คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรเทิง มุลพรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุก, ข่มขืนใจ, หน่วงเหนี่ยว, กรณีอดีตคู่สมรสบังคับขู่เข็ญ
ขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมไม่ได้เป็นภรรยาน้อยของจำเลยเพราะต่างสมัครใจเลิกร้างขาดจากการอยู่กินฉันสามีภรรยากันแล้ว การที่จำเลยถืออาวุธปืนเข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมพูดในลักษณะขู่เข็ญว่าจำเลยจะกลับมาอยู่กินกับโจทก์ร่วมให้ได้ ใช้มือจิกผมโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมไม่ได้อนุญาตให้จำเลยเข้าไปจึงเป็นการเข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควรเป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์ร่วมออกไปจากห้องนอนรวมระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อบังคับให้โจทก์ร่วมยอมให้จำเลยอยู่กินกับโจทก์ร่วมดังเดิมจนกระทั่งมีคนมาเกลี้ยกล่อม จำเลยจึงยอมปล่อยให้โจทก์ร่วมออกมาจากห้องนอนการกระทำของจำเลยเป็นการพยายามข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ๆ และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น ซึ่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวมานี้เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุก, ข่มขืนใจ, หน่วงเหนี่ยวกักขัง: การกระทำผิดฐานอาญาหลายบทจากการบุกรุกบ้านและข่มขู่
ขณะเกิดเหตุโจทก์ร่วมไม่ได้เป็นภรรยาน้อยของจำเลยเพราะต่างสมัครใจเลิกร้างขาดจากการอยู่กินฉันสามีภรรยากันแล้ว การที่จำเลยถืออาวุธปืนเข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมพูดในลักษณะ ขู่เข็ญว่าจำเลยจะกลับมาอยู่กินกับโจทก์ร่วมให้ได้ใช้มือจิกผมโจทก์ร่วมไม่ได้อนุญาตให้จำเลยเข้าไปจึงเป็นการ เข้าไปในบ้านของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควรเป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยไม่ยอมให้โจทก์ร่วมออกไปจากห้องนอนรวมระยะเวลาประมาณ4 ชั่วโมง เพื่อบังคับให้โจทก์ร่วมยอมให้จำเลยอยู่กินกับโจทก์ร่วมดังเดิม จนกระทั่งมีคนมาเกลี้ยกล่อม จำเลยจึงยอมปล่อยให้โจทก์ร่วมออกมาจากห้องนอนการกระทำของจำเลย เป็นการพยายามข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ๆ และหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังผู้อื่น ซึ่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวมานี้ เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของที่ดินที่อ้างสิทธิ จึงไม่มีสิทธิคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้นส่วนประเด็นที่ว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นของตนก็ชอบที่จะไปดำเนินการขออายัดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และดำเนินการทางทะเบียนให้เรียบร้อยต่อไป ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่มีสิทธิคัดค้านในการที่ศาลจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการฎีกา: ประเด็นใหม่นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์วินิจฉัย และการอ้างเหตุปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ได้
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะมิได้ระบุให้ชัดว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นข้อที่จำเลยที่ 1 มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับพิพาทไม่เป็นโมฆียะ จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าว คงอุทธรณ์แต่เพียงว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่สามารถบังคับจำเลยที่ 2 ได้เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญา และคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่สามารถบังคับเอากับจำเลยทั้งสองได้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองสร้างรั้วและหลังคาบ้านรุกล้ำที่ดินโจทก์ โจทก์จึงไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท พ. ร้อยตำรวจโท พ.เรียกจำเลยทั้งสองไปไกล่เกลี่ย จำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าจะรื้อรั้วที่รุกล้ำและทำรางน้ำรับหลังคาบ้านที่รุกล้ำเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 และรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 สร้างรั้วและหลังคาบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 พร้อมที่จะรื้อถอนรั้วและหลังคาบ้านออกไปจากที่ดินโจทก์ตามคำพิพากษา แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในรั้วและหลังคาบ้านดังกล่าวไม่ยินยอม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2ไม่จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล เพราะศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และคดีของจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ เพราะหากขืนปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานละเมิดได้ เมื่อข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไร เพียงแต่อ้างว่าปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุข้อฎีกาเกินกรอบการอุทธรณ์ และปัญหาการบังคับคดี
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะมิได้ระบุให้ชัดว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นข้อที่จำเลยที่ 1 มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ไม่ถือว่าว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมฉบับพิพาทไม่เป็นโมฆียะ จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าว คงอุทธรณ์แต่เพียงว่าสัญญาประนีประนอมยอมความไม่สามารถบังคับจำเลยที่ 2ได้เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญา และคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่สามารถบังคับเอากับจำเลยทั้งสองได้เท่านั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวมาแล้วแต่ในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยทั้งสองสร้างรั้วและหลังคาบ้านรุกล้ำที่ดินโจทก์โจทก์จึงไปแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท พ.ร้อยตำรวจโทพ.เรียกจำเลยทั้งสองไปไกล่เกลี่ย จำเลยที่ 1 ตกลงยินยอมทำบันทึกข้อตกลงว่าจะรื้อรั้วที่รุกล้ำและทำรางน้ำรับหลังคาบ้านที่รุกล้ำเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 สร้างรั้งและหลังคาบ้านรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริง ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 พร้อมที่จะรื้อถอนรั้วและหลังคาบ้านออกไปจากที่ดินโจทก์ตามคำพิพากษาแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในรั้วและหลังคาบ้านดังกล่าวไม่ยินยอม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล เพราะศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และคดีของจำเลยที่ 2ถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ เพราะหากขืนปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจำเลยที่ 2 มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานละเมิดได้ เมื่อข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไร เพียงแต่อ้างว่าปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี: ดอกเบี้ยเช็คลดหน้าและค่าออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เพื่อกิจการโดยเฉพาะ
โจทก์ประกอบการค้าดำเนินธุรกิจประเภทซื้อมาขายไปได้ซื้อเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นจากบริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ผลิตและขายให้แก่ลูกค้า โดยบริษัท อ. ได้เครดิตชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ประมาณ 4-6 เดือน การที่บริษัท อ.ได้รับเช็คลงวันที่ล่วงหน้าจากโจทก์แล้วไม่รอให้เช็คถึงกำหนดวันที่สั่งจ่ายเสียก่อนกลับนำเช็คไปขายลดให้แก่สถาบันการเงินจึงเป็นรายจ่ายของบริษัท อ. มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำรายจ่ายค่าดอกเบี้ยในการขายลดเช็คของบริษัท อ. มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (13) การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าแต่เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตที่จะต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรูปแบบของสินค้า การที่โจทก์ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าโดยจ่ายค่าออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าให้บริษัท อ.ผู้ผลิต มิใช่ข้อผูกพันที่โจทก์ต้องปฏิบัติในฐานะผู้ซื้อแต่เป็นกรณีที่โจทก์จะจ่ายให้หรือไม่สุดแต่ใจของโจทก์ฝ่ายเดียวจึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นและเป็นรายจ่ายมิใช่เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2767/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการริบอาวุธปืนที่ใช้ในการกระทำความผิด
จำเลยถูก ว.ทำร้ายก่อนด้วยการกระชากคอเสื้อทุบหรือชกต่อยท้ายทอยและจับศีรษะโขกกับกระดานหมากรุกจนหน้าผากของจำเลยมีโลหิตไหลโดยมีจำเลยไม่ทันระวังตัวถึงกับจำเลยต้องวิ่งหนีเข้าไปในร้านตัดผมข้างที่เกิดเหตุแต่หนีไม่พ้น เพราะด้านหลังของร้านตัดผมไม่มีทางหนีจึงย้อนกลับออกมาทางหน้าร้านพบกับ ว.ตรงประตูทางเข้าร้าน ตัดผม ในขณะที่ ว.ใช้มีดล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังไล่ตามจำเลยเข้าไป จำเลยเข้าใจว่า ว.จะล้วงเอาอาวุธปืนพกซึ่งปกติ ว.จะพกอยู่เป็นประจำออกมายิงจำเลย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนพกของจำเลยยิง ว.ไปหลายนัด เพราะความกลัวเป็นเหตุให้กระสุนปืนของจำเลยถูก ว.ถึงแก่ความตายและพลาดไปถูก ภ.ถึงแก่ความตายแต่จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงว. หลายนัด แสดงว่าจำเลยเจตนายิง ว.ให้ตายโดยไม่ยั้งมือ คือแทนที่จำเลยจะหยุดยิงเมื่อเห็นว่า ว. โดยกระสุนปืนที่จำเลยยิงล้มลงแล้วจำเลยกลับยิงต่อไปอีกหลายนัด ทำให้กระสุนปืนเหล่านั้น นอกจากจะถูก ว.หลายนัดจนถึงแก่ความตายแล้วยังพลาดไปถูก ภ.ซึ่งยืนดูการเล่นหมากรุก อยู่ถึงแก่ความตายด้วย ถือว่าเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจำเป็น หรือเกินกว่า กรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จำเลยจึงมีความผิด ฐานฆ่าผู้ตายทั้งสองโดยเจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่ทางราชการอนุญาตให้จำเลยมีและใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยใช้อาวุธปืนนั้นยิงผู้ตายโดยเจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยย่อมมีความผิดอาวุธปืนของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ชอบที่ศาลจะสั่งริบเสียตามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์และการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนเพราะโจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมานานกว่า 20 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยกลับนำสืบว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ด.ย่าของจำเลยด. มีที่ดินอยู่2 แปลง คือที่พิพาทและที่ดิน ส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ที่ดิน ส.ค.1ซึ่งเป็นที่ป่านั้น เดิมจำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดินมีโฉนด ส่วนที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด จำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดิน ส.ค.1 ที่ดินส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ย. บิดาจำเลยได้โอนให้แก่ น. ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า ที่ดินที่ น.เจ้ามรดกซื้อมาจาก ย. บิดาจำเลย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2480 เป็นที่ป่าคนละแปลงกับที่พิพาทและการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่ากรณีเช่นนี้จึงน่าเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดกัน คือ ย. ตกลงขายที่ดินที่เป็นที่ป่าให้แก่ น. จึงเป็นเรื่องสำคัญผิดในหลักฐานของที่ดิน น.ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินป่าแปลงนั้น หาได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไม่ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของ ย.อยู่เมื่อย. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายหรือไม่ และโจทก์รับซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ด้วย แม้ว่าปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยมา คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปเสียเองทีเดียวได้แล้วก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยได้ หากผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องและการใช้ดุลพินิจของศาลในการดำเนินคดีต่อไป แม้จำเลยฝ่ายหนึ่งยื่นคำแก้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายในกำหนด มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งแก่โจทก์โดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ. มาตรา 174(2)ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่แม้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแล้ว ศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจดำเนินคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของศาลในการดำเนินคดีต่อไป แม้มีการทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายในกำหนด มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามต้องถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคำสั่งแก่โจทก์โดยชอบแล้ว ตามป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่แม้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแล้วศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจดำเนินคดีต่อไป
of 38