คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์เช็คเดินทาง-เอาเอกสารผู้อื่นไปเสีย: การกระทำผิดฐานลักทรัพย์และทำให้เสียประโยชน์จากการใช้เอกสาร
ผู้เสียหายและล.พี่สาวมีอาชีพให้เช่าเช็คเดินทางเพื่อให้ผู้เช่านำไปเป็นหลักฐานของวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่น ส่วนจำเลยและบ.มีอาชีพติดต่อขอวีซ่าให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ในการให้เช่าเช็คเดินทางเพื่อนำไปเป็นหลักฐานขอวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นนั้นผู้เสียหายและล.จะซื้อเช็คเดินทางจากธนาคารโดยไม่ลงลายมือชื่อที่ข้างบนและข้างล่างด้านหน้าของเช็คเดินทางเมื่อมีผู้ขอเช่าผู้เสียหายจะให้ผู้เช่าลงลายมือชื่อที่ข้างบนด้านหน้าเช็คเดินทางแล้วมอบเช็คเดินทางดังกล่าวให้ผู้เช่านำไปเป็นหลักฐานขอวีซ่าเมื่อเจ้าหน้าที่สถานทูตออกวีซ่าให้แก่ผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะลงลายมือชื่อที่ข้างล่างด้านหน้าเช็คเดินทางแล้วส่งคืนให้แก่ผู้เสียหายดังนี้พฤติการณ์ที่จำเลยกับบ. เข้ามาพูดทำทีขอเช่าเช็คเดินทางจากผู้เสียหายและล. ก่อนที่จำเลยจะดึงเอาเช็คเดินทางจากมือผู้เสียหายไปการที่จำเลยพูดห้ามมิให้ผู้เสียหายและล.วิ่งตามบ. ขึ้นไปที่อาคารขึ้น4อันเป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและบอกว่าจะชำระค่าเช่าให้แก่ผู้เสียหายตลอดทั้งจะคืนเช็คเดินทางให้ผู้เสียหายเป็นเพียงอุบายที่จำเลยกับบ.จะให้ผู้เสียหายส่งมอบการครอบครองเช็คเดินทางของผู้เสียหายเพื่อจำเลยและบ. จะเอาเช็คเดินทางของผู้เสียหายไปโดยไม่คิดจะคืนให้ผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์และการที่จำเลยกับพวกเอาเอกสารเช็คเดินทางของผู้เสียหายไปแล้วไม่คืนให้แก่ผู้เสียหายแม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารการกระทำของจำเลยก็เป็นเหตุให้ผู้เสียหายไม่สามารถนำเอกสารดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายจึงเป็นการเอาเอกสารผู้อื่นไปเสียจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา188ด้วย การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขึ้นตอนกันในคดีอาญาเมื่อการสอบสวนได้ดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วถึงแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าการจับกุมอาจมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกต่างหากหาทำให้การสอบสวนซึ่งชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นกระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์เอกสาร (เช็คเดินทาง) และความผิดฐานเอาเอกสารผู้อื่นไปเสีย
ผู้เสียหายและ ล.พี่สาวมีอาชีพให้เช่าเช็คเดินทางเพื่อให้ผู้เช่านำไปเป็นหลักฐานขอวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่น ส่วนจำเลยและ บ.มีอาชีพติดต่อขอวีซ่าให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ในการให้เช่าเช็คเดินทางเพื่อนำไปเป็นหลักฐานขอวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นนั้นผู้เสียหายและ ล.จะซื้อเช็คเดินทางจากธนาคารโดยไม่ลงลายมือชื่อที่ข้างบนและข้างล่างด้านหน้าของเช็คเดินทาง เมื่อมีผู้ขอเช่าผู้เสียหายจะให้ผู้เช่าลงลายมือชื่อที่ข้างบนด้านหน้าเช็คเดินทางแล้วมอบเช็คเดินทางดังกล่าวให้ผู้เช่านำไปเป็นหลักฐานขอวีซ่า เมื่อเจ้าหน้าที่สถานทูตออกวีซ่าให้แก่ผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าจะลงลายมือชื่อที่ข้างล่างด้านหน้าเช็คเดินทางแล้วส่งคืนให้แก่ผู้เสียหาย ดังนี้พฤติการณ์ที่จำเลยกับ บ.เข้ามาพูดทำทีขอเช่าเช็คเดินทางจากผู้เสียหายและ ล.ก่อนที่จำเลยจะดึงเอาเช็คเดินทางจากมือผู้เสียหายไป การที่จำเลยพูดห้ามมิให้ผู้เสียหายและ ล.วิ่งตาม บ.ขึ้นไปที่อาคารชั้น 4 อันเป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น และบอกว่าจะชำระค่าเช่าให้แก่ผู้เสียหายตลอดทั้งจะคืนเช็คเดินทางให้ผู้เสียหายเป็นเพียงอุบายที่จำเลยกับ บ.จะให้ผู้เสียหายส่งมอบการครอบครองเช็คเดินทางของผู้เสียหายเพื่อจำเลยและ บ.จะเอาเช็คเดินทางของผู้เสียหายไปโดยไม่คิดจะคืนให้ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์และการที่จำเลยกับพวกเอาเอกสารเช็คเดินทางของผู้เสียหายไปแล้วไม่คืนให้แก่ผู้เสียหาย แม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้นำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร การกระทำของจำเลยก็เป็นเหตุให้ผู้เสียหายไม่สามารถนำเอกสารดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย จึงเป็นการเอาเอกสารผู้อื่นไปเสีย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 188 ด้วย
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกันในคดีอาญา เมื่อการสอบสวนได้ดำเนินการไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าการจับกุมอาจมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกต่างหาก หาทำให้การสอบสวนซึ่งชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นกระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดช่วยผู้ต้องหาหลบหนี: การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจที่ช่วยเหลือผู้ต้องหาความผิดเกี่ยวกับป่าไม้
จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปแล้วถูกนายดาบตำรวจก. กับพวกยึดรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปไม่ยอมให้ขับออกไปจำเลยที่2ได้มาพูดกับนายดาบตำรวจก. กับพวกเป็นทำนองให้ปล่อยรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปและจำเลยที่1เมื่อนายดาบตำรวจก.กับพวกไม่ยอมต่อมาจำเลยที่2ก็พาจำเลยที่1ขึ้นรถยนต์ขับหนีไปแสดงว่าจำเลยที่2รู้แล้วว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและมีจำเลยที่1เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดอันมิใช่ความผิดลหุโทษจำเลยที่2จึงต้องมีความผิดฐานช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดหรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดอันมิใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องโทษหรือไม่ให้ถูกจับกุมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา189

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานช่วยเหลือผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาหลบหนี
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปแล้วถูกนายดาบตำรวจก. กับพวก ยึดรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปไม่ยอมให้ขับออกไป จำเลยที่ 2 ได้มาพูดกับนายดาบตำรวจ ก. กับพวกเป็นทำนองให้ปล่อยรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปและจำเลยที่ 1 เมื่อนายดาบตำรวจ ก. กับพวกไม่ยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 ก็พาจำเลยที่ 1 ขึ้นรถยนต์ขับหนีไปแสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้แล้วว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษจำเลยที่ 2 จึงต้องมีความผิดฐานช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องโทษ หรือไม่ให้ถูกจับกุมตาม ป.อ.มาตรา 189

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระราคาครบถ้วนภายในกำหนด และหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาท รวมเป็นเงิน160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน5,000 บาท จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาท ภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาท โดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปีที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปี ตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนเวลาชำระหนี้ในสัญญาจะซื้อขาย และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงโดยการนำสืบพยานเพิ่มเติม
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาทรวมเป็นเงิน 160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน 5,000 บาท ผู้จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาทภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาทโดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปี ที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1 ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2 ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ นอกจากจำเลยจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้ว ยังจะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ดังนั้นแม้จำเลยจะได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องรับผิดแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลแล้วพร้อมกับการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว และจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามบทบัญญติดังกล่าว และจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ อันเป็นการทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา หรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นอกจากจำเลยจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้วยังจะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234ดังนั้นแม้จำเลยจะได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องรับผิดแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลแล้วพร้อมกับการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวและจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวและจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยชอบแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)ประกอบมาตรา246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4428/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 4 ปีเศษ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถึงขั้นพยายามข่มขืนกระทำชำเรา
จำเลยมิได้เอาอวัยวะเพศของจำเลยดันที่ปากช่องคลอดของผู้เสียหายเพื่อสอดใส่เข้าไปเพราะถ้าจำเลยเอาอวัยวะเพศของจำเลยดันที่ปากช่องคลอดของผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุเพียง4ปีเศษช่องคลอดของผู้เสียหายจะต้องฉีกขาดหรือช้ำบวมมากจำเลยเพียงใช้อวัยวะเพศของจำเลยถูไถบริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหายทำให้เกิดรอยช้ำแดงที่บริเวณด้านนอกของปากช่องคลอดและไม่มีรอยถลอกจำเลยไม่มีเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายคงมีเจตนาเพียงกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา279วรรคสองเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277วรรคสอง,80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4428/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารเด็กโดยไม่สอดใส่ ช่องคลอดไม่ฉีกขาด ไม่ถึงขั้นข่มขืน
จำเลยมิได้เอาอวัยวะเพศของจำเลยดันที่ปากช่องคลอดของผู้เสียหายเพื่อสอดใส่เข้าไป เพราะถ้าจำเลยเอาอวัยวะเพศของจำเลยดันที่ปากช่องคลอดของผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุเพียง 4 ปีเศษ ช่องคลอดของผู้เสียหายจะต้องฉีกขาดหรือช้ำบวมมาก จำเลยเพียงใช้อวัยวะเพศของจำเลยถูไถบริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ทำให้เกิดรอยช้ำแดงที่บริเวณด้านนอกของปากช่องคลอดและไม่มีรอยถลอก จำเลยไม่มีเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย คงมีเจตนาเพียงกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายโดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้และเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคสอง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 277วรรคสอง, 80
of 70