พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4415/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองที่เปิดเผยและต่อเนื่อง การใช้ประโยชน์เล็กน้อยไม่ถือเป็นการครอบครอง
จำเลยมีที่ดินอันมีสภาพเป็นป่าได้ตัดไม้ล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทที่อยู่ติดต่อกันเพื่อเอามาใช้สอยเล็ก ๆ น้อย ๆเป็นครั้งคราวเท่านั้น การกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์จึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาจึงต้องพิพากษาให้จำเลยไม่ต้องใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากพฤติการณ์การกระทำและบาดแผล
จำเลยใช้มีดปลายแหลมเฉพาะใบมีดยาวประมาณ 5 นิ้ว แทงผู้เสียหาย 1 ครั้ง ถูกบริเวณช่องท้องด้านซ้าย 1 แผล บาดแผลกว้างและลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ถึงกล้ามเนื้อ แต่ไม่เข้าถึงช่องท้องแสดงว่าจำเลยแทงไม่แรง และจำเลยมีโอกาสที่จะเลือกแทงอวัยวะที่สำคัญกว่านี้ได้ แต่ก็หาได้ทำไม่ อีกทั้งหากจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายก็คงไม่ผลักผู้เสียหายลงไปในร่องสวน หรือแม้ผู้เสียหายตกลงไปในร่องสวนแล้วจำเลยก็อาจจะตามลงไปแทงผู้เสียหายอีกได้แต่จำเลยก็หาได้ติดตามลงไปแทงผู้เสียหายซ้ำอีกไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า คงมีแต่เพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า, พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การบุกรุก และอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ส่วนข้อหาตามมาตรา 358 และ 362ไม่รับ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ทั้งสองข้อหาความผิดนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362 จึงไม่ชอบ ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อเจ้ามรดกขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโดยความรู้เห็นของจำเลยแล้ว การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่พิพาทให้แก่จำเลย พินัยกรรมส่วนที่เกี่ยวกับที่พิพาทย่อมไม่สมบูรณ์สิทธิครอบครองในที่พิพาทยังเป็นของโจทก์ จำเลยเข้าไปใช้รถไถขุดทำลายบ่อเลี้ยงปลาในที่พิพาทของโจทก์เพื่อถือการครอบครองอันเป็นการรบกวนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์โดยปกติสุขทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินมือเปล่า การครอบครอง และความผิดฐานบุกรุก
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามป.อ. มาตรา 365 ส่วนข้อหาตามมาตรา 358 และ 362 ไม่รับ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของโจทก์ทั้งสองข้อหาความผิดนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358และ 362 จึงไม่ชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้ามรดกขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโดยความรู้เห็นของจำเลยแล้ว การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่พิพาทให้แก่จำเลย พินัยกรรมส่วนที่เกี่ยวกับที่พิพาทย่อมไม่สมบูรณ์ สิทธิครอบครองในที่พิพาทยังเป็นของโจทก์ จำเลยเข้าไปใช้รถไถขุดทำลายบ่อเลี้ยงปลาในที่พิพาทของโจทก์เพื่อถือการครอบครอง อันเป็นการรบกวนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์โดยปกติสุขทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (3)
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าการซื้อขายย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้ามรดกขายที่พิพาทให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโดยความรู้เห็นของจำเลยแล้ว การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่พิพาทให้แก่จำเลย พินัยกรรมส่วนที่เกี่ยวกับที่พิพาทย่อมไม่สมบูรณ์ สิทธิครอบครองในที่พิพาทยังเป็นของโจทก์ จำเลยเข้าไปใช้รถไถขุดทำลายบ่อเลี้ยงปลาในที่พิพาทของโจทก์เพื่อถือการครอบครอง อันเป็นการรบกวนการครอบครองที่พิพาทของโจทก์โดยปกติสุขทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดมรดก & การตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนารมณ์พินัยกรรมสำคัญกว่าข้อตกลงภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวโดยตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และในพินัยกรรมได้ระบุตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกไว้ด้วย ถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนาชัดแจ้งตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อให้ผู้คัดค้านได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน และยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องก็ตาม ก็หาใช่เป็นการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมไม่ เพราะการสละมรดกเพียงบางส่วนหรือสละพินัยกรรมเพื่อไม่รับมรดกตามพินัยกรรมเพียงบางส่วนกระทำไม่ได้ เมื่อพินัยกรรมระบุตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้โดยเฉพาะแล้วก็ไม่ชอบที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอันเป็นการฝืนเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดสิทธิทายาท & สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตัดผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 แม้ต่อมาภายหลังผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมกับผู้คัดค้านทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก และรับมรดกบางส่วนของเจ้ามรดกก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคลทั้งสองให้เสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850เท่านั้น หาใช่การสละมรดกหรือสละพินัยกรรมของผู้ร้องไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และ 1698(3) ไม่เพราะการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมเพียงบางส่วนไม่อาจกระทำได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1613วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย แม้ใช้แบบพิมพ์ไม่ถูกต้องก็ไม่ถือเป็นคำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2534 และในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 ครบกำหนดที่เจ้าหนี้ทั้งหลายจะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องตามแบบพิมพ์ (ล.54)ซึ่งเป็นแบบพิมพ์คำร้องทั่วไปของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเฉลี่ยหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นว่า"คืนคำร้องไปทำมาใหม่ ให้หมายแจ้งเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้ถูกต้องตามแบบในระเบียบคดีล้มละลาย" ในตอนท้ายหน้าแรกของคำร้องได้มีหมายเหตุว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งคำร้องในวันเดียวกันกับวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง จึงถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งแล้วโดยไม่ต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบอีก ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวนี้เป็นการสั่งไม่รับคำร้องนั่นเอง ผู้ร้องจะต้องทำคำขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ (ล.29)ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใหม่ภายในกำหนดคือภายในวันที่22 กรกฎาคม 2534 การที่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามแบบ(ล.29) เข้ามาใหม่เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534 จึงพ้นกำหนดแล้วและจะถือว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก็ไม่ได้ เพราะยังไม่มีคำขอรับชำระหนี้เดิมเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณี: เลือกใช้บทลงโทษที่หนักกว่า
ความผิดตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503มาตรา 8 รวมอยู่ในความผิดตาม ป.อ.มาตรา 283 ด้วย และตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหาผู้เสียหายให้ทำการค้าประเวณีโดยยอมรับการกระทำชำเราเพื่อสินจ้างกับชายอื่น อันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 283 ซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิดตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 มาตรา 8 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเพียงความผิดตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสามฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดซ้อนซ้อน: แม้ฟ้องไม่ชัด แต่ศาลลงโทษฐานจัดหาค้าประเวณีได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503มาตรา 8 รวมอยู่ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ด้วย ตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกัน เป็นธุระจัดหาผู้เสียหายให้ทำการค้าประเวณีโดยยอมรับการกระทำชำเราเพื่อสินจ้างกับชายอื่นอันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิด ตาม พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 มาตรา 8เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503มาตรา 8 ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ลงโทษก็ตาม ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานจัดหาผู้กระทำการ ค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณี แม้ฟ้องไม่ชัดเจน เพราะความผิดรวมในประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503มาตรา 8 รวมอยู่ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283ด้วย และตามคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหาผู้เสียหายให้ทำการค้าประเวณีโดยยอมรับการกระทำชำเราเพื่อสินจ้างกับชายอื่น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 283 ซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503มาตรา 8 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ. 2503 มาตรา 8 ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสามฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคท้าย