คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 695 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ: อำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่1กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่4โดยความยินยอมของจำเลยที่2และที่3ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่4นั้นเมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่1ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้นโจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่4ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่1แต่อย่างใดไม่ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ และอำนาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้อง ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 นั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น โจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่ 4 ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5113/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลสิทธิ vs. ทรัพย์สิทธิ: การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินเมื่อมีสัญญาจะซื้อจะขายก่อน
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินเอกสารท้ายฟ้องต่อมาจำเลยที่ 1 กลับจดทะเบียนโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 นั้น เมื่อสิทธิของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิซึ่งมีสิทธิเพียงที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาเท่านั้น โจทก์หามีทรัพย์สิทธิที่จะไปบังคับแก่จำเลยที่ 4 ผู้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่ ดังนี้โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีละเมิดโดยอาศัยเหตุเดียวกันกับคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
ในคดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นคู่ความรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามเป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในคดีดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์ 7ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนกลาง มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติราชการในฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนกลาง การขอเช่า ขอเลิกเช่า การโอนสิทธิการเช่าการขอรับเช่าสืบแทน ที่ดินและอาคารศาสนสมบัติกลางของวัดร้างและวัดมีพระสงฆ์ในส่วนกลาง คือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงบางจังหวัด จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์ 7 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ปฏิบัติและรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติราชการในฝ่ายให้เป็นไปด้วยดี ทำความเห็นเกี่ยวกับงานจัดประโยชน์ศาสนสมบัติกลางของวัดร้างและวัดที่มีพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเสนอผู้อำนวยการสำนักงานศาสนสมบัติเพื่อวินิจฉัยสั่งการ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ 1 ฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนภูมิภาคมีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายใบเสร็จรับเงินของโจทก์ เมื่อวันที่ 7กันยายน 2527 พ.ได้ขอเบิกใบเสร็จรับเงินจำนวน 5 เล่ม จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้อนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 3 จ่ายใบเสร็จรับเงินให้ พ. เป็นการฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520หมวด 1 ส่วนที่ 1 ข้อ 9 เป็นผลให้ พ.ไม่นำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวไปลงทะเบียนแต่ได้นำไปปลอมลายมือชื่อออกให้แก่ผู้เช่า แล้ว พ.นำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตนจำนวน 300,274.57 บาท จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดต่อโจทก์ โดยคดีดังกล่าวศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดมีใจความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 3 จ่ายใบเสร็จรับเงิน 5 เล่ม ให้แก่ พ.โดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 หมวด 1ส่วนที่ 1 ข้อ 9 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในคดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ โดยเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2527 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันอนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 4 จ่ายใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 หมวด 1 ส่วนที่ 1ข้อ 9 ข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาคดีนี้ของโจทก์จึงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 813/2535 ของศาลชั้นต้น ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีละเมิดเดิมถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีใหม่โดยอาศัยเหตุเดิมเป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นคู่ความรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามเป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ในคดีดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์ 7 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนกลาง มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติราชการในฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนกลาง การขอเช่า ขอเลิกเช่าการโอนสิทธิการเช่า การขอรับเช่าสืบแทน ที่ดินและอาคารศาสนสมบัติกลางของวัดร้างและวัดมีพระสงฆ์ในส่วนกลาง คือกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงบางจังหวัด จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์ 7 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ปฏิบัติและรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติราชการในฝ่ายให้เป็นไปด้วยดี ทำความเห็นเกี่ยวกับงานจัดประโยชน์ศาสนาสมบัติกลางของวัดร้างและวัดที่มีพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเสนอผู้อำนวยการสำนักงานศาสนสมบัติเพื่อวินิจฉัยสั่งการจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ 1 ฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนภูมิภาคมีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายใบเสร็จรับเงินของโจทก์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2527 พ. ได้ขอเบิกใบเสร็จรับเงินจำนวน 5 เล่ม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้อนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 3 จ่ายใบเสร็จรับเงินให้ พ. เป็นการฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 หมวด 1 ส่วนที่ 1 ข้อ 9 เป็นผลให้พ. ไม่นำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวไปลงทะเบียนแต่ได้นำไปปลอมลายมือชื่อออกให้แก่ผู้เช่า แล้ว พ.นำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตนจำนวน 300,274.57 บาท จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดต่อโจทก์ โดยคดีดังกล่าวศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดมีใจความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 3 จ่ายใบเสร็จรับเงิน 5 เล่ม ให้แก่ พ. โดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 หมวด 1 ส่วนที่ 1 ข้อ 9 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในคดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ โดยเมื่อวันที่7 กันยายน 2527 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันอนุมัติด้วยวาจาให้จำเลย ที่ 4 จ่ายใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ. 2520 หมวด 1 ส่วนที่ 1 ข้อ 9ข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาคดีนี้ของโจทก์จึงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 813/2535 ของศาลชั้นต้น ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้อง, อายุความจัดการมรดก, การจัดการมรดกกรณีผู้จัดการมรดกเสียชีวิต และการวินิจฉัยประเด็นตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ.ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อน บ.ถึงแก่กรรมและ บ.ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ.ซึ่งจะมีผลต่อบ.และผู้รับมรดกแทนที่ อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรมซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตาม มาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141 (3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลงกรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์มรดก, การสรุปคำให้การ, และการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ. ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อนบ. ถึงแก่กรรมและ บ. ได้จ่ายใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ. ซึ่งจะมีผลต่อ บ. และผู้รับมรดกแทนที่อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรม ซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลง กรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, ขอบเขตการแบ่งทรัพย์สิน, และการวินิจฉัยศาลเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำให้การ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ. ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อนบ. ถึงแก่กรรมและ บ. ได้จ่ายใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ. ซึ่งจะมีผลต่อ บ. และผู้รับมรดกแทนที่อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรม ซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดีและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลง กรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ซ้ำซ้อนในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้รับชำระหนี้เต็มจำนวนจากลูกหนี้ร่วมแล้ว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ซ้ำจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้อีก
แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็หามีผลผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายคนละขั้นตอน เมื่อศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายคดีก่อนมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ของเจ้าหนี้เป็นเงินทั้งสิ้น10,781,495.35 บาท เป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงผูกพันเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จ่ายเงินจำนวน 10,781,495.35 บาท ให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นการจ่ายเงินเต็มจำนวนมูลหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับ ถือว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว หาใช่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ที่เพียงเป็นส่วนเฉลี่ยจากกองทรัพย์สินของ ส. ดังที่เจ้าหนี้อ้างในคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไม่ เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของ ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้ในคดีล้มละลายคดีก่อนแล้ว การที่ลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งชำระหนี้นั้นย่อมได้เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่งเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ทั้ง 7 อันดับจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยปริยาย เนื่องจากการต่างฝ่ายต่างไม่พร้อมชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีโฉนด เนื้อที่ประมาณ3,400 ตารางวา ในราคา 18,360,000 บาท มีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องถมที่ดินทั้งแปลง ทำถนนลาดยางเข้าสู่ที่ดินจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้า 3 สายจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย แบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายออกเป็น6 โฉนด และจดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะและมีข้อตกลงอื่นอีก ส่วนโจทก์จะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันนัดไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากโจทก์ผิดนัดยอมให้จำเลยทั้งสองริบเงินมัดจำแต่ถ้าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด จำเลยยอมคืนเงินมัดจำและยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน3,672,000 บาท ในวันครบกำหนดที่โจทก์และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา จำเลยมิได้ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าไปยังที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ตามสัญญา และจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกออกไปมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ และในวันนัดไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างก็ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญาสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทั้งสองต่างมีหนี้ที่จะชำระเป็นการตอบแทนกัน เมื่อโจทก์ไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเมื่อต่างฝ่ายต่างมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ อีกฝ่ายหนึ่งจึงหาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยคืนมัดจำและชำระค่าปรับตามสัญญา โดยมิได้เรียกร้องให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา และจำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยมิได้ฟ้องแย้งให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันจำเลยต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสอง
of 70