คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5926/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก กรณีมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก
คดีนี้เป็นคดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ตามคำร้องหรือไม่เท่านั้นแม้ผู้คัดค้านทั้งสองคัดค้านว่าที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้าน แต่เมื่อปรากฏในเบื้องต้นว่าที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) มีชื่อ ส.เป็นผู้แจ้งการครอบครอง และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)มีชื่อ ส.เป็นผู้ทำประโยชน์ ผู้คัดค้านเคยไปขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แต่มี ว.ไปคัดค้าน เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงระงับการออกโฉนดไว้ กรณีพอถือได้ว่าการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 เมื่อผู้ร้องเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของ ส. ทั้งผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา1718 ก็มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย-ความล่าช้าในการส่งมอบ-สัญญาซื้อขาย-อุปกรณ์ทางทหาร-การขอขยายเวลา
แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าการส่งสิ่งของตามสัญญาต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษก่อน แต่ตามสภาพของสิ่งของตามสัญญาเป็นอุปกรณ์ทางทหารซึ่งต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งจากบริษัทในประเทศอังกฤษ และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษจึงจะสามารถส่งสิ่งของมายังประเทศไทยได้ การขออนุญาตส่งออกบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ขอใบอนุญาตส่งออก จำเลยที่ 1 ได้เร่งรัดให้รีบส่งสิ่งของมาให้ทันตามกำหนดในสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของมายังประเทศไทยในช่วงนั้น ทำให้การออกใบอนุญาตส่งออกต้องล่าช้าออกไปกว่าปกติถึง 5 สัปดาห์ หรือ 35 วัน โดยเพิ่งมีการอนุญาตเมื่อวันที่ 23มิถุนายน 2535 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ได้จนถึงวันที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาคือวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 หลังครบกำหนดส่งมอบเพียง 22 วัน ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 และจำเลยที่ 1 ได้แจ้งเหตุแห่งความล่าช้าพร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบหลายฉบับแล้ว แม้จะไม่มีข้อความขอขยายเวลาการส่งมอบออกไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 แจ้งว่าจะส่งสิ่งของให้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษก็ถือได้ว่าเป็นการขอขยายเวลาการส่งมอบออกไป นับว่าได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นผู้ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและการขยายเวลาส่งมอบสินค้า: การที่รัฐบาลต่างประเทศไม่อนุมัติการส่งออกเนื่องจากสถานการณ์ไม่สงบ ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
โจทก์ทำสัญญาซื้อกล้องเล็งแบบเอ็ม53เอ 1 พร้อมอุปกรณ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ย. ประเทศอังกฤษ จากจำเลย กำหนดเวลาส่งมอบสิ่งของภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2535แต่การส่งออกจากประเทศอังกฤษ บริษัทผู้ผลิตต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษก่อน หลังจากทำสัญญา จำเลยได้สั่งซื้อ สิ่งของดังกล่าวจากบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้ผลิตยื่นคำร้องขออนุญาตส่งออกต่อรัฐบาลอังกฤษ ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยัง ไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของดังกล่าวมายังประเทศไทยในช่วงนั้น เมื่อจำเลยสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิต ในวันที่ 3 มิถุนายน 2535 บริษัทผู้ผลิตแจ้งว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทั้งที่ได้ พยายามติดตามเรื่องตลอดมา จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งโจทก์ทราบ หลังจากนั้นจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกว่าได้เร่งรัด บริษัทผู้ผลิตแล้วและจะเร่งรัดให้ส่งของมาโดยด่วนต่อไป และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ อีกครั้งว่า ยังคงเร่งรัดบริษัทผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจะมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ใน สัญญาว่า การส่งสิ่งของตามสัญญาต้องได้รับอนุมัติจาก รัฐบาลอังกฤษก่อน แต่ตามสภาพของสิ่งของตามสัญญาซึ่งเป็น อุปกรณ์ทางทหารต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งจากบริษัทใน ประเทศอังกฤษ และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษจึงจะสามารถส่งสิ่งของมายังประเทศไทยได้การขออนุญาตส่งออก บริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ขอใบอนุญาตส่งออก จำเลยผู้ขายได้เร่งรัด ให้รีบส่งสิ่งของมาให้ทันตามกำหนดในสัญญาแล้ว แต่เนื่องจาก เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาต ให้ส่งสิ่งของมายังประเทศไทยในช่วงนั้น ทำให้การออกใบอนุญาตส่งออกต้องล่าช้าออกไปกว่าปกติถึง 5 สัปดาห์หรือ 35 วันจึงมีการอนุญาต พฤติการณ์ที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ได้จนถึงวันที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หลังครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาเพียง 22 วัน ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 และจำเลยได้แจ้งเหตุพร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบแล้ว โดยแจ้งว่าจะ ส่งสิ่งของให้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษ กรณี จึงถือได้ว่าเป็นการขอขยายเวลาการส่งมอบออกไป ซึ่งนับว่า ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วจำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลิกสัญญาซื้อขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการส่งมอบสินค้า – การขออนุญาตส่งออกจากรัฐบาลต่างประเทศ
โจทก์ทำสัญญาซื้อกล้องเล็งแบบเอ็ม 53 เอ 1 พร้อมอุปกรณ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ย. ประเทศอังกฤษ จากจำเลย กำหนดเวลาส่งมอบสิ่งของภายในวันที่ 17 มิถุนายน 2535 แต่การส่งออกจากประเทศอังกฤษ บริษัทผู้ผลิตต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอังกฤษก่อน หลังจากทำสัญญา จำเลยได้สั่งซื้อสิ่งของดังกล่าวจากบริษัทผู้ผลิตและบริษัทผู้ผลิตยื่นคำร้องขออนุญาตส่งออกต่อรัฐบาลอังกฤษ ต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในประเทศไทยรัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของดังกล่าวมายังประเทศไทยในช่วงนั้น เมื่อจำเลยสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิต ในวันที่ 3 มิถุนายน 2535 บริษัทผู้ผลิตแจ้งว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทั้งที่ได้พยายามติดตามเรื่องตลอดมา จำเลยจึงมีหนังสือแจ้งโจทก์ทราบ หลังจากนั้นจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกว่าได้เร่งรัดบริษัทผู้ผลิตแล้วและจะเร่งรัดให้ส่งของมาโดยด่วนต่อไป และเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม2535 จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์อีกครั้งว่า ยังคงเร่งรัดบริษัทผู้ผลิตอย่างต่อเนื่องดังนี้ แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจะมิได้กำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาว่า การส่งสิ่งของตามสัญญาต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษก่อน แต่ตามสภาพของสิ่งของตามสัญญาซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางทหารต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่สั่งจากบริษัทในประเทศอังกฤษและต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษจึงจะสามารถส่งสิ่งของมายังประเทศไทยได้การขออนุญาตส่งออกบริษัทผู้ผลิตเป็นผู้ขอใบอนุญาตส่งออก จำเลยผู้ขายได้เร่งรัดให้รีบส่งสิ่งของมาให้ทันตามกำหนดในสัญญาแล้ว แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษจึงยังไม่อนุญาตให้ส่งสิ่งของมายังประเทศไทยในช่วงนั้น ทำให้การออกใบอนุญาตส่งออกต้องล่าช้าออกไปกว่าปกติถึง 5 สัปดาห์หรือ 35 วัน จึงมีการอนุญาต พฤติการณ์ที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ได้จนถึงวันที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา หลังครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาเพียง22 วัน ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 205 และจำเลยได้แจ้งเหตุพร้อมหลักฐานเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบแล้วโดยแจ้งว่าจะส่งสิ่งของให้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐบาลอังกฤษ กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการขอขยายเวลาการส่งมอบออกไป ซึ่งนับว่าได้ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วจำเลยจึงมิใช่เป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเลิกสัญญาซื้อขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่า: ผู้เช่านามีสิทธิซื้อที่ดินจากผู้รับโอน หากผู้ให้เช่าขายโดยไม่แจ้งสิทธิ
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เป็นกฎหมายพิเศษมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อที่ดินที่เช่าทำนาก่อนคนอื่น
ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ
แม้ตามมติของ คชก.ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนา ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ คุ้มครองแม้มีการโอนสิทธิหลายทอด ผู้เช่ามีสิทธิซื้อจากผู้รับโอน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524เป็นกฎหมายพิเศษมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อที่ดินที่เช่าทำนาก่อนคนอื่น ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ แม้ตามมติของ คชก. ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนาซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างแรงงาน: การเบียดบังเงินค่าสินค้าของลูกจ้างและความชัดเจนของฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตั้งแต่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2534 จำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้าของโจทก์ไปและกระทำผิดหน้าที่โดยไม่จัดทำบัญชีขายสินค้าและได้เบียดบังเอาเงินค่าขายสินค้าไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 หรือบุคคลที่สาม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 251,024.86 บาท พร้อมทั้งได้แนบหลักฐานแสดงสินค้าที่ขาดหายไป ตามบัญชีตรวจนับสินค้าเอกสารท้ายฟ้อง ดังนี้คำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายถึงรายละเอียดของสินค้าที่ขาดหายไปอีกเพราะโจทก์ได้แนบหลักฐานแสดงรายละเอียดของสินค้าที่ขาดหายไปตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์และมีหน้าที่รับผิดชอบการซื้อขายเกี่ยวกับสินค้า จัดทำบัญชีซื้อขายเกี่ยวกับสินค้า ได้กระทำผิดหน้าที่ไม่จัดทำบัญชีและได้เบียดบังเอาเงินค่าสินค้าไปเป็นประโยชน์ของจำเลยที่ 1 หรือบุคคลที่สาม จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยกระทำผิดหน้าที่ลูกจ้างไม่จัดทำบัญชีและเบียดบังเอาเงินค่าสินค้าไป สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิไล่เบี้ยและการรับช่วงสิทธิที่ขัดแย้งกับสุจริตของผู้รับประโยชน์
กรณีตาม ป.พ.พ.มาตรา 154 เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นประธานกรรมการของลูกหนี้ได้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของลูกหนี้ไว้ ต่อมาภายหลังเจ้าหนี้ได้ทำหนังสือสละสิทธิไล่เบี้ย และสละสิทธิในการรับช่วงสิทธิบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่เหนือลูกหนี้ทุกอันดับให้ไว้แก่บริษัทลูกหนี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาตรวจกิจการของลูกหนี้แล้วพบว่าเจ้าหนี้ได้เอาเงินของลูกหนี้ไปซื้อที่ดินมาเป็นของเจ้าหนี้เป็นส่วนตัวและเพื่อให้เจ้าหนี้จะได้บริหารงานของลูกหนี้ต่อไป แม้หากเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับลูกหนี้ทำหนังสือดังกล่าวขึ้นก็ตาม แต่เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยและเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นได้เชื่อว่าเจ้าหนี้ได้สละสิทธิดังกล่าวจริง เจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ยกข้อไม่สมบูรณ์นี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคแรก ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง: เจตนาต่อเนื่องถือเป็นกรรมเดียว แม้มีทั้งการยินยอมและไม่ยินยอม
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277วรรคแรกนั้นคือผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนก็เป็นความผิดสำเร็จแล้วโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามดังนั้นจึงไม่ต้องคำนึงถึงว่าการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีนั้นเด็กหญิงจะยินยอมหรือไม่ยินยอมการกระทำความผิดของจำเลย คือเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเมื่อจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นประจำตลอดมาโดยข่มขืนกระทำชำเราทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา3วันรวม5ครั้งจึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจากเจตนาเดิมนั่นเองการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวหาใช่ต่างกรรมกันตามการกระทำที่ผู้เสียหายยินยอมและไม่ยินยอมดังฎีกาของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็ก แม้มีเจตนาต่อเนื่องและมีการยินยอมบ้าง ก็เป็นกรรมเดียว
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคแรกคือผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีนั้นเด็กหญิงจะยินยอมหรือไม่ยินยอม เมื่อจำเลยมีเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายและจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายเป็นประจำตลอดมา โดยข่มขืนกระทำชำเราทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน รวม 5 ครั้ง แม้จะมีทั้งกรรมที่ผู้เสียหายไม่ยินยอมและกรรมที่ผู้เสียหายยินยอม แต่ก็เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันจากเจตนาเดิมนั่นเองการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว หาใช่เป็นความผิด 2 กรรม ต่างกรรมกันตามการกระทำที่ผู้เสียหายยินยอมและไม่ยินยอมไม่
of 70