พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของตนเองไม่กระทบสิทธิภารจำยอมเดิมของผู้อื่น
โจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะไปดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ตามเนื้อที่ดินทั้งหมดในโฉนดให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่16281ของโจทก์ศาลพิพากษาตามยอมการที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่23115ถึง23120ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวนั้นจำเลยชอบที่จะทำได้และการจดทะเบียนภารจำยอมดังกล่าวก็มิใช่เป็นการจำหน่ายหรือทำให้ภารจำยอมของโจทก์ตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องลดลงไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่การใช้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การจดทะเบียนภาระจำยอมใหม่ไม่กระทบสิทธิภาระจำยอมเดิม ตราบเท่าที่ไม่ลดทอนหรือทำให้เสื่อมความสะดวก
ที่ดินโฉนดเลขที่ 1915 และ 23121 ทั้ง 2 แปลง และที่ดินอีก 6 แปลงตามโฉนดเลขที่ 23115 ถึง 23120 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว จำเลยชอบที่จะจดทะเบีบนภาระจำยอมในที่ดินทั้ง 2 แปลง ให้แก่ที่ดินของจำเลยอีก 6 แปลงได้ ทั้งการจดทะเบียนภาระจำยอมของจำเลยดังกล่าวก็มิใช่เป็นการจำหน่ายหรือทำให้ภาระจำยอมของโจทก์ตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมของโจทก์ต้องลดลงไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่การใช้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเอง ไม่กระทบสิทธิภารจำยอมของผู้อื่น
โจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมยอมความโดยจำเลยจะไปดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ตามเนื้อที่ดินทั้งหมดในโฉนดให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่16281ของโจทก์ศาลพิพากษาตามยอมการที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่1915และ23121ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่23115ถึง23120ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียวนั้นจำเลยชอบที่จะทำได้และการจดทะเบียนภารจำยอมดังกล่าวก็มิใช่เป็นการจำหน่ายหรือทำให้ภารจำยอมของโจทก์ตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องลดลงไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่การใช้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทจำนองที่ดินและการโต้แย้งว่าเป็นการอำพรางการซื้อขาย ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินและเพิ่มวงเงินจำนองไว้แก่จำเลย หลังจากนั้นโจทก์ขอชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนอง จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงนำเงินต้นและดอกเบี้ยไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ขอให้บังคับจำเลยรับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยจริง แต่การจดทะเบียนเพิ่มเงินจำนองเป็นการแสดงเจตนาลวงเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดิน เพราะที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามโอนภายในกำหนดเวลา5 ปี จึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเท่ากับราคาที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกัน ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องโต้แย้งและพิพาทกันด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกามีใจความว่าพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าโจทก์กู้เงินจากจำเลยและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจากจำเลยอีกหลายครั้ง โจทก์จึงตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ไปทั้งหมด แต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามโอนภายในกำหนด 5 ปี จึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยและรับฟังมาว่าการจำนองที่ดินตามฟ้องไม่ได้เป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดิน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยฎีกามีใจความว่าพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าโจทก์กู้เงินจากจำเลยและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจากจำเลยอีกหลายครั้ง โจทก์จึงตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ไปทั้งหมด แต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามโอนภายในกำหนด 5 ปี จึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยและรับฟังมาว่าการจำนองที่ดินตามฟ้องไม่ได้เป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดิน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: ประเด็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นเกี่ยวกับนิติกรรมอำพราง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินและเพิ่มวงเงินจำนองไว้แก่จำเลย หลังจากนั้นโจทก์ขอชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองจำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงนำเงินต้นและดอกเบี้ยไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ขอให้บังคับจำเลยรับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยจริง แต่การจดทะเบียนเพิ่มเงินจำนองเป็นการแสดงเจตนาลวงเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดิน เพราะที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ห้ามโอนภายในกำหนดเวลา 5 ปีจึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเท่ากับราคาที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกัน ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องโต้แย้งและพิพาทกันด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกามีใจความว่าพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าโจทก์กู้เงินจากจำเลยและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจากจำเลยอีกหลายครั้ง โจทก์จึงตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ไปทั้งหมด แต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ห้ามโอนภายในกำหนด 5 ปีจึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยและรับฟังมาว่าการจำนองที่ดินตามฟ้องไม่ได้เป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์ ถือเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 และมาตรา 236 ไม่ได้ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแก่อีกฝ่าย ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้อีกฝ่ายได้เพื่อให้อีกฝ่ายได้ทราบถึงข้ออุทธรณ์ซึ่งหากมีข้อคัดค้านอย่างใดก็จะได้แก้อุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แก่จำเลยโดยชอบแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม กรณีต้องด้วยมาตรา 174(2) ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234และมาตรา236ไม่ได้ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแก่อีกฝ่ายศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้อีกฝ่ายได้เพื่อให้อีกฝ่ายได้ทราบถึงข้ออุทธรณ์ซึ่งหากมีข้อคัดค้านอย่างใดก็จะได้แก้อุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ทราบคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์แก่จำเลยโดยชอบแล้วแต่โจทก์ไม่ปฎิบัติตามกรณีต้องด้วยมาตรา134(2)ถือได้ว่าเป็นการทิ้งฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน: การพิจารณาเรื่องหนังสือมอบอำนาจที่ขาดอากรแสตมป์ และผลต่อการดำเนินคดี
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มอบอำนาจให้ข. ฟ้องคดีแทนแต่หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ย่อมฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ข.จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์โดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีข้ออื่นดังนั้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ถึงแม้คดีก่อนจะยังอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แต่คู่ความก็มิได้ยื่นอุทธรณ์จึงถือไม่ได้ว่าคดีก่อนนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, หนังสือมอบอำนาจ, ฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน, ป.วิ.พ.มาตรา 144, 173
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ข.ฟ้องคดีแทน แต่หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ย่อมฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ข.จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีข้ออื่น ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ถึงแม้คดีก่อนจะยังอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่คู่ความก็มิได้ยื่นอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าคดีก่อนนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนอันต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อหุ้นที่เป็นโมฆะ การชำระหนี้ตามสัญญานั้นไม่อาจเรียกคืนได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทจำเลยที่ร่วมหุ้นกันซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113(เดิม) การที่โจทก์ชำระเงินค่าหุ้นให้แก่จำเลยตามสัญญาดังกล่าวย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่ายืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 411 จึงไม่อาจเรียกเงินคืนจาก จำเลยฐานลาภมิควรได้ได้