คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องจำเลยหลายคนที่มีภูมิลำเนาต่างกัน และมูลหนี้เกี่ยวข้องกัน
ในขณะที่ยื่นคำฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร จำเลยที่ 6 และที่ 7 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งทำให้โจทก์ต้องยื่นฟ้องจำเลยที่ 3 ต่อศาลจังหวัดสมุทรสาคร และจำเลยที่ 6 และที่ 7 ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 แต่มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งแปดคดีนี้ เป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มูลความแห่งคดีที่จำเลยทั้งแปดต้องรับผิดต่อโจทก์จึงไม่อาจแบ่งแยกกันได้ หรือมีความผิดเกี่ยวข้องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตลอดจนจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรี และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ยอมให้โจทก์เสนอ ค่าฟ้องจำเลยทั้งแปดต่อศาลใดศาลหนึ่งดังกล่าวก็ได้ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำฟ้องจำเลยที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ร่วมกับ จำเลยอื่นต่อศาลแพ่งธนบุรีก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ถือว่าทิ้งคำร้องแม้ผู้ร้องไม่ดำเนินการทันตามกำหนด หากศาลมิได้แจ้งคำสั่งและผู้ร้องยังมีความพยายาม
เมื่อเจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยครั้งแรกไม่ได้ผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยใหม่ แม้จะไม่ได้ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ถือว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง กลับสั่งให้คำแถลงของผู้ร้องว่า "ไม่พบ ให้ปิด" โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย และเมื่อพนักงานเดินหมายนำหมายนัดและสำเนาคำร้องไปส่งให้แก่จำเลยครั้งที่สอง ก็ส่งให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะไม่พบป้ายชื่อจำเลย ผู้จัดการจำเลย และไม่มีผู้รับหมายไว้แทนแต่มีผู้แจ้งว่าจำเลยย้ายสำนักงานไปนานแล้ว พนักงานเดินหมายจึงไม่ได้ปิดหมายศาลชั้นต้นสั่งในรายงานการเดินหมายว่า "รอผู้ร้องแถลง" โดยมิได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้น ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องต่อไป ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยถึงเกือบ 8 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รอผู้ร้องแถลง" ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย การกำหนดราคาที่ดินเมื่อศาลสั่งเพิกถอน
คำสั่งเพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่ง กรณียังถือได้ว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านและมิใช่เป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจเอามาชำระหนี้ตามมาตรา 109 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนแล้ว แต่ไม่สามารถโอนที่ดินกลับมาได้ต้องมีการใช้ราคา การกำหนดราคาที่ดินพิพาทต้องถือราคาที่ดินในวันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน อันเป็นวันที่ถือว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อความว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามหนังสือต่ออายุสัญญาดังกล่าว เจ้าหนี้และบริษัท พ. ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อบริษัท พ. นำเงินเข้าฝากในรูปตั๋วเงินและกู้เงินโดยผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น และเจ้าหนี้คิดหักทอนบัญชีกับบริษัท พ. ในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 และ 859 สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2538 เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนด 10 ปี หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้ที่ 4 ร่วมค้ำประกันหนี้ของบริษัท พ. เป็นเงิน 5,000,000 บาท แม้จะยอมตกลงค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แต่ก็หาใช่รับผิดชำระหนี้แทนบริษัท พ. โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ คงรับผิดชำระหนี้เป็นเงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น และการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ยอดหนี้ของบริษัท พ. อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยการนำเงินเข้าหรือถอนเงินออกจากบัญชี ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่ถ้าบริษัท พ. นำเงินมาชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่บริษัท พ. ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะได้มีการเบิกถอนจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่ บริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้าย ตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อบริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้ายคือวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ลูกหนี้ที่ 4 จึงต้องชำระดอกเบี้ยทบต้นให้แก่เจ้าหนี้นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2533 อันเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นจากลูกหนี้ที่ 4 เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินภายใน 3 เดือนก่อนขอให้ล้มละลาย และทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ
การทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนอง ตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและลูกหนี้ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่า ผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่ลูกหนี้หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้วกรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง นอกจากนั้นลูกหนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา 2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. สร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาท รวมราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 3,950,000 บาท ลูกหนี้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างทำให้ลูกหนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินภายใน 3 เดือนก่อนยื่นคำร้อง และทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ
การทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนอง ตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและลูกหนี้ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่า ผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่ลูกหนี้หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้วกรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง นอกจากนั้นลูกหนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. สร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาท รวมราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน3,950,000 บาท ลูกหนี้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างทำให้ลูกหนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดจำนองในคดีล้มละลาย ต้องพิเคราะห์สถานะเจ้าหนี้ก่อนการโอนทรัพย์และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำและทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ เสียเปรียบ ปรากฏว่าการทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนองตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและจำเลยที่ 2 ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่าธนาคารผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา 2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาทจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท โดยทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการตรวจสอบมูลหนี้ แม้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา หรือเป็นเหตุให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการขาดอายุความ
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็หาผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจึงมีอำนาจจะฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้สินตลอดจนหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นขอรับชำระนั้นมีมูลหนี้อันจะพึงอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามคำขอหรือไม่
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94(1)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการตรวจสอบหนี้ และข้อจำกัดการรับชำระหนี้ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็หาผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจึงมีอำนาจจะฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้สินตลอดจนหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นขอรับชำระนั้นมีมูลหนี้อันจะพึงอนุญาตให้รับชำระหนี้ตามคำขอหรือไม่
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์นำหนี้ซึ่งสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วมาขอรับชำระหนี้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้เพราะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 94 (1) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5606/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากเจ้าหนี้ถอนคำขอรับชำระหนี้ ทำให้ไม่มีเหตุให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายย่อมมีผลให้จำเลยทั้งสองหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย และเท่ากับว่าศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไปด้วยแล้วในตัวจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสองอีกต่อไป
of 70