คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินจากบัญชีผู้อื่นโดยทุจริต แม้เงินเข้าผิดพลาด แต่จำเลยรู้และเบิกจ่ายเอง
เจ้าหน้าที่ของธนาคารผู้เสียหายได้นำเงินฝากจำนวน60,000บาทของลูกค้ารายอื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดย ผิดพลาด ปรากฏว่าจำเลยประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งเป็นกิจการเล็กๆมีเงินทุนหมุนเวียนเข้าออกบัญชีจำนวนเล็กน้อยสามารถตรวจสอบและรู้ถึงการนำเงินเข้าออกบัญชีได้โดยง่ายจึงฟังได้ว่าจำเลยรู้ว่ามีการนำเงินของผู้อื่นเข้าบัญชีของจำเลยโดยผิดพลาดการที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลยเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไป โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา352วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังเงินที่เข้าบัญชีโดยผิดพลาดด้วยเจตนาทุจริต มีความผิดฐานยักยอก
เจ้าหน้าที่ของธนาคารผู้เสียหายได้นำเงินฝากจำนวน 60,000 บาท ของลูกค้ารายอื่นเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยโดยผิดพลาดและจำเลยรู้แล้ว การที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินดังกล่าวออกไปจากบัญชีของจำเลยเป็นการเบียดบังเอาเงินนั้นไปโดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 252 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงและการโอนสิทธิเช่าหลังเลิกบริษัท: สิทธิของผู้ให้เช่าช่วงและผู้รับโอน
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้ว แต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่จะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และ อ.ได้
แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับ ด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่า ด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดี กำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดี หรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของ ด.ก็ตาม ล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.ทั้งสิ้น คู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้ เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้น หาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ม.และ อ. ข้อ 6 และ ข้อ 7 แล้ว จะเห็นได้ว่าในข้อ 7 นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้ แต่ในข้อ 6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่น จะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ 2,000 บาท ดังนั้น ในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรง แต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่ สัญญาระหว่างโจทก์กับ ด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่า โจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับ ม.และ อ.อยู่ ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่า การโอนสิทธิการเช่าให้ ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.เป็นบุตรและผู้จัดการ-มรดกของ ด.ผู้เช่าช่วง เมื่อ ด.ถึงแก่กรรมไป โจทก์และ ม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับ ด.ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.เลิกกันไปเพราะความตายของ ด.แล้ว โจทก์ยินยอมให้ ม.สืบสิทธิของ ด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของ ม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตาม ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ 1259 (2)(3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการเป็นนิติบุคคลหลังเลิกบริษัท สิทธิในการเช่าช่วง และการโอนสิทธิการเช่าเพื่อชำระบัญชี
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้วแต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่ว่าจะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชีโจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และอ. ได้ แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่าด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดีกำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดีหรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของด.ก็ตามล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด.ทั้งสิ้นคู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้นหาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับม.และอ. ข้อ6และข้อ7แล้วจะเห็นได้ว่าในข้อ7นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้แต่ในข้อ6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่นจะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ2,000บาทดังนั้นในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงแต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่าโจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับม. และอ. อยู่ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่าการโอนสิทธิการเช่าให้ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไรแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม.เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของด.ผู้เช่าช่วงเมื่อด.ถึงแก่กรรมไปโจทก์และม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับด.ต่อไปไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด. เลิกกันไปเพราะความตายของด.แล้วโจทก์ยินยอมให้ม.สืบสิทธิของด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตามผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1250และ1259(2)(3)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมสมาคมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่: ผลของข้อบังคับสมาคมและการไม่ร้องขอเพิกถอนมติภายในกำหนด
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่อ้างว่าไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสมาคมนั้นเมื่อปรากฎว่าขณะเกิดเหตุประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ23ว่าด้วยสมาคมยังใช้บังคับอยู่จึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ อ. ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมโดยมิได้เป็นสมาชิกสามัญของผู้คัดค้านซึ่งขัดต่อข้อบังคับของผู้คัดค้านหมวดที่6ข้อ30แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีสมาชิกคนหนึ่งคนใดของผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291มติที่ประชุมใหญ่ที่อ. เป็นประธานที่ประชุมจึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมสมาคมที่ขัดกับข้อบังคับและกฎหมาย ต้องมีการร้องขอต่อศาลภายในกำหนดจึงจะเพิกถอนได้
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหม่อ้างว่าไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสมาคมนั้นเมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ23ว่าด้วยสมาคมยังใช้บังคับอยู่จึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ อ. ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมโดยมิได้เป็นสมาชิกสามัญของผู้คัดค้านซึ่งขัดต่อข้อบังคับของผู้คัดค้านหมวดที่6ข้อ30แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีสมาชิกคนหนึ่งคนใดของผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291มติที่ประชุมใหม่ที่อ. เป็นประธานที่ประชุมจึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมสมาคมที่ขัดข้อบังคับต้องได้รับการเพิกถอนโดยสมาชิกหรืออัยการภายในกำหนดเวลา หากไม่ดำเนินการ มติย่อมมีผลใช้บังคับ
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหม่อ้างว่าไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสมาคมนั้น เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 23ว่าด้วยสมาคมยังใช้บังคับอยู่ จึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1291 ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ อ. ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมโดยมิได้เป็นสมาชิกสามัญของผู้คัดค้าน ซึ่งขัดต่อข้อบังคับของผู้คัดค้านหมวดที่ 6 ข้อ 30 แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีสมาชิกคนหนึ่งคนใดของผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1291 มติที่ประชุมใหม่ที่ อ. เป็นประธานที่ประชุมจึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของมติที่ประชุมใหญ่สมาคมที่ประธานไม่เป็นสมาชิก และการดำเนินการตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนั้น
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ อ้างว่าไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสมาคมนั้น เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุ ป.พ.พ. ลักษณะ 23ว่าด้วยสมาคมยังใช้บังคับอยู่ จึงต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1291 ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ
อ. ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมโดยมิได้เป็นสมาชิกสามัญของผู้คัดค้าน ซึ่งขัดต่อข้อบังคับของผู้คัดค้านหมวดที่ 6 ข้อ 30 แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีสมาชิกคนหนึ่งคนใดของผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1291 มติที่ประชุมใหญ่ที่ อ. เป็นประธานที่ประชุม จึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนิติบุคคลต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อตกลงร่วม
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์ประกอบเอกสารท้ายฟ้องทุกฉบับแล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในสังกัดของจำเลยทั้งสาม ฟ้องโจทก์ได้บรรยายฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกฝ่ายโดยแจ้งชัดตามความแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรมในรัฐบาลต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปตามหน้าที่ จึงไม่เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246
การออกไปตรวจสอบพิสูจน์ที่ดินพิพาทในเขตป่าไม้ของ ค. พ.และ ส. ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยทั้งสามตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเกี่ยวกับเขตป่าไม้ พ.ศ.2524เพื่อตรวจสอบพิสูจน์ว่าที่ดินสมควรออก น.ส.3 ก.ให้ได้หรือไม่ หาใช่เป็นการกระทำในนามของนายอำเภอหรือในนามส่วนตัวไม่ เมื่อบุคคลทั้งสามปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามในฐานะที่เป็นนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวรับราชการอยู่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์ประกอบเอกสารท้ายฟ้องทุกฉบับแล้วเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในสังกัดของจำเลยทั้งสามฟ้องโจทก์ได้บรรยายฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกฝ่ายโดยแจ้งชัดตามความแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรมในรัฐบาลต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปตามหน้าที่จึงไม่เป็นการพิพากษานอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบมาตรา246 การออกไปตรวจสอบพิสูจน์ที่ดินพิพาทในเขตป่าไม้ของค.พ. และส. ล้วนแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยทั้งสามตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมที่ดินกับกรมป่าไม้ว่าด้วยการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเกี่ยวกับเขตป่าไม้พ.ศ.2524เพื่อตรวจสอบพิสูจน์ว่าที่ดินสมควรออกน.ส.3ก.ให้ได้หรือไม่หาใช่เป็นการกระทำในนามของนายอำเภอหรือในนามส่วนตัวไม่เมื่อบุคคลทั้งสามปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามในฐานะที่เป็นนิติบุคคลที่บุคคลดังกล่าวรับราชการอยู่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76เดิม
of 70