พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9136/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งการของนายกเทศมนตรีเรื่องการถอนการสมัครรับเลือกตั้งสภาเทศบาล ต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเทศบาลโจทก์ถ้าสั่งไปตามข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ย่อมไม่ใช่การกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนที่ยุติธรรมเมื่อราคาที่ดินที่เหลือสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวง-เทศบาลฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืน ดังนั้น การดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36 วรรคสอง แม้ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตาม แต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา21 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าการงานหรือกิจการอย่างใด ที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน...และวรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหา-ริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21วรรคหนึ่ง ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสอง และวรรคสาม ใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้
การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ โดยมิได้มีการออกพ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.นี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา 21 เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง 40 เมตร คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน และพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้ และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน 20 เมตร เท่านั้นเป็นเนื้อที่ 212 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน 40 เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน 1 กิโลเมตร ตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 4 : 1 จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212 : 166.5 ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า 3 เท่าตัว และอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้น คงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แล้ว แม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้น จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 22 กันยายน 2535 ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่า ที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิม อันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ โดยมิได้มีการออกพ.ร.ฎ.และ พ.ร.บ.นี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา 21 เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดิน ที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง 40 เมตร คล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน และพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้ และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน 20 เมตร เท่านั้นเป็นเนื้อที่ 212 ตารางวา เป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน 40 เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน 1 กิโลเมตร ตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า 4 : 1 จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212 : 166.5 ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า 3 เท่าตัว และอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้น คงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย จึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แล้ว แม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯ คือวันที่ 1 มกราคม 2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้น จนถึงวันฟ้องคือวันที่ 22 กันยายน 2535 ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่า ที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิม อันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนเมื่อที่ดินส่วนที่เหลือมีราคาสูงขึ้นจากการเวนคืน
กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯยังไม่เสร็จสิ้นเพราะกรุงเทพมหานครจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ลงวันที่28พฤศจิกายนพ.ศ.2515(ฉบับที่2)พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสองและพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา36วรรคสองแม้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งขณะที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์นั้นยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวิธีการคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงออกใช้บังคับก็ตามแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสองบัญญัติว่าถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืนได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนและวรรคสามบัญญัติว่าถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยมาตรา21วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปตามด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์เมื่อปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียวในทางตรงกันข้ามหากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมส่วนมาตรา21วรรคสี่นั้นเป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา21วรรคหนึ่งเท่านั้นแม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา21วรรคสี่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา21วรรคสองและวรรคสามใช้ไม่ได้หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้วฝ่ายจำเลยและศาลย่อมนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับได้ การเวนคืนที่ดินรายพิพาทนี้เป็นกรณีที่มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯโดยมิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินี้มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่นกรณีจึงต้องตามมาตรา23แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนต้องอนุโลมตามมาตรา21เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้มีถนนผ่ากลางที่ดินที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสองข้างกลายเป็นที่ดินติดถนนใหญ่กว้าง40เมตรคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่โดยสภาพดังกล่าวย่อมเห็นประจักษ์ว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์จะต้องมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอนและพอจะนำมาเทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ได้และจำเลยคำนวณราคาที่ดินที่สูงขึ้นเฉพาะส่วนที่ลึกจากริมถนนตัดใหม่ไม่เกิน20เมตรเท่านั้นเป็นเนื้อที่212ตารางวาเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากกว่าในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและนิติกรรมฯซึ่งกำหนดราคาในลักษณะนี้ไว้ไม่เกิน40เมตรอัตราส่วนของราคาประเมินที่ดินติดริมถนนเพชรบุรีกับราคาประเมินที่ดินติดถนนซอยสาธารณะลึกจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่เข้าไปไม่เกิน1กิโลเมตรตามบัญชีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้นมีอัตราส่วนไม่ต่ำกว่า4:1จำนวนเนื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ที่มีราคาสูงขึ้นมีมากกว่าจำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์คือ212:166.5ทั้งที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาประเมินต่อตารางวาสูงขึ้นจากเดิมมากกว่า3เท่าตัวและอัตราส่วนของราคาที่ดินดังกล่าวที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของแต่ละช่วงเวลาที่นำมาเปรียบเทียบข้างต้นคงมีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วยจึงเห็นได้ว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21แล้วแม้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการกำหนดเงินค่าทดแทนจะเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นวันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงเทศบาลฯคือวันที่1มกราคม2522หรือวันหนึ่งวันใดหลังจากนั้นจนถึงวันฟ้องคือวันที่22กันยายน2535ก็ตามผลก็จะปรากฏเหมือนกันว่าที่ดินที่เหลือจากการถูกเวนคืนของโจทก์มีราคาสูงขึ้นจากเดิมอันเนื่องจากการเวนคืนตัดถนนเกินกว่าจำนวนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เสมอโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7231/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถชนคนข้ามถนน ผู้ขับมีหน้าที่ต้องระมัดระวังและให้สิทธิคนเดินเท้า
จำเลยขับรถโดยสารมาติดสัญญาณจราจรไฟสีแดงหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเป็นคันแรกโดยจอดอยู่ช่องขวาสุดริมเกาะกลางถนนเพื่อเลี้ยวขวาไปทางท่าช้าง เวลาเดียวกันส.และผู้ตายกำลังจะข้ามถนนเมื่อส. และผู้ตายก้าวลงจากทางเท้าข้ามถนนตรงทางข้ามนั้นเป็นจังหวะเดียวกับสัญญาณไฟจราจรซึ่งอยู่ข้างหน้าจำเลยเปลี่ยนเป็นไฟสีเขียว จำเลยจึงเร่ง ออกรถโดยไม่ทันดูว่าส. และผู้ตายกำลังข้ามถนนในทางข้ามอยู่ ถึงแม้จำเลยจะเลี้ยงขวาเมื่อสัญญาณจราจรไฟสีเขียว จำเลยก็จะต้องขับรถด้วยความระมัดระวังและต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้ามด้วยตามมาตรา 22(4) วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 จำเลยมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ส. ได้รับอัตราสาหัสและผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291,300 พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 22(4),43(4),152 และ 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ราคาตลาด, ดอกเบี้ย, และการปรับแก้คำพิพากษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534มาตรา 36 วรรคหนึ่ง เป็นบทกฎหมายที่กำหนดแนวทางว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้ก็โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะและในกรณีใดบ้าง และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายส่วนวรรคสองเพียงแต่วางหลักการกว้าง ๆ ว่าการกำหนดค่าทดแทนนั้นต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มาสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน ดังนั้นรายละเอียดของการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะซึ่งในขณะเกิดกรณีพิพาทคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 อันเป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณากำหนดค่าทดแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องคำนึงถึง (1) ถึง (5)ของมาตราดังกล่าวในวันที่ 22 เมษายน 2531 ซึ่งเป็นวันที่ใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประกอบเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2534 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ได้มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่าย ทั้งทางนำสืบ ของโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยวางเงิน ค่าทดแทนในวันใด แต่พออนุมานได้ว่าก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ทั้งสองไปทำคำเสนอขอรับเงินค่าทดแทนจึงให้ จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7056/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกใบกำกับภาษีปลอมโดยไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/13มิได้ระบุว่าจะต้องออกใบกำกับภาษีในนามของตนเองจึงจะมีความผิดดังนั้นการที่จำเลยซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนและมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้อื่นก็เป็นความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา86/13,90/4(3)ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญาจึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมเพียงกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา268 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ร่วมกันกระทำผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยจำเลยกับพวกร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกจำนวนถึง56ใบจำเลยให้การรับสารภาพแม้เจ้าพนักงานจะยึดใบกำกับภาษีปลอมได้จากจำเลยกับพวกในวันเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยกับพวกปลอมใบกำกับภาษีทั้งหมดพร้อมกันอันจะเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย การแบ่งแยกที่ดินไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา
ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 160959 เฉพาะส่วนจำนวน 20 ตารางวา ซึ่งขณะนี้จำเลยได้ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดอยู่พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2535 ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเอง การที่โจทก์นำสืบว่าตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วจึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อจะขาย และไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การโอนกรรมสิทธิ์หลังแบ่งแยกที่ดินไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา
ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยจะขายที่ดินโฉนดเลขที่160959เฉพาะส่วนจำนวน20ตารางวาซึ่งขณะนี้จำเลยได้ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดอยู่พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ณวันที่26สิงหาคม2535ดังนั้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเองการที่โจทก์นำสืบว่าตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วจึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรชำระหนี้: ชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ประธานได้ทั้งหมด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 329 ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อน เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อน จึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6779/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรชำระหนี้: หนี้อุปกรณ์ต้องชำระก่อนหนี้ประธานเมื่อชำระไม่ครบ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา329ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้รายเดียวแต่ว่ามีทั้งหนี้ประธานและหนี้อุปกรณ์เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดจะต้องจัดสรรชำระหนี้อุปกรณ์ก่อนเมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลและใบเสร็จรับเงินมิได้ระบุให้จัดใช้เป็นการชำระหนี้ต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนจึงต้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวจัดใช้หนี้ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน