คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรเทิง มุลพรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรขาเข้า: แม้ใช้แบบพิมพ์ผิด แต่หากปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นครบถ้วน กรมศุลกากรต้องคืนเงินให้
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 นั้นผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19(ก)ถึง(ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่ แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง. ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศ ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19(ง) แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรตามมาตรา 19 พ.ร.บ.ศุลกากร: การปฏิบัติตามแบบพิมพ์ไม่ใช่เงื่อนไขหลัก
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 (ก) ถึง (ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่
แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง.ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ.2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19 (ง)แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรขาเข้า: แบบพิมพ์ผิดมิใช่เหตุปฏิเสธ หากผู้ขอคืนปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 นั้น ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้อง แต่มาตรา 19 วรรคท้ายที่บัญญัติขึ้นใหม่มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้แสดงว่ากฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากร หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19(ก)ถึง(ง) แล้ว จำเลยจะเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีกำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์ยื่นคำขอตามแบบที่ 226 ง. ซึ่งเป็นแบบขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิ แทนที่จะยื่นคำขอตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19(ง) แล้ว จำเลยต้องคืนเงินภาษีอากรให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้าพิพาท: ส่วนลดพิเศษและผลกระทบต่อการประเมินราคา
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไป แสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าที่ไม่เป็นราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินราคาใหม่ได้
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ได้ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไปแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามสัญญาประกันภัยกรณีรถบรรทุกที่ใช้ในกิจการร่วมกัน ถือเป็นการจ้างงานและจำเลยร่วมต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุกับจำเลยร่วม จำเลยที่ 3 เป็นภรรยาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุในกิจการของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกัน การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้ ป. ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปส่งข้าวเปลือกที่จังหวัดปทุมธานี ระหว่างทางเกิดชนกับรถยนต์ปิกอัพที่ม.ขับมา เป็นการจ้างเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจร่วมกันของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของ ป. ด้วยจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและละเมิด: จำเลยต้องรื้อถอนรั้วคอนกรีตที่สร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แม้เคยเข้าใจผิดร่วมกัน
ในขณะที่จำเลยก่อสร้างรั้วคอนกรีต จำเลยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการก่อสร้างรั้วคอนกรีตรุกล้ำที่ดินของโจทก์ เพราะทั้งโจทก์และจำเลยต่างเข้าใจโดยสุจริตด้วยเหตุสำคัญผิดว่าที่ดินส่วนที่จำเลยสร้างรั้วคอนกรีตเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลย แต่เมื่อจำเลยรู้ในภายหลังว่าที่ดินส่วนนั้นมิใช่ที่ดินของจำเลยแล้ว นับแต่วันที่จำเลยรู้เช่นนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะคงไว้ซึ่งรั้วคอนกรีตนั้นอีกต่อไป จำเลยจะต้องรื้อถอนรั้วดังกล่าวออกจากที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่รื้อถอนจำเลยก็ได้ชื่อว่าจงใจกระทำละเมิด ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีต และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการร้านไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขาย: ไม่ต้องรับผิดในสัญญาที่จำเลยที่ 1 ผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการร้านจำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นเพียงผู้กระทำกิจการร้านค้าแทนจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาซื้อขายกับโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ให้การต่อสู้และไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์เปลี่ยนฐานความผิดจากลักทรัพย์เป็นยักยอก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานยักยอก ตามมาตรา 352 วรรคแรกจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและแจ้งวันนัดพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยย้ายที่อยู่และไม่สามารถส่งโดยตรงได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการตามหนังสือรับรองและสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ 7 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยจำเลยที่ 1ยังไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และจำเลยที่ 3 ก็ยังไม่ได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่น ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนา ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้และจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาตามที่ระบุไว้ในสำเนาทะเบียนบ้านการที่โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1และที่ 3 ณ บ้านเลขที่ดังกล่าวโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว สำหรับจำเลยที่ 2 ครั้งแรกโจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนา คำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่บ้านเลขที่ 100/20 หมู่ที่ 8ตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยที่ 2 ได้ขายไปแล้ว โจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 2 แจ้งย้ายออกไปอยู่บ้านเลขที่ 30/5 ตำบลสะเต็งอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา แต่เมื่อโจทก์ไปขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ปรากฏว่าไม่มีบ้านเลขที่ดังกล่าว ในการไต่สวนจำเลยที่ 2 อ้างสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งระบุว่า จำเลยที่ 2 ย้ายจากบ้านเลขที่ 100/20 แต่เจ้าหน้าที่ทะเบียน ก็มาเบิกความว่าไม่มีบ้านเลขที่ตามเอกสารหมาย ล.1 นั้น ในทะเบียนราษฎร ถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปรากฏภูมิลำเนา เป็นกรณีที่การส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถกระทำได้โดย วิธีธรรมดา การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ประกาศโฆษณาทาง หนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยวิธีธรรมดา จึงเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย วันนัดพิจารณานัดแรกโจทก์ขอเลื่อนคดี ศาลอนุญาตพร้อมมีคำสั่งให้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 2 ทราบที่หน้าศาลและออกหมายนัดแจ้งจำเลยที่ 1 ที่ 3 ทราบโดยวิธีปิดหมาย เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสามไม่มาศาล จึงถือว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา
of 38