พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีข่มขืนฆ่า: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง ยืนตามศาลชั้นต้น
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดมาเบิกความต่อศาลจึงไม่มีน้ำหนักพอฟังลงโทษจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367-368/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและผลกระทบต่อที่ดินที่เหลือ
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ. 2530 ที่กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนที่ดินของโจทก์ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อ 22 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ลงวันที่27 พฤศจิกายน 2515 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 ประกอบกับมาตรา 5วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 9วรรคสี่ ประกอบมาตรา 21(2) หรือ (3) แต่ต่อมาหลังจากมีการฟ้องคดีแล้ว ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ข้อ 1 ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และบัญญัติความใหม่แทนว่า "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21มาตรา 22 และมาตรา 24" ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่29 กุมภาพันธ์ 2534 โดยข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศดังกล่าวบัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่ และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์ หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย" ดังนั้น เมื่อคดีของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงถือว่ากรณีของโจทก์นี้เป็นการเวนคืนซึ่งการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดตามความหมายของข้อ 5 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศดังกล่าว การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 1 โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 และมาตรา24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยถือเกณฑ์ตามมาตรา 9 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยถือตามราคาตามมาตรา 21(2)หรือ (3) แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์จึงไม่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แม้จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไป รัฐก็มีหน้าที่ชดใช้ค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย เมื่อการเวนคืนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ที่ 3 ที่เหลือมีอาณาเขตไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่ลดลงเพราะการเวนคืนของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคสาม แต่ขณะที่มีการเวนคืนที่ดินของโจทก์ที่ 3 ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคำนวณราคาที่ดินที่ลดลงออกมาใช้บังคับตามมาตรา 21 วรรคสี่ แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนพ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 ก็ตามแต่ตามมาตรา 5 ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ดังนั้นพระราชกฤษฎีกานี้จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับกับคดีนี้ได้จึงต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ 3 ส่วนที่เหลือที่ราคาลดลงโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่งโดยอนุโลม ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อการเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน 29 ตารางวา ของโจทก์ที่ 3 ถูกตัดขาดจากที่ดินเดิมจนไม่มีถนนเข้าที่ดินซึ่งเห็นได้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวย่อมมีราคาลดลงโดยสภาพ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์ที่ 3 รวมเป็นเงิน 144,440 บาทนั้นจึงเหมาะสมแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องจ่ายเงินจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367-368/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อที่ดินที่เหลือ
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ด พ.ศ.2530ที่กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนที่ดินของโจทก์ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา159ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและข้อ22แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ลงวันที่27พฤศจิกายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ลงวันที่27พฤศจิกายนพ.ศ.2515พ.ศ.2530ประกอบกับมาตรา5วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2531ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา9วรรคสี่ประกอบมาตรา21(2)หรือ(3)แต่ต่อมาหลังจากมีการฟ้องคดีแล้วระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ข้อ1ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และบัญญัติความใหม่แทนว่า"ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24"ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่29กุมภาพันธ์2534โดยข้อ5วรรคหนึ่งแห่งประกาศดังกล่าวบัญญัติว่า"บทบัญญัติมาตรา9วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้นการจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย"ดังนั้นเมื่อคดีของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงถือว่ากรณีของโจทก์นี้เป็นการเวนคืนซึ่งการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดตามความหมายของข้อ5วรรคหนึ่งแห่งประกาศดังกล่าวการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำเลยทั้งสองจึงต้องกำหนดราคาเบื้องต้นตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ1โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา18มาตรา21มาตรา22และมาตรา24แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์โดยถือเกณฑ์ตามมาตรา9วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ที่ถูกยกเลิกไปแล้วโดยถือตามราคาตามมาตรา21(2)หรือ(3)แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์จึงไม่ถูกต้องและเป็นธรรมแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แม้จะกระทำเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนทั่วไปรัฐก็มีหน้าที่ชดใช้ค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมด้วย เมื่อการเวนคืนเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ที่3ที่เหลือมีอาณาเขตไม่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันโจทก์ที่3จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนสำหรับราคาที่ดินที่ลดลงเพราะการเวนคืนของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคสามแต่ขณะที่มีการเวนคืนที่ดินของโจทก์ที่3ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคำนวณราคาที่ดินที่ลดลงออกมาใช้บังคับตามมาตรา21วรรคสี่แม้ว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนพ.ศ.2537เมื่อวันที่25มกราคม2537ก็ตามแต่ตามมาตรา5ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่าหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาตามพระราชกฤษฎีกานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนหรือพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับดังนั้นพระราชกฤษฎีกานี้จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับกับคดีนี้ได้จึงต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ที่3ส่วนที่เหลือที่ราคาลดลงโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งโดยอนุโลมในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งเมื่อการเวนคืนทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือจำนวน29ตารางวาของโจทก์ที่3ถูกตัดขาดจากที่ดินเดิมจนไม่มีถนนเข้าที่ดินซึ่งเห็นได้ว่าที่ดินส่วนที่เหลือดังกล่าวย่อมมีราคาลดลงโดยสภาพที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนส่วนนี้ให้โจทก์ที่3รวมเป็นเงิน144,440บาทนั้นจึงเหมาะสมแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องจ่ายเงินจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสามแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ฟืน: การส่งมอบไม่ได้เนื่องจากเหตุสุดวิสัย และสิทธิในการขอเงินมัดจำคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบไม้ฟืนที่ซื้อขายกันตามสัญญาขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ยจำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยได้ส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์แล้วทั้งหมดหรือบางส่วนเพียงแต่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาซื้อขายไม้ฟืนกับโจทก์จึงรับฟังได้ว่าจำเลยไม่เคยส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์เลยแต่เมื่อเป็นเพราะมีคำสั่งกระทรวงเกษตรฯให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลงการชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ซึ่งเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตอบแทนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัย โจทก์มีสิทธิเรียกคืนมัดจำ
จำเลยทำสัญญาขายไม้ฟืนที่ตัดจากพื้นที่ที่จำเลยได้รับสัมปทานทำไม้ส่งมอบให้โจทก์โดยโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยต่อมามีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลง ทำให้การส่งไม้ฟืนเป็นไปไม่ได้ การชำระหนี้จึงตกเป็น พ้นวิสัยเพราะเหตุอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้และสัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3 ที่ดินร่วม การเพิกถอนเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินโจทก์ ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกเพิกถอนโดยตรง
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายออกให้แก่จำเลยที่1โดยไม่ชอบเพราะที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสามกับ พ. และ อ.ซึ่งได้แบ่งการครอบครองและทำประโยชน์เป็นส่วนสัดแล้วและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะส่วนซึ่งโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั้นบังคับคดีให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้งหมดตามรูปแผนที่ของโจทก์ทั้งสามหาก อ. จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนก็ต้องว่ากล่าวเป็นคดีใหม่ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนครั้งนี้จำเลยที่1จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้จัดการแก้ไขให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายและการแบ่งความรับผิด
เมื่อขับรถในเวลากลางคืน ผู้ขับรถต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11, 15 กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกของจำเลยที่ 1 บรรทุกรถแทรกเตอร์ซึ่งมีใบมีดจานไถยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกโดยมิได้ติดไฟสัญญาณไว้ที่ปลายใบมีดจานไถทั้งสองข้าง เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบกอันเป็นกฎหมายที่มีประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 422 นอกจากนี้บริเวณจุดชนอยู่ในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศ ที่จำเลยที่ 4 ขับส่วนทางมา จึงฟังได้ว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 4 ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูง เมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกล จำเลยที่ 4 จะต้องเพิ่มความระมัด-ระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลง แต่จำเลยที่ 4 ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่ 2 ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต่างฝ่ายต่างทำละเมิด แต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่ 2 รับผิด 2 ส่วน ส่วนจำเลยที่ 4 รับผิด1 ส่วน นับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
จำเลยที่ 4 ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูง เมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกล จำเลยที่ 4 จะต้องเพิ่มความระมัด-ระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลง แต่จำเลยที่ 4 ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่ 2 ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ต่างฝ่ายต่างทำละเมิด แต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์ แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่ 2 รับผิด 2 ส่วน ส่วนจำเลยที่ 4 รับผิด1 ส่วน นับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดร่วมกันของผู้ขับขี่และผู้ประกอบการ การแบ่งความรับผิดตามสัดส่วน
การที่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถแทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกจำเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจแต่จำเลยที่2มิได้กระทำเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422 จำเลยที่4ขับรถในเวลากลางคืนลงเนินซึ่งความเร็วของรถต้องเพิ่มขึ้นขณะที่มีแสงไฟของรถแล่นสวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องระวังเพิ่มขึ้นโดยลดความเร็วแต่จำเลยที่4ยังขับต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุชนกับใบมีดรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาจึงเป็นความประมาทของจำเลยที่4ด้วย ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพได้แก่ค่ารักษาพยาบาลค่าขาเทียมค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามมาตรา444และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา446วรรคหนึ่งได้แก่ค่าที่ต้องทุพพลภาพพิการตลอดชีวิตต้องทรมานร่างกายและจิตใจนอกจากนี้หากทรัพย์สินหายจากการกระทำละเมิดก็มีสิทธิได้รับชดใช้อีกต่างหาก จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยมิได้ร่วมกันแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์คงรับผิดเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่าย, การแบ่งความรับผิด, และค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เมื่อขับรถในเวลากลางคืนผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกของจำเลยที่1บรรทุกรถแทรกเตอร์ซึ่งมีใบมีดจานไถยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกโดยมิได้ติดไฟสัญญาณไว้ที่ปลายใบมีดจานไถทั้งสองข้างเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกอันเป็นกฎหมายที่มีประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422นอกจากนี้บริเวณจุดชนอยู่ในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศที่จำเลยที่4ขับสวนทางมาจึงฟังได้ว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ด้วย จำเลยที่4ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูงเมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิมขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลงแต่จำเลยที่4ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่4เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่2รับผิด2ส่วนส่วนจำเลยที่4รับผิด1ส่วนนับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41-42/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็ค แม้จะอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐาน
จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้ง10ฉบับเพื่อชำระหนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ทรงพร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900วรรคหนึ่ง,904,914ประกอบมาตรา989,มาตรา224วรรคหนึ่ง