คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต - การนับกรรมความผิดจากการอนุมัติเบิกเกินบัญชี
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจ แม้จะได้ความว่า หลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัท ส.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อไว้เท่านั้น หาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไปไม่ เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้ว โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่
จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกัน แต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียว ดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่ง เมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัท ส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่ง จำเลยอนุมัติทั้งหมด 144 วัน จึงเป็นความผิด 144 กรรม มิใช่เป็นความผิด 338 กรรม ตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานเบิกเงินเกินบัญชี การแบ่งกรรมและความรับผิดชอบ
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตโดยจำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยจำเลยไม่มีอำนาจแม้จะได้ความว่าหลังจากจำเลยลาออกจากโจทก์แล้วต่อมาโจทก์ได้ยอมรับการชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่บริษัทส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์ก็ตามก็เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนผันให้บริษัทดังกล่าวชำระหนี้ที่ก่อนไว้เท่านั้นหาเป็นการสละหรือยอมให้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีนั้นระงับไม่เมื่อจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตต่อโจทก์อันเป็นความผิดแล้วโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่คำนึงถึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายหรือไม่ จำเลยอนุมัติให้บริษัทส. เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่มีอำนาจหลายวันด้วยกันแต่ในแต่ละวันจำเลยจะอนุมัติเพียงครั้งเดียวดังนี้แม้จำเลยจะมีเจตนาอย่างเดียวกันในอันที่จะให้บริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ชอบเจตนาเช่นนั้นก็มีได้เฉพาะในวันหนึ่งวันหนึ่งเมื่อสิ้นวันแล้วจำเลยมีเจตนาเช่นนั้นอีกก็เป็นการกระทำอีกวันหนึ่งซึ่งเป็นการกระทำต่างหากจากวันที่ล่วงมาเป็นอีกกรรมหนึ่งดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติให้บริษัทส.เบิกเงินเกินบัญชีไปวันหนึ่งเป็นการกระทำกรรมหนึ่งจำเลยอนุมัติทั้งหมด144วันจึงเป็นความผิด144กรรมมิใช่เป็นความผิด338กรรมตามที่จำเลยอนุมัติเช็คและใบหักหนี้แต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้องตามหนังสือมอบอำนาจ: รวมถึงจำเลยร่วมที่อาจถูกเรียกเข้ามาในภายหลัง
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3รวมตลอดถึงผู้อื่นที่อาจขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังถ้าหากมีด้วยหมายความว่านอกจากโจทก์มอบอำนาจให้ ธ.ฟ้องจำเลยที่1ถึงที่3แล้วยังมอบอำนาจให้ฟ้องบุคคลอื่นที่อาจเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังได้ด้วยดังนั้น ธ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่4ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตหนังสือมอบอำนาจ: อำนาจฟ้องจำเลยเพิ่มเติม
หนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รวมตลอดถึงผู้อื่นที่อาจขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังถ้าหากมีด้วย หมายความว่านอกจากโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้วยังมอบอำนาจให้ฟ้องบุคคลอื่นที่อาจเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังได้ด้วย ดังนั้น ธ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางประกันภัยจากการประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถเช่าซื้อ และข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมีสิทธิที่จะเอาประกันภัยความเสียหายอันอาจเกิดแก่รถยนต์โดยสารที่เช่าซื้อมาเมื่อป. ลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ขับรถยนต์เพื่อหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างโจทก์กับข. และป. ขับรถที่จำเลยรับประกันไว้ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกโจทก์และข. จึงต้องร่วมกันรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่ป. ได้ก่อขึ้นและต้องถือว่าวินาศภัยที่เกิดขึ้นนี้โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบด้วยซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ผู้เอาประกันภัยเมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกไปจึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยเว้นแต่จำเลยมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นเป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นแต่กรณีนี้เป็นฝ่ายต้องรับผิดจำเลยจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาปัดความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เช่าซื้อรถมีสิทธิทำประกันภัย และผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในค่าเสียหายที่เกิดจากความประมาทของผู้ขับ
โจทก์ผู้เช่าซื้อรถโดยสารเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถที่เช่าซื้อมีสิทธิเอาประกันภัยความเสียหายอันอาจเกิดแก่รถนั้นได้เมื่อโจทก์นำรถนั้นไปร่วมรับส่งคนโดยสารกับบริษัท ขนส่ง จำกัดเพื่อหาประโยชน์ร่วมกันแล้วไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกโดยประมาทเลินเล่อโจทก์และบริษัท ขนส่ง จำกัดจึงต้องร่วมกันรับผิดโดยจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในนามของโจทก์เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายไปแล้วจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้เงินดังกล่าวแก่โจทก์ส่วนเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยเป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้นจำเลยจะยกเอาเงื่อนไขนี้มาปัดความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่รับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุที่ลูกจ้างก่อขึ้น และจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาประกัน
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุ มีสิทธิที่จะเอาประกันภัยความเสียหายอันอาจเกิดแก่รถยนต์โดยสารที่เช่าซื้อมา เมื่อ ป.ลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ขับรถยนต์เพื่อหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ข.และ ป.ขับรถที่จำเลยรับประกันไว้ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก โจทก์และ ข.จึงต้องร่วมกันรับผิดในความประมาทเลินเล่อที่ ป.ได้ก่อขึ้น และต้องถือว่าวินาศภัยที่เกิดขึ้นนี้โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบด้วย ซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ผู้เอาประกันภัย เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกไป จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนรับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย เว้นแต่จำเลยมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น เป็นข้อตกลงเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นฝ่ายต้องรับผิด จำเลยจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาปัดความรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และผลของประกาศ คสช. ต่อการฟ้องคดีที่เสร็จเด็ดขาดแล้ว
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีหน้าที่ที่จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ คือภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2532 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วันดังกล่าวคือภายในวันที่28 กรกฎาคม 2533 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ แม้ต่อมาจะมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ข้อ 2 ให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 แต่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 2 หามีผลบังคับให้เป็นคุณแก่โจทก์ไม่ เพราะประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5กำหนดให้การเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 10 ทวิ มีผลใช้บังคับแก่การฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยเท่านั้น แต่การฟ้องคดีของโจทก์ได้เสร็จเด็ดขาดแล้วในปี 2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืนและผลของประกาศ คสช. ที่ไม่มีผลย้อนหลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา25วรรคสองและโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตามมาตรา26วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยล่วงเลยกำหนดนั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องและประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ2ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแก้ไขค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้เมื่อเห็นว่าราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนสูงขึ้นและราคาที่จ่ายให้ผู้ถูกเวนคืนไปแล้วหรือราคาเบื้องต้นที่กำหนดและประกาศไปแล้วไม่เป็นธรรมก็หามีผลบังคับให้เป็นคุณแก่โจทก์ไม่เพราะการฟ้องคดีของโจทก์ได้เสร็จเด็ดขาดไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน: นับจากวันพ้น 60 วันหลังอุทธรณ์ แม้แจ้งรับเงินค่าทดแทนแล้ว
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ตามมาตรา 25 วรรคสอง ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจ ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี กรณีหนึ่ง และในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสองผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังกล่าวอีกกรณีหนึ่ง กรณีของโจทก์เป็นกรณีหลังคือกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีคือภายในวันที่ 15 เมษายน 2534 แม้โจทก์ได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเพิ่มตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24ธันวาคม 2533 ก็ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีหนึ่งปีเริ่มนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ดังนั้น เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 24 ธันวาคม 2534จึงพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปี โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้
of 70