คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรเทิง มุลพรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนละเมิดสิทธิบัตร และความรับผิดของกรรมการในฐานะส่วนตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์ และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ เป็นละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่า จำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งม่าน-เหล็กบังตา อันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมา การที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไป ต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมา ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 เป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง (1) และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อน นอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้ว จำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ละเมิดสิทธิบัตร: การกระทำต่อเนื่องไม่ขาดตอน & ความรับผิดกรรมการ
คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นอย่างเดียวกันคือจำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งม่ายเหล็กบังตาอันเป็นการทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วยแต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันจำเลยผลิตและขายม่านเหล็กบังตาอันเป็นการประกอบธุรกิจในทางการค้าของจำเลยอยู่ก่อนเกิดเหตุและตลอดมาการที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเพราะถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเอาเครื่องจักรไปหลังจากนั้นเมื่อเจ้าพนักบานตำรวจเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดและคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ใช้เครื่องจักรผลิตม่านเหล็กบังตาปกติต่อมาดังนี้ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นการกระทำต่อเนื่องกันจะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มการกระทำใหม่หาได้ไม่จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)เมื่อฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนก็ย่อมมีผลถึงโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ให้ใช้สิทธิบัตรในการผลิตสินค้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัญชีเดินสะพัด: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อหักทอนบัญชี/เลิกสัญญา, ไม่ขาดอายุความหากยื่นบังคับทรัพย์ภายใน 10 ปี
การชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่คงเหลือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่1ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา856,859แม้จำเลยที่1มิได้เดินสะพัดทางบัญชีอีกนับแต่ครั้งสุดท้ายเป็นเวลากว่า10ปีแต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังไม่สิ้นสุดลงผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอันถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยายนับแต่วันนั้นและสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องเกิดขึ้นนับแต่นั้นเมื่อยื่นคำร้องขอให้บังคับทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาดังกล่าวยังไม่พ้น10ปีหนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชีและการเลิกสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และหลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 สัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องเลิกกันไปโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์2535 ขอให้บังคับทรัพย์จำนองจึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานไม่ขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายโดยสุจริตของผู้ซื้อ แม้ผู้ขายแสดงเจตนาลวง ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย
เดิมทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยต่อมาจำเลยได้โอนขายให้แก่ส. น้องสาวจำเลยหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทจากจำเลยเป็นของส. แล้วส.ได้แสดงความเป็นเจ้าของโดยจำนองทรัพย์พิพาทต่อธนาคารและเพิ่มเงินจำนองอีกหลายครั้งในที่สุดส. ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และบังคับจำนองทรัพย์พิพาทและธนาคารเจ้าหนี้ขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาทมีการขายทอดตลาดถึง10ครั้งแต่ขายไม่ได้ส. จึงขายทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา3,950,000บาทได้มีการถอนการยึดและชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าด้านการแสดงออกหรือคัดค้านแต่อย่างใดพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์รับซื้อทรัพย์พิพาทโดยสุจริตแม้จำเลยกับส. แสดงเจตนาลวงด้วยการสมรู้กันว่ามิได้มีเจตนาซื้อขายทรัพย์พิพาทกันก็ตามแต่เมื่อโจทก์รับซื้อมาโดยสุจริตก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118วรรคแรก(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินโดยสุจริต แม้มีเจตนาลวงซ่อนอยู่ กรรมสิทธิ์ยังคงตกแก่ผู้ซื้อ
เดิมทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลย ต่อมาจำเลยได้โอนขายให้แก่ส. น้องสาวจำเลย หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทจากจำเลยเป็นของ ส. แล้ว ส.ได้แสดงความเป็นเจ้าของโดยจำนองทรัพย์พิพาทต่อธนาคารและเพิ่มเงินจำนองอีกหลายครั้งในที่สุด ส.ถูกธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และบังคับจำนองทรัพย์พิพาท และธนาคารเจ้าหนี้ขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาท มีการขายทอดตลาดถึง 10 ครั้ง แต่ขายไม่ได้ ส.จึงขายทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา 3,950,000 บาท ได้มีการถอนการยึดและชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเจ้าหนี้ตลอดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าด้านการแสดงออกหรือคัดค้านแต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์รับซื้อทรัพย์พิพาทโดยสุจริต แม้จำเลยกับ ส. แสดงเจตนาลวงด้วยการสมรู้กันว่ามิได้มีเจตนาซื้อขายทรัพย์พิพาทกันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์รับซื้อมาโดยสุจริตก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคแรก (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วสิทธิขาดอายุความ ผลกระทบต่อหนี้และสิทธิเรียกร้อง
หนี้ที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้มีมูลกรณีจากการที่ลูกหนี้เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ซึ่งประสบปัญหาวิกฤตขาดเงินทุนหมุนเวียน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2528 ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด ซึ่งลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าหนี้โดยอนุมัติธนาคารแห่งประเทศไทยตกลงเข้าช่วยเหลือประชาชนผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. โดยการรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงนำตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คไปเปลี่ยนแก่เจ้าหนี้ โดยทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องไว้แก่เจ้าหนี้ ในวันเดียวกันเจ้าหนี้ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ลูกหนี้เป็นจำนวนเงิน 986,000 บาท และเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ลูกหนี้ได้รับตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยเจ้าหนี้ ลูกหนี้ตกลงมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงินด้วยว่าในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้เป็นการต่างตอบแทนการมอบสิทธิในการรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน หลังจากนั้นลูกหนี้ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดให้แก่เจ้าหนี้ในราคา 417,877.51 บาท โดยทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องแก่เจ้าหนี้ และได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากเจ้าหนี้ไปในวันเดียวกัน แต่ต่อมาในคดีล้มละลายหมายดังกล่าวศาลสั่งให้ลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนเช็คจำนวน 906,000 บาท ศาลไม่อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ เพราะขาดอายุความดังนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ในการตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋ว ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกชำระได้ย่อมเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ตามข้อตกลงตามหนังสือสัญญาต่างตอบแทนการรับตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกหนี้ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากเจ้าหนี้ต่อไป จึงไม่อาจนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวไปทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง (ขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน) ได้ ลูกหนี้ต้องคืนเงินค่าขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 417,837.51 บาท แก่เจ้าหนี้
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เจ้าหนี้ออกให้แก่ลูกหนี้ ตามข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกันเช่นนี้ ความตกลงทั้งหลายเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อรับแลกเปลี่ยนตั๋วระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ย่อมเป็นอันยกเลิกไป รวมทั้งข้อตกลงการมอบสิทธิให้เจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าว กรณีไม่มีเหตุให้ต้องกำหนดเงื่อนไขในการที่เจ้าหนี้จะได้ชำระหนี้ในคดีนี้ว่า หากเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวแล้วเพียงใดให้สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ในคดีนี้ลดลงไปเพียงนั้น และเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์จะต้องไปว่ากล่าวแก่เจ้าหนี้ต่างหาก เพื่อมิให้เจ้าหนี้ไปใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.274/2528 ซ้ำซ้อนกับคดีนี้ต่อไป
หนี้เงินที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เกิดขึ้นเนื่องจากข้อตกลงรับแลกเปลี่ยนตั๋วเป็นอันยกเลิกไม่มีมูลหนี้ต่อกัน ลูกหนี้มีหน้าที่คืนเงินจำนวนที่รับไปจากเจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยนับตั้งแต่เวลาที่รับไว้เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2529จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 และดอกเบี้ยในกรณีเช่นนี้ไม่ถือเป็นดอกเบี้ยค้างส่ง อันมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีออกจากที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการพิพากษาให้จำเลยออกจากที่ดินแปลงที่ไม่ปรากฏหลักฐานการบุกรุกเป็นไปโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินส.ค.1เลขที่58และเลขที่63จำเลยบุกรุกนำรถเข้าไปไถในที่นาตามส.ค.1เลขที่58โดยไม่ชอบขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินส.ค.1เลขที่58และที่ดินเลขที่63ห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวทั้งสองแปลงอีกต่อไปคู่ความตกลงกันให้จำเลยเป็นฝ่ายเข้าทำนาในที่นาพิพาทตามส.ค.1เลขที่58จนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินส.ค.1เลขที่63แต่อย่างใดการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยออกจากที่ดินส.ค.1เลขที่63ด้วยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีล้มละลาย: มติเจ้าหนี้อนุมัติการประนีประนอมยอมความกับผู้รับโอนทรัพย์สิน และการพิจารณาประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอน และจำเลยผู้โอน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 114 แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาล ผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบี้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตาม แต่เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา 114 หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ก็เพิกถอนการโอนไม่ได้ กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000 บาท แทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลย เป็นการขอประนีประนอมยอมความ ซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 145 ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 32 ดังนี้ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาล ซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอม-ยอมความกับ จ. จึงหาเป็นล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่ แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง 57 ราย แต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม 15 รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่
ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน 2,375,000 บาท และได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000 บาท แสดงว่า จ. รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน 1,200,000 บาท แล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีก โดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้ 4,500,000 บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดิน และค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้ เมื่อจ. รับโอนโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย อันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 36 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย: มติที่ประชุมเจ้าหนี้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอนและจำเลยผู้โอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาลผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตามแต่เมื่อคดียังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา114หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000บาทแทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา32ดังนี้เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความกับ จ. จึงหาเป็น ล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่ ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน2,375,000บาทและได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000บาทแสดงว่า จ.รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน1,200,000บาทแล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีกโดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้4,400,000บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินและค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้เมื่อ จ.รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา36ได้
of 38