พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีการค้าจากการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษี และดอกเบี้ยที่ได้รับ
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พ.ร.ก. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 บัญชีท้าย พ.ร.ก. บัญชีที่ 1 หมวด 1 (7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133 (พ.ศ.2516) ข้อ 1 (2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ
ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133 (พ.ศ.2516) ข้อ 1 (2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายดอกเบี้ยกู้จากบริษัทในเครือ ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้ และนำเงินภาษีที่ชำระแล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9) การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้จากบริษัทในเครือถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักคำนวณกำไรสุทธิได้ และการหักเงินภาษีที่ชำระแล้ว
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฏากร มาตรา 65 ทวิ (9)
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ต้องอ้างอิงราคาตลาดจริงและบทวิเคราะห์ใน พ.ร.บ.ศุลกากร ไม่ใช่แค่ระเบียบภายใน
ที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจออกข้อบังคับสำหรับกรมตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อดำเนินการให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและบังคับการให้เป็นไปตามนั้น นั้น ตามบทบัญญัติมาตรานี้ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรออกข้อบังคับเพื่อควบคุมบรรดาพนักงานทั้งหลายในกรมศุลกากรในฐานะอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้บังคับบัญชาเท่านั้น มิได้ให้อำนาจออกระเบียบปฏิบัติกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาของโดยไม่คำนึงถึงบทกฎหมายมาตราอื่น ดังนั้น คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 จึงจะนำมาเป็นข้อกำหนดในการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์เพียงลำพังไม่ได้ จะต้องปฏิบัติตามบทวิเคราะห์ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นหลัก และที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2464มาตรา 13 ได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรมศุลกากรเป็นผู้ทำการตีราคาของเพื่อประเมินภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตีราคาก็จะต้องนำหลักเกณฑ์ตามบทวิเคราะห์ในมาตรา2 วรรคสิบสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปฏิบัติ จะตีราคาตามอำเภอใจไม่ได้ ส่วนคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ที่ 47/2531 คำสั่งกองประเมินอากร ที่ 12/2519 คำสั่งร่วมกองพิธีการและประเมินอากรและกองวิเคราะห์ราคา ที่ 1/2527 และที่ 2/2527 และรายงานการประชุมคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาเกี่ยวกับราคาก็เป็นระเบียบปฏิบัติภายในของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่งจะนำมาเป็นหลักเกณฑ์ว่าราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ตีหรือประเมินไปนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยังไม่ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำราคาอะไหล่ยานยนต์ประเภทและชนิดเดียวกัน ณ เวลาและสถานที่ที่นำของเข้ามาจากที่เดียวกันมาเทียบเคียงแล้ว ก็ย่อมไม่อาจหักล้างได้ว่าราคาสินค้าตามที่โจทก์ที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ทั้งนี้ ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1ได้สำแดงราคาในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าดังกล่าวตรงกับราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า และราคาดังกล่าวเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่โจทก์ที่ 1 เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งตรงกับราคาสินค้าในสัญญาซื้อขายและตรงกับราคาสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าที่บริษัทผู้ขายส่งมาให้ ทั้งไม่ปรากฏว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ได้มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด ราคาที่โจทก์ที่ 1 สำแดงจึงถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4775/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ และภาระจำยอมจากการใช้ทางต่อเนื่อง
โจทก์ จำเลยที่ 1 และบุตรคนอื่น ๆ ปลูกบ้านลงในที่ดินมีโฉนดของบิดามารดาตามที่บิดามารดาอนุญาตและชี้ให้ปลูก โดยบิดามารดามีเจตนายกให้ตั้งแต่วันที่อนุญาตนั้น และต่างได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตลอดมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ แต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตนปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์
ทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์และบริวารใช้เดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่แรกโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระ-จำยอมแก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความ
ทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์และบริวารใช้เดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่แรกโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระ-จำยอมแก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4775/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่อง
โจทก์ จำเลยที่ 1 และบุตรคนอื่น ๆ ปลูกบ้านลงในที่ดินมีโฉนดของบิดามารดาตามที่บิดามารดาอนุญาตและชี้ให้ปลูก โดยบิดามารดามีเจตนายกให้ตั้งแต่วันที่อนุญาตนั้น และต่างได้ครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดตลอดมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ แต่ละคนย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตนปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ ทางพิพาทอยู่ในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 1 โจทก์และบริวารใช้เดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่แรกโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาจะให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินส่วนของโจทก์โดยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินเพิ่มเติมของศุลกากร, การส่งแจ้งประเมิน, และสิทธิลดหย่อนภาษี
หลังจากจำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว ถ้าความปรากฏชัดแจ้งในภายหลังว่ารายการที่ยื่นเสียภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของกรมศุลกากรมีอำนาจประเมินเพิ่มเติมได้ โดยไม่จำต้องดำเนินการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19และ 20
ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78เอกาทศ
เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า และผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 แล้ว
ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78เอกาทศ
เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า และผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการแจ้งการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีราคาสินค้าที่สำแดงไม่ถูกต้อง
หลังจากจำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว ถ้าความปรากฏชัดแจ้งในภายหลังว่ารายการที่ยื่นเสียภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินของกรมศุลกากรมีอำนาจประเมินเพิ่มเติมได้โดยไม่จำต้องดำเนินการ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 20 ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เอกาทศ เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้าและผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4467/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีการค้ากรณีผลักภาระภาษีจากผู้ผลิตไปผู้ส่งออก และการคำนวณดอกเบี้ย
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายดิบออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีที่ใช้บังคับขณะนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78วรรคแรก และไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 มาตรา 5(8) เนื่องจากน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา บัญชีที่ 1 หมวด 1(7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18)เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 ข้อ 3 ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7.0 ของรายรับ ดังนั้นแม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับ แต่เมื่อจำเลยได้มีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออกจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าตามฟ้องให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรตามฟ้อง บัญญัติว่าให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยด้วยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ที่ได้รับคืนเงินภาษีอากรข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศวรรคแรก บัญญัติไว้ จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ในอัตราตามที่โจทก์ขอแต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4415/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องมีการครอบครองจริงและต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์เล็กน้อยไม่ถือเป็นการครอบครอง
จำเลยมีที่ดินอันมีสภาพเป็นป่าได้ตัดไม้ล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทที่อยู่ติดต่อกันเพื่อเอามาใช้สอยเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นครั้งคราวเท่านั้น การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาให้จำเลยไม่ต้องใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาให้จำเลยไม่ต้องใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์