คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง: คำสั่งศาลเดิมผูกพันหรือไม่เมื่อมีสิทธิดีกว่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่าคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าคดีนี้โจทก์นำพยานมาสืบได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ10ปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินของโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1308โจทก์พิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ คำพิพากษาที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา145(2)ด้วย โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลยจึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ผลผูกพันคำสั่งศาลต่อบุคคลภายนอกและการพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่า
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่า คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า คดีนี้โจทก์นำพยานมาสืบได้ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินของโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 โจทก์พิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 145 (2) ด้วย
โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลย จึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และผลกระทบต่อการยกเว้นข้อพิพาท
จำเลยยังไม่ได้ขายกิจการขายกิจการร้านข้าวต้มที่บ้านเลขที่39-41ถนนสุระสงครามตำบลท่าหินอำเภอเมืองลบบุรีจังหวัดลพบุรีแก่บุคคลใดแต่ยังเป็นกิจการของจำเลยอยู่และในการขอเปิดบัญชีเดินสะพัดต่อธนาคารจำเลยก็ระบุบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของจำเลยแม้จำเลยจะพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่24/2หมู่ที่2ตำบลท่าศาลาอำเภอเมืองลพบุรี อีกแห่งหนึ่งก็ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งจึงถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา38การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่บ้านเลขที่39-41ซึ่งเป็นร้านข้าวต้มดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังภูมิลำเนาของจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดจึงถือได้ว่าจำเลยจึงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ที่จำเลยฎีกาว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการเล่นการพนันจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้มีชื่อซึ่งรับเช็คพิพาทจากจำเลยได้เสียการพนันสลากกินรวบแก่จำเลยเป็นเงิน120,000บาทหนี้ตามเช็คพิพาทจึงเหลือเพียง80,000บาทแต่ผู้มีชื่อไม่ยอมนำเช็คพิพาทมาแลกเช็คใหม่กับจำเลยและกลับโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์อันเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยนั้น เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาที่แท้จริง การส่งหมายเรียกที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ
ป.พ.พ. มาตรา 38ป.วิ.พ. มาตรา 76, 183, 197
จำเลยยังไม่ได้ขายกิจการร้านข้าวต้มที่บ้านเลขที่ 39 - 41ถนนสุระสงคราม ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี แก่บุคคลใด แต่ยังเป็นกิจการของจำเลยอยู่ และในการขอเปิดบัญชีเดินสะพัดต่อธนาคาร จำเลยก็ระบุบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่ของจำเลย แม้จำเลยจะพักอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 24/2หมู่ที่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองลพบุรี อีกแห่งหนึ่ง ก็ถือได้ว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป หรือมีหลักแหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่ง จึงถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 39 - 41ซึ่งเป็นร้านข้าวต้มดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยยังภูมิลำเนาของจำเลยโดยชอบแล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนดจึงถือได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ที่จำเลยฎีกาว่า มูลหนี้ตามเช็คพิพาทเกิดจากการเล่นการพนันจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีชื่อซึ่งรับเช็คพิพาทจากจำเลยได้เสียการพนันสลากกินรวบแก่จำเลยเป็นเงิน 120,000 บาท หนี้ตามเช็คพิพาทจึงเหลือเพียง 80,000 บาทแต่ผู้มีชื่อไม่ยอมนำเช็คพิพาทมาแลกเช็คใหม่กับจำเลยและกลับโอนเช็คพิพาทแก่โจทก์อันเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยนั้น เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334-336/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาที่ดินเพื่อการเวนคืน: การพิจารณาปัจจัยตลาดและสภาพที่ดิน ณ เวลาที่เริ่มต้นกระบวนการจ่ายค่าทดแทน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมพรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมากเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข343 สายคลองตัน-ลาดกระบังพ.ศ.2532กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ.2534มาตรา15บัญญัติว่า"กระทรวงคมนาคมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคมการขนส่ง"มาตรา16กำหนดให้กรมทางหลวงจำเลยที่2เป็นส่วนราชการของกระทรวงคมนาคมจำเลยที่1และตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534มาตรา20กระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชามาตรา32กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมโดยกรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวงกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2537มาตรา3ให้กรมทางหลวงกระทรวงคมนาคมมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทานรวมทั้งกฎหมายและระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้องดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข343เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและการดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1ซึ่งดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นั้นเองและอธิบดีกรมทางหลวงในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็ดำเนินการในฐานะอธิบดีของจำเลยที่2ตามอำนาจและหน้าที่ของจำเลยที่2ฉะนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสามเห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสามที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข343ยังไม่เป็นธรรมโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องค่าทดแทนที่ดินโจทก์ทั้งสามถูกเวนคืนได้ การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่าและทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่2)พ.ศ.2524ซึ่งมีผลใช้บังคับวันที่20มีนาคม2524และพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก พ.ศ.2532ขณะที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับนั้นจำเลยทั้งสองยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์และก่อนการฟ้องคดีของโจทก์เพื่อเรียกค่าทดแทนเพิ่มขึ้นนั้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกบังคับใช้แล้วดังนั้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตอบบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ทั้งนี้ตามมาตรา36วรรคสองและประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44วรรคหนึ่งและเนื่องจากพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก พ.ศ.2532มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา21(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1)ถึง(5)นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่2)พ.ศ.2524มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่20มีนาคม2524และมีประกาศกระทรวงคมนาคม กำหนดให้ทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า เป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนมาตั้งแต่วันที่29พฤษภาคม2524แล้วแต่กลับปรากฎว่าจำเลยที่2เพิ่งมีหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2535กับลงวันที่28เมษายน2535แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนการที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า10ปีเป็นการดำเนินการที่มิได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2521มาตรา33วรรคสามซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดเป็นเขตแนวทางหลวงตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสามที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสามโดยคำนึงถึงมาตรา21(1)ถึง(5)คือราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯคือวันที่20มีนาคม2524อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดค่าทดแทนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ระหว่างปี2522ถึง2524แล้วเพิ่มราคาแล้วเพิ่มราคาให้อีกตารางวาละร้อยละ25กับที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนกำหนดค่าทดแทนเท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ที่ใช้อยู่ในขณะที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯมีมติกำหนดค่าทดแทนคือในปี2533เพียงอย่างเดียวไม่ถูกต้องตามกฎหมายมาตราดังกล่าวคดีนี้คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นฯซึ่งเป็นชุดที่กำหนดราคาเบื้องต้นของโจทก์ที่ถูกเวนคืนนั้นได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่3มีนาคม2532หลังจากนั้นคณะกรรมการชุดนี้จึงได้ประชุมกันเพื่อกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก พ.ศ.2532การดำเนินการเพื่อจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีนี้เพิ่งเริ่มต้นใหม่ในปี2532ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนคดีนี้ที่จะเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมต้องกำหนดโดยคำนึงถึงมาตรา21(1)ถึง(5)แต่วันที่เป็นฐานที่ตั้งสำหรับราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯเป็นปี2532อันเป็นปีที่มีการเริ่มดำเนินการใหม่เพื่อจ่ายค่าทดแทน เมื่อจำเลยทั้งสองต้องชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสามส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสิน ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ8ต่อปีเพราะโจทก์ทั้งสามมิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ8ต่อปีคงที่ตลอดเวลาจึงไม่ชอบด้วยมาตรา26วรรคสามซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน: โจทก์ผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดได้ จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยต่อไป
โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้จำเลยตามสัญญาจะซื้อขายเมื่อโจทก์ผิดสัญญาเพราะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้สิทธิอาศัยของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ตามสัญญาโจทก์ไม่มีสิทธิเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาทการที่จำเลยอยู่ต่อมาจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดิน: โจทก์ผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยต่อไปได้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินกับโจทก์ครั้นถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้อันเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เองหาใช่ความผิดของจำเลยไม่โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้สิทธิอาศัยของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ตามสัญญาเมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาทการที่จำเลยอยู่ในอาคารโดยมีสิทธิตามสัญญาจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย - ความผิดของคู่สัญญา - สิทธิอาศัย - การเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินกับโจทก์ ครั้นถึงวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้ อันเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เอง หาใช่ความผิดของจำเลยไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
โจทก์ยินยอมให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในบ้านและที่ดินพิพาทจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่สามารถนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนได้ สิทธิอาศัยของจำเลยจึงยังคงมีอยู่ตามสัญญา เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่มีสิทธิเลิกสัญญาและบอกกล่าวให้จำเลยออกจากที่ดินและอาคารพิพาท การที่จำเลยอยู่ในอาคารโดยมีสิทธิตามสัญญาจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า, สิทธิการเช่า, และขอบเขตการบังคับคดีความเสียหายจากสัญญาเช่า
ศาลชั้นต้น ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า การ เคหะ แห่งชาติ เคย มี หนังสือ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ก็ ยอมรับ แต่ ปฏิเสธ ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญาเช่า ไม่มี ผลบังคับ เพราะ ได้ มี บัญชา ของ นายกรัฐมนตรี ขณะ นั้น ให้ ระงับ โครงการ รื้อถอน และ ให้ ผู้เช่า รวมทั้ง จำเลย เช่า อยู่ ต่อไป แต่ จำเลย ไม่มี พยาน มา สืบ ให้ เห็น เป็น ดัง ที่ จำเลย อ้าง เพียง กล่าวอ้าง ลอย ๆ ถือว่า การ บอกเลิก การ เช่า มีผล สมบูรณ์ จำเลย อยู่ ใน ห้อง พิพาท โดย ละเมิด การ ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า โจทก์ และ โจทก์ร่วม ไม่มี อำนาจฟ้อง ขับไล่ จำเลย เนื่องจาก การ บอกเลิก การ เช่า ห้อง พิพาท ไม่มี ผล ตาม กฎหมาย นั้น เป็น การ โต้เถียง ข้อเท็จจริง ว่า หนังสือ บอกเลิก สัญญา ไม่มี ผลบังคับ เพื่อ นำ ไป สู่ ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย มีสิทธิ การ เช่า ใน ห้อง พิพาท ดีกว่า โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543(3) อุทธรณ์ ของ จำเลย จึง เป็น อุทธรณ์ ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกา ของ จำเลย ใน ข้อ ที่ ว่า โจทก์ จะ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ไม่ต้อง ด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3)( ก ) เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย ว่า กรณี ที่ โจทก์ เรียก สำนักงาน ทรัพย์สิน ส่วน พระมหากษัตริย์ เข้า มา เป็น โจทก์ร่วม ต้องด้วย เหตุ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)( ข ) แล้ว ดังนี้ ฎีกา ข้อ นี้ ของ จำเลย จึง ไม่เป็น การ โต้แย้ง คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ไม่ วินิจฉัย ให้ ตาม สัญญาเช่า ระบุ ว่า ผู้เช่า สัญญา จะ เป็น ผู้ดำเนินการ ให้ ผู้ครอบครอง ผู้บุกรุก หรือ บุคคลอื่น ออกจาก สถานที่ เช่า และ สิ่งปลูกสร้าง ใน สถานที่ เช่า จน สามารถ ครอบครอง สถานที่ เช่า ได้ ทั้งหมด โดย ผู้ให้เช่า เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ตาม ที่ ผู้เช่า จ่าย จริง ภายใน วงเงิน ไม่เกิน สิบ ล้าน บาท นั้น สัญญา ได้ ระบุ ไว้ ชัดเจน ว่า ผู้เช่า คือ โจทก์ เป็น ผู้ดำเนินการ โดย ผู้ให้เช่า คือ โจทก์ร่วม เป็น ผู้ เสีย ค่าใช้จ่าย จึง เป็น เรื่อง การ กำหนด ค่าใช้จ่าย ใน การ ดำเนินการ ของ โจทก์ มิใช่ เป็น สัญญา เพื่อ ประโยชน์ ของ บุคคลภายนอก ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม ด้วย นั้น เมื่อ ปรากฏ ตาม คำร้อง เข้า เป็น โจทก์ร่วม ว่า โจทก์ร่วม เพียงแต่ ขอให้ บังคับ จำเลย และ บริวาร ขนย้าย ทรัพย์สิน ออก ไป จาก ห้อง พิพาท และ ห้ามเข้า ไป เกี่ยวข้อง อีก เท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ใน ส่วน นี้ จึง เป็น การ พิพากษา เกิน ไป กว่า คำขอ อันเป็น การ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ศาลฎีกา สมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง เป็น จำเลย ไม่ต้อง ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำผิดฐานขายยาเสพติด: พยานหลักฐานต้องเชื่อมโยงถึงตัวจำเลย พยานบอกเล่าและการรับสารภาพที่ไม่สมัครใจมีน้ำหนักน้อย
จำเลยที่1เป็นสามีของจำเลยที่2โดยอาศัยอยู่บ้านเดียวกันขณะที่สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่2จำเลยที่2อยู่ใต้ถุนบ้านส่วนจำเลยที่1นอนอยู่บนบ้านและตรวจค้นยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางได้จากกระเป๋ากางเกงของเด็กที่แขวนอยู่ที่เสาใต้ถุนบ้านส่วนธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อก็ยึดได้จากจำเลยที่2และระหว่างนั้นไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1มีพฤติการณ์ที่ส่อแสดงว่าได้ร่วมกับจำเลยที่2กระทำความผิดแต่กลับเป็นผู้นำตรวจค้นบนบ้านโจทก์คงมีแต่คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยที่1ซึ่งให้การปฎิเสธในชั้นพิจารณาเป็นพยานบอกเล่าพนักงานสอบสวนดำเนินการไปฝ่ายเดียวโดยฝ่ายจำเลยที่1ไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านแม้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแต่ก็มีน้ำหนักน้อยโจทก์จะต้องมีพยานอื่นมาสืบประกอบจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยที่1ได้
of 70