คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10157/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากมีการประนีประนอมยอมความระหว่างคู่ความ
ขณะคดีนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาและจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเสร็จไปแล้ว ฉะนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ ๑ ว่าจะต้องรับคำให้การของจำเลยที่ ๑ หรือไม่ อีกต่อไป ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัมปทานทำไม้ไม่ใช่สัญญาแพ่ง การสั่งหยุดทำไม้ชั่วคราวไม่ถือเป็นการผิดสัญญาและไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัมปทานทำไม้เป็นเรื่องที่รัฐบาลอนุญาตให้บุคคลเข้าดำเนินการทำไม้ภายใต้เงื่อนไขระเบียบและกฎหมาย มิใช่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การที่จำเลยสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้ชั่วคราวเพื่อปรับปรุงวางโครงการทำไม้และเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงไม่เป็นการผิดสัญญาสัมปทานทำไม้และโจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัมปทานทำไม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389 การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้โจทก์หยุดการทำไม้เป็นการชั่วคราว มิใช่เป็นการสั่งเพิกถอนสัมปทาน กรมป่าไม้จึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันที่โจทก์วางไว้เพื่อเป็นประกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัมปทาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9934/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องแจ้งให้ผู้ค้างภาษีทราบที่ภูมิลำเนา หากไม่สามารถส่งได้จึงแจ้งโดยวิธีอื่นได้ การแจ้งเฉพาะทางหนังสือพิมพ์จึงไม่ชอบ
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่เป็นที่แน่นอน กรรมสรรพากรจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งประกาศแจ้งกำหนดวันเวลาและสถานที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ให้โจทก์ทราบ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ดังกล่าวซึ่งถ้าไม่สามารถส่งได้ จึงจะส่งโดยวิธีอื่นหรือประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ได้ การที่จำเลยแจ้งเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์โดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยไม่เข้าข้อยกเว้นที่ให้ทำได้ จึงไม่ชอบการขายทอดตลาดที่จำเลยดำเนินการไปจึงไม่ชอบด้วยระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2525 และระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร พ.ศ. 2532

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าจ้างเพิ่มเติม: ศาลไม่วินิจฉัยเกินคำขอ แม้ถ้อยคำในฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์รื้อถอนต่อเติมซ่อมแซมและทาสีอาคารของจำเลย ในระหว่างก่อสร้างจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่ตกลงไว้เดิม รวมเงินค่าจ้างทั้งงานเดิมและงานเพิ่มเติมเป็นเงิน 811,722 บาท จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จ550,000 บาท ทั้งงานที่ตกลงว่าจ้างครั้งแรกกับงานที่เพิ่มเติมภายหลังโจทก์ได้ทำแล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าจ้างงานส่วนที่เพิ่มเติมเป็นเงิน261,722 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 261,722 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องที่เรียกเอาเงินค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่นั่นเอง เพียงแต่โจทก์อาจใช้ถ้อยคำไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเลยเองก็เบิกความว่า เงินค่าจ้างจำนวน 550,000 บาทที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปนั้น ไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าส่วนใดเป็นค่างานปกติ ส่วนใดเป็นค่างานที่เพิ่มเติม ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระ จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า จำเลยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยด้านค่าทดแทนเดิมได้ แม้มีการแก้ไขราคาเพิ่มแล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเงินค่าทดแทนออกเป็น3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่งซึ่งการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับ คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลมีอำนาจตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งจะได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาทแต่ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาทซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ชำระเงินให้โจทก์ไปแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน318,500 บาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและแก้ไขค่าทดแทนได้ แม้มีคำวินิจฉัยของหน่วยงานอื่น
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบังคับใช้แก่กรณีพิพาทนี้แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดค่าทดแทนออก 3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจหน้าที่กำหนดเงินค่าทดแทนในเบื้องต้นระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีรักษาการและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับขั้นตอนดังกล่าวหากมีข้อบกพร่องในการกำหนดเงินค่าทดแทนจากการกระทำของคณะกรรมการในระดับแรก คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลก็จะมีโอกาสตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 บัญญัติไว้ ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนทั้งแปลง 70 ตารางวา คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ตารางวาละ 7,000 บาท รวมเป็นเงิน 490,000 บาท โจทก์ไม่พอใจได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์)และฟ้องคดีต่อศาลในเวลาต่อมา ระหว่างพิจารณาคดีของศาลได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ประกาศใช้บังคับ แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาท แต่จำเลยทั้งสองยังมิได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาท โดยในการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลได้หยิบยกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่44 มาวินิจฉัยแล้ว คำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน 318,500 บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนกำหนดให้โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการเบิกจ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อของพนักงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่1เช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม.จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่1ตามคำฟ้องนั่นเองหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน ธนาคารไม่ต้องรับผิดหากจ่ายเงินถูกต้องตามระเบียบ แม้ลายมือชื่อไม่ตรงกับเอกสาร
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของ ม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง จึงมิได้วินิจฉัยนอกคำฟ้อง โจทก์ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการส่งตั๋วแลกเงินมาแสดงโดยอ้างว่าทำหาย และยังได้ความต่อไปว่าหลังจากส่งตั๋วแลกเงินไปแล้ว โจทก์ทราบว่ามีผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินไปโดยใช้บัตรประจำตัวคนญวนอพยพของ ก. ที่หมดอายุเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บเงินและลายมือชื่อ ก.ที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินเป็นลายมือชื่อปลอม แต่โจทก์เพิ่งแจ้งความหลังจากทราบเหตุแล้วหลายวันซึ่งนับว่าเป็นข้อพิรุธอย่างยิ่ง ส่วนเรื่องการทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพนั้นการออกบัตรใหม่ให้ ทางสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลจะต้องเรียกบัตรเดิมคืน แสดงว่าถ้า ก.ยังไม่มารับบัตรใหม่ก็ยังไม่ต้องคืนบัตรเก่า จึงน่าเชื่อว่าบัตรเก่ายังคงอยู่ที่ ก.การที่ม. พนักงานรับเงินธนาคารจำเลยที่ 1 เบิกความยืนยันว่าก. กับพวกได้นำตั๋วแลกเงินมาเรียกเก็บเงินโดยนำบัตรประจำตัวที่เป็นบัตรเก่าหมดอายุแล้วมาแสดงจึงมีน้ำหนักน่าเชื่อ ส่วนเหตุที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินมีชื่อ ก. นั้น เมื่อได้พิเคราะห์ตั๋วแลกเงินกับบัตรประจำตัวของ ก. แล้วปรากฏว่ามีการลงรายการดังกล่าวที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินจริง และตรงกับข้อความในบัตรประจำตัวของ ก. ทุกประการลายมือชื่อของ ก.ที่ลงในตั๋วแลกเงินกับที่ลงในบัตรประจำตัวคนญวนอพยพของก. ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก พยานหลักฐานของจำเลยที่ 1จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินให้แก่ ก. โดยถูกต้องตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้อง: การวินิจฉัยความประมาทเลินเล่อของพนักงานภายในองค์กรยังคงอยู่ในกรอบคำฟ้องเดิม
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางเจ้าพนักงาน-อาวุธปืน: อำนาจตรวจค้น-จับกุมเมื่อพบพฤติการณ์น่าสงสัยและแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงาน
ก่อนเกิดเหตุสิบตำรวจเอก พ. พบเห็นจำเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมืออาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำผิด และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้าแม้สิบตำรวจเอกพ. ไม่มีหมายจับ แต่ได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยทราบแล้ว สิบตำรวจเอก พ.จึงมีอำนาจตรวจค้นและจับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1)(2),93การที่จำเลยใช้มือกดอาวุธปืนไม่ให้สิบตำรวจเอก พ.ดึงออกมาจากเอวจำเลยเพื่อยึดเป็นของกลาง จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง
of 70