถ.ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและยอมให้จำเลยเข้าครอบครองปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท เป็นการส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย ถือได้ว่า ถ.ได้สละการครอบครองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ฝ่ายโจทก์ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดย ถ.จดทะเบียนยกให้ไม่เสียค่าตอบแทน จำเลยย่อมยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอันได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ยันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหารต่อการยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่ – การประมาทเลินเล่อต้องทำให้เกิดการยักยอก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ที่3ที่5ที่7และที่10ทำให้โจทก์เสียหายทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไรฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริตจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้วหาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัดปล่อยให้จำเลยที่1เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฎิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่1สามารถปลอมใบนำส่งเงินปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงินข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฎิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่ แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวันแล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้ายและให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้องทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้นย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการรับส่งเงินและผู้บังคับบัญชาต่อการยักยอกเงินของส่วนราชการ
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 10 ทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้ แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตาม ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไร ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง แล้ว
ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520 และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้ว หาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่ การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้จำเลยที่ 1 เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่ 1 สามารถปลอมใบนำส่งเงิน ปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงิน ข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฏิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่
แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวัน แล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้าย และให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้อง ทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ แต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือ ต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมในที่ดิน: การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเอง ไม่กระทบสิทธิภารจำยอมของผู้อื่น
โจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะไปดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 1915 และ 23121 ตามเนื้อที่ดินทั้งหมดในโฉนดให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 16281 ของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอม การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 1915และ 23121 ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 23115 ถึง 23120 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวนั้น จำเลยชอบที่จะทำได้ และการจดทะเบียนภารจำยอมดังกล่าวก็มิใช่เป็นการจำหน่ายหรือทำให้ภารจำยอมของโจทก์ตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องลดลงไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่การใช้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเอง ไม่กระทบสิทธิภารจำยอมของผู้อื่น
ที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ทั้ง2แปลงและที่ดินอีก6แปลงตามโฉนดเลขที่23115ถึง23120เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวจำเลยชอบที่จะจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินทั้ง2แปลงให้แก่ที่ดินของจำเลยอีก6แปลงได้ทั้งการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยดังกล่าวก็มิใช่เป็นการจำหน่ายหรือทำให้ภารจำยอมของโจทก์ตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์ต้องลดลงไปหรอื*เสื่อมความสะดวกแก่การใช้แต่อย่างใด
of 38