คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีตามมาตรา 71 กรณีผู้เสียภาษีไม่ยื่นรายการภายในกำหนด และการรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่ได้ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากรฯ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากรฯ การที่ลูกหนี้ที่ 1 ส่งมอบบัญชีและเอกสารต่าง ๆ มาให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่ทำให้การยื่นเอกสารรายการดังกล่าวกลับเป็นการยื่นภายในกำหนดเวลาได้ ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ทำการประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากรฯ จึงเป็นการกระทำที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้ไม่เป็นคู่ความ: กรณีบุคคลภายนอกคดีล้มละลายไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันนำยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งมีลูกหนี้ที่ 2 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์และจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ส. ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของตนขอให้ผู้คัดค้าน ถอนการยึด ผู้คัดค้านสอบสวน แล้วมีคำสั่งให้ถอนการยึด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำสั่งของ ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีโดยยื่นคำคัดค้านต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านโดยไม่ให้ถอนการยึด ผู้คัดค้านไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ แต่ ส. อุทธรณ์ คู่ความในคดีคือ ผู้ร้องและผู้คัดค้านเท่านั้น ส่วนส.เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่ใช่คู่ความที่ถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาในคดีเพื่ออุทธรณ์ และฎีกาในคดีนี้ได้ สิทธิของ ส. จะมีอย่างไรเป็นเรื่องที่ส.จะต้องไปดำเนินการอีกเรื่องหนึ่งส. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การยึดทรัพย์บังคับคดีไม่ใช่เหตุสะดุดอายุความ
++ เรื่อง ล้มละลาย
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 183 ++
++ มีหมายเหตุ : เอื้อน ขุนแก้ว
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลายหลังคำพิพากษาถึงที่สุด การยึดทรัพย์ไม่ทำให้อายุความสะดุด
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 และอายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา193/14 แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์นั้นเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดผลตามคำพิพากษามิใช่เป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(5)ฉะนั้นการที่โจทก์นำหนี้ที่เหลือมาฟ้องให้จำเลยทั้งสามล้มละลายเมื่อพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นภายหลัง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย)มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้(จำเลย)นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้(จำเลย)ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ปัญหาว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดก่อนแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย)ได้ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้ สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้หรือไม่ จะต้อง พิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้ง ดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมา หักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้คงค้าง ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องจะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 102 นั้น จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามบัญชีเงินฝากประจำคือเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใด แล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1ได้ ผู้ร้องไม่อาจนำดอกเบี้ยของเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: การโอนที่ดินโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่เข้าข่ายการเพิกถอน
พฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่า การโอนขายที่ดินพิพาทเกิดจากการสมยอมระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 พยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งสามน่าเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 1รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้จำเลยที่ 2 จะโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ก่อนจะถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลายประมาณ 2 เดือนก็ตามผู้ร้องหาอาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 ได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้โดยชอบ แม้การโอนจะได้กระทำขึ้นภายหลังมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพความรับผิดขาดอายุความเมื่อยื่นขอรับชำระหนี้เกิน 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้รับสภาพ
หนี้ตามหนังสือรับสภาพความรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35ปรากฏว่าลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพความรับผิดในวันที่ 5 สิงหาคม 2536แต่เจ้าหนี้รายที่ 6 ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งวันที่ 31 มกราคม 2539 ต่อมาได้ถอนฟ้องและนำหนี้มายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ การที่เจ้าหนี้รายที่ 6 ฟ้องคดีดังกล่าวแล้วถอนฟ้องไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อเจ้าหนี้รายที่ 6 ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 13 มิถุนายน 2539 จึงเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิด หนี้รายนี้จึงขาดอายุความไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)
of 70