คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืนและดอกเบี้ย กรณีราคาที่ดินเปลี่ยนแปลงและระยะเวลาการชำระ
เมื่อปรากฏว่า โจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 1 จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกัน โจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันและเนื้อที่หาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ ซึ่งข้อ 1 บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทน ให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา 24" และข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ของมาตรา 21แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ด้วย ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่า ที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่ง และข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติม เห็นได้ว่า โจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วย ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯ พิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น และมาตรา 11 วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2532ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯ นับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่6 กันยายน 2532 อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าทดแทนที่ดินเวนคืนและดอกเบี้ยตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากราคาตลาดและอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
เมื่อปรากฏว่าโจทก์อ้างมาในฟ้องตั้งแต่แรกแล้วว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์อันเป็นหลักเกณฑ์ของการกำหนดค่าทดแทนที่ดินซึ่งแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1จำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ขอเรียกตามฟ้องและจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องนั้นอาศัยหลักเกณฑ์เดียวกันโจทก์สามารถที่จะขอแก้ไขได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันและเนื้อที่หาสาระที่ขอแก้ไขมิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนี้คำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องนั้นชอบแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับซึ่งข้อ1บัญญัติให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24"และข้อ5วรรคหนึ่งบัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยดังนั้นในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นศาลต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)ของมาตรา21แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ด้วย ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ระบุว่าที่ดินส่วนที่เหลือไม่สามารถทำประโยชน์ในกิจการที่เหมาะสมอีกต่อไปเนื่องจากต้องตกอยู่ใต้ทางด่วนซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างยิ่งและข้อความดังกล่าวโจทก์ได้กล่าวอ้างรวมมากับข้อเรียกร้องให้ชำระเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพิ่มเติมเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ราคาลดลงด้วยถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้รัฐมนตรีฯพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือราคาลดลงแล้วโจทก์จึงมีสิทธินำคดีส่วนนี้มาฟ้องต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามบัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นและมาตรา11วรรคหนึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยได้ทำซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา10เมื่อวันที่9พฤษภาคม2532ตามสำเนาสัญญาซื้อขายฯนับแต่วันดังกล่าวไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่6กันยายน2532อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่1ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเบิกความกลัวภัย ไม่เป็นเหตุให้คำเบิกความไม่มีน้ำหนัก เมื่อมีหลักฐานอื่นสนับสนุน
แม้การเป็นพยานจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองดีก็ตามแต่บางครั้งพยานก็อาจไม่ต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีแม้ตนจะเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ก็ตามทั้งนี้อาจเป็นเพราะเกิดความกลัวหรือเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์อะไรกลับจะนำภัยมาถึงตนและครอบครัวก็เป็นได้ยิ่งผู้ตายเป็นคนต่างท้องถิ่นส่วนจำเลยเป็นคนหมู่บ้านเดียวกันและขณะนั้นยังจับคนร้ายไม่ได้อีกด้วยในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจพบท. สอบถามแล้วไม่ยอมให้การมีลักษณะท่าทางกลัวจึงน่าเชื่อว่าที่ท. ไม่ยอมระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายและที่บอกว่าคนร้ายสองคนเคยเห็นหน้ามาก่อนมาถ้าเห็นหน้าอีกจำได้นั้นคงมิใช่เพราะท.ไม่รู้จักคนร้ายแต่เป็นเพราะกลัวว่าหากระบุชื่อคนร้ายไปอาจจะนำภัยมาถึงตนหรือครอบครัวมากกว่าดังนั้นการที่ท. ไม่ระบุชื่อจำเลยว่าเป็นคนร้ายในวันเกิดเหตุจึงหาเป็นข้อพิรุธอันจะทำให้น้ำหนักของคำเบิกความของท. ที่ยืนยันว่าจำเลยกับอ.เป็นคนร้ายเสียไปไม่เมื่อรับฟังประกอบกับพฤติการณ์ที่จ.พบเห็นจำเลยกับพวกก่อนและหลังเกิดเหตุและพฤติการณ์ที่พันตำรวจโทว. สืบทราบว่าจำเลยกับพวกเป็นคนร้ายจนยึดรถจักรยานยนต์ของโจทก์ได้และรายงานต่อผู้บังคับบัญชาพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, สิทธิการเช่า, สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย - ข้อพิพาทเรื่องการเช่าและการครอบครอง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การเคหะแห่งชาติเคยมีหนังสือบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยก็ยอมรับ แต่ปฏิเสธว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เพราะได้มีบัญชาของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ระงับโครงการรื้อถอนและให้ผู้เช่ารวมทั้งจำเลยเช่าอยู่ต่อไป แต่จำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นดังที่จำเลยอ้างเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ถือว่าการบอกเลิกการเช่ามีผลสมบูรณ์ จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยละเมิดการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากการบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่มีผลบังคับเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิการเช่าในห้องพิพาทดีกว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543(3) อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) แล้วดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้นดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตคำพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การเคหะแห่งชาติเคยมีหนังสือบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยก็ยอมรับ แต่ปฏิเสธว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เพราะได้มีบัญชาของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ระงับโครงการรื้อถอนและให้ผู้เช่ารวมทั้งจำเลยเช่าอยู่ต่อไป แต่จำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นดังที่จำเลยอ้างเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ถือว่าการบอกเลิกการเช่ามีผลสมบูรณ์ จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยละเมิด การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากการบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่มีผลบังคับเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิการเช่าในห้องพิพาทดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 543 (3) อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) (ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) แล้ว ดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมดสิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 การที่ ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาด แต่ไม่มาดูแลการขาย ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่13 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2535 จึงเกินสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือ คำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดล่าช้าเกินกำหนดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 146
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่1ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่13พฤศจิกายน2535การที่ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาดแต่ไม่มาดูแลการขายต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่13พฤศจิกายน2535ดังกล่าวด้วยผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่3ธันวาคม2535จึงเกินสิบสี่วันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่1ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาด: กำหนดระยะเวลาการยื่นคำร้อง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 การที่ ด.ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องได้ทราบวันขายทอดตลาด แต่ไม่มาดูแลการขาย ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงการขายทอดตลาดในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวด้วย ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2535 จึงเกินสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบถึงการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือราคาลดลง และดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทน
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา25วรรคหนึ่ง(เดิม)บัญญัติให้สิทธิผู้ที่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนและขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นหลังจากที่คณะกรรมการได้กำหนดราคาแล้วจะมีหนังสือเชิญให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำสัญญาและให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนในภายหลังส่วนผู้ที่ไม่ยอมทำสัญญาการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจะนำเงินไปวางที่ธนาคารออมสินวันที่นัดให้มารับเงินนั้นจำเลยจะต้องมีหนังสือแจ้งไปให้เจ้าของทราบอีกทีหนึ่งในทางปฏิบัติหากเจ้าของที่ถูกเวนคืนไม่ตกลงทำสัญญาด้วยจำเลยจะไม่มีหนังสือให้มารับเงินที่จำเลยจะให้ไปรับเงินที่ธนาคารออมสิน ฝ่ายจำเลยถือว่าหนังสือขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนเป็นหนังสือเชิญให้มาทำสัญญาซื้อขายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา10มิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งกรณีของโจทก์ทั้งสองนั้นหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งคือหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนฉบับวันที่30สิงหาคม2533โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือการวางเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่1กันยายน2533และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่29ตุลาคม2533จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลา60วันนับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา25วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา26วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ที่1ไม่สามารถประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ที่2ซึ่งถูกเวนคืนโจทก์ที่1ต้องเสียทำเลทางการค้าเสียเวลาในการหาสถานที่ประกอบกิจการค้าแห่งใหม่ไม่สะดวกต่อการติดต่อกับลูกค้าทำให้เสียลูกค้าและขาดรายได้อันถือได้ว่าโจทก์ที่1ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจกท์ที่1ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคห้า ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองและวรรคสามเป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21เท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์ที่2มีราคาลดลงเพราะการเวนคืนแล้วก็ต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วยแต่ที่ดินโฉนดเลขที่21685ของโจทก์ที่2มิได้มีส่วนใดถูกเวนคืนเลยจึงไม่เข้ากรณีที่จะได้เงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงเพราะเหตุการเวนคืนตามมาตรา21วรรคสามส่วนที่ดินโฉนดเลขที่21686ของโจทก์ที่2เนื้อที่107ตารางวาถูกเวนคืนเพียง19ตารางวาเหลือ88ตารางวานั้นเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ติดกับถนนแจ้งวัฒนะคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน4เมตรเมื่อถูกเวนคืน19ตารางวาแล้วที่ดินที่เหลือ88ตารางวาก็ยังคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน4เมตรเหมือนเดิมและเนื้อที่ดินลดลงเพียงเล็กน้อยยังคงใช้ประโยชน์ได้แตกต่างจากเดิมไม่มากและหลังจากสร้างทางสายบางโคล่-แจ้งวัฒนะเสร็จแล้วทำให้ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่2แปลงนั้นอยู่ใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วนด้วยย่อมไม่ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่2ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าวนั้นราคาลดลง เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคสามซึ่งอัตราสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องคือวันที่23ธันวาคม2534ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดค่าทดแทน การชดเชยความเสียหาย และดอกเบี้ย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้สิทธิผู้ที่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน และขั้นตอนในการดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้น หลังจากที่คณะกรรมการได้กำหนดราคาแล้วจะมีหนังสือเชิญให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำสัญญาและให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนในภายหลัง ส่วนผู้ที่ไม่ยอมทำสัญญา การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจะนำเงินไปวางที่ธนาคารออมสินวันที่นัดให้มารับเงินนั้น จำเลยจะต้องมีหนังสือแจ้งไปให้เจ้าของทราบอีกทีหนึ่ง ในทางปฏิบัติหากเจ้าของที่ถูกเวนคืนไม่ตกลงทำสัญญาด้วย จำเลยจะไม่มีหนังสือให้มารับเงินที่จำเลย จะให้ไปรับเงินที่ธนาคารออมสิน ฝ่ายจำเลยถือว่า หนังสือขอเชิญให้ไปติดต่อขอรับเงินค่าทดแทน เป็นหนังสือเชิญให้มาทำสัญญาซื้อขายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา 10มิใช่หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ทั้งสองนั้น หนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนฉบับวันที่ 30 สิงหาคม 2533 โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือการวางเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่29 ตุลาคม 2533 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในเวลา 60 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ที่ 1 ไม่สามารถประกอบกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้างในที่ดินของโจทก์ที่ 2 ซึ่งถูกเวนคืน โจทก์ที่ 1 ต้องเสียทำเลทางการค้า เสียเวลาในการหาสถานที่ประกอบกิจการค้าแห่งใหม่ ไม่สะดวกต่อการติดต่อกับลูกค้า ทำให้เสียลูกค้า และขาดรายได้อันถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคห้า
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้ว ตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้ หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์ที่ 2 มีราคาลดลงเพราะการเวนคืนแล้ว ก็ต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย แต่ที่ดินโฉนดเลขที่ 21685ของโจทก์ที่ 2 มิได้มีส่วนใดถูกเวนคืนเลย จึงไม่เข้ากรณีที่จะได้เงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลงเพราะเหตุการเวนคืนตามมาตรา 21 วรรคสาม ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 21686 ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่107 ตารางวา ถูกเวนคืนเพียง 19 ตารางวา เหลือ 88 ตารางวา นั้นเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ติดกับถนนแจ้งวัฒนะ คงติดกับถนนซอยกว้างเกิน 4 เมตรเมื่อถูกเวนคืน 19 ตารางวา แล้ว ที่ดินที่เหลือ 88 ตารางวา ก็ยังคงติดกับถนนซอยกว้างเกิน 4 เมตรเหมือนเดิม และเนื้อที่ดินลดลงเพียงเล็กน้อยยังคงใช้ประโยชน์ได้แตกต่างจากเดิมไม่มาก และหลังจากสร้างทางสายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะเสร็จแล้ว ทำให้ที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่ 2 แปลงนั้นอยู่ใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วนด้วย ย่อมไม่ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่ 2ที่เหลือจากการเวนคืนดังกล่าวนั้นราคาลดลง
เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคสาม ซึ่งอัตราสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามประกาศของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องคือวันที่ 23 ธันวาคม 2534 ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง
of 70