คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประดิษฐ์ เอกมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนการครอบครองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้ซื้อขายไม่ได้ทำตามฟอร์มก็มีผลตามกฎหมาย
จำเลยซื้อที่พิพาทจากสามีโจทก์และเข้าอยู่ตลอดมา แม้การซื้อขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตกเป็นโมฆะ แต่ที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมโอนการครอบครองให้แก่กันได้โดยสละการครอบครองและส่งมอบทรัพย์สิทธิที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตำแหน่ง: การที่ตำแหน่งจ่าศาลครอบคลุมหน้าที่บังคับคดีโดยไม่ต้องออกหมายตั้งเฉพาะ
การที่ศาลจังหวัดพะเยาได้ออกหมายบังคับคดีตั้งจ่าศาลจังหวัดพะเยาเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่16/2528 ของศาลจังหวัดพะเยานั้น เป็นการตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาหาใช่ตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะไม่ฉะนั้นบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาอยู่ในขณะออกหมายบังคับคดี ตลอดจนบุคคลที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในเวลาต่อมา ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวจนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้น เมื่อจำเลยย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในขณะที่การบังคับคดีแพ่งดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวตามหมายบังคับคดีที่ศาลจังหวัดพะเยาได้ออกไว้แล้ว โดยไม่จำต้องออกหมายบังคับคดีตั้งจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดี: การแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่และขอบเขตการปฏิบัติงาน
การที่ศาลจังหวัดพะเยาออกหมายบังคับคดีตั้งจ่าศาลจังหวัดพะเยาเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งคดีหนึ่ง ถือเป็นการตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยา หาใช่ตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาอยู่ในขณะออกหมายบังคับคดีตลอดจนบุคคลที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในเวลาต่อมาย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวจนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้น เมื่อจำเลยย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในขณะที่การบังคับคดีแพ่งดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งนั้นตามหมายบังคับคดีที่ออกไว้แล้ว โดยไม่ต้องออกหมายบังคับคดีตั้งจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดี: ตำแหน่งต่อเนื่อง - การบังคับคดีมีผลผูกพันต่อเนื่องตามตำแหน่ง
การที่ศาลจังหวัดพะเยาออกหมายบังคับคดีตั้งจ่าศาลจังหวัดพะเยาเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งคดีหนึ่ง ถือเป็นการตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยา หาใช่ตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาอยู่ในขณะออกหมายบังคับคดีตลอดจนบุคคลที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในเวลาต่อมาย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งดังกล่าวจนกว่าการบังคับคดีจะเสร็จสิ้น เมื่อจำเลยย้ายมาดำรงตำแหน่งจ่าศาลจังหวัดพะเยาในขณะที่การบังคับคดีแพ่งดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีแพ่งนั้นตามหมายบังคับคดีที่ออกไว้แล้ว โดยไม่ต้องออกหมายบังคับคดีตั้งจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5656/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลูกหนี้และการหักค่าใช้จ่ายทางภาษี การให้ส่วนลดมีเหตุผลและอัตราส่วนลดที่เหมาะสม
การที่โจทก์โอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินตามฟ้องสืบเนื่องมาจากโจทก์จัดรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่เป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศจึงได้โอนกิจการขายสินค้าภายในประเทศทั้งหมดให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทโจทก์ การโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทของโจทก์จึงมิได้เกี่ยวข้องกับหนี้สูญ ไม่ใช่กรณีมีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามความหมายในป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (9)
แม้ว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามบัญชีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินจะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ยังไม่แน่นอนว่าผู้รับโอนจะได้รับครบถ้วนหรือไม่ เพราะเมื่อหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้บางรายอาจไม่อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ ในการทำสัญญาโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทนั้น ผู้รับโอนจะยังไม่ได้ประโยชน์ตามสัญญาจนกว่าหนี้จะถึงกำหนดชำระและผู้รับโอนได้รับชำระหนี้แล้ว การให้ส่วนลดแก่ผู้รับโอนในการโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทจึงมีเหตุผล และที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 15 สำหรับการโอนลูกหนี้การค้านั้น โจทก์คิดคำนวณจากสถิติการเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้าย้อนหลังเป็นเวลาหลายปีจึงเป็นอัตราที่สมควรส่วนที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 2.5 สำหรับทั้งการโอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินเพื่อชดเชยการที่หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระนั้น โจทก์กำหนดขึ้นโดยคิดคำนวณจากระยะเวลาโดยเฉลี่ยของหนี้ที่โอนทั้งหมดว่าจะถึงกำหนดชำระภายใน 2เดือน นับแต่วันฟ้อง จึงกำหนดอัตราร้อยละ 2.5 ต่อระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งก็คืออัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั่นเอง ถือได้ว่าเป็นอัตราที่สมควรเช่นกัน จะถือว่าเป็นการโอนทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5656/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนลูกหนี้และการลดหย่อนภาษี: ศาลฎีกาวินิจฉัยการให้ส่วนลดในการโอนลูกหนี้เป็นเหตุผลสมควร ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาด
การที่โจทก์โอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินตามฟ้องสืบเนื่องมาจากโจทก์จัดรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่เป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศจึงได้โอนกิจการขายสินค้าภายในประเทศทั้งหมดให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทโจทก์ การโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทของโจทก์จึงมิได้เกี่ยวข้องกับหนี้สูญ ไม่ใช่กรณีมีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แม้ว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามบัญชีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินจะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ยังไม่แน่นอนว่าผู้รับโอนจะได้รับครบถ้วนหรือไม่ เพราะเมื่อหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้บางรายอาจไม่อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ ในการทำสัญญาโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทนั้น ผู้รับโอนจะยังไม่ได้ประโยชน์ตามสัญญาจนกว่าหนี้จะถึงกำหนดชำระและผู้รับโอนได้รับชำระหนี้แล้ว การให้ส่วนลดแก่ผู้รับโอนในการโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทจึงมีเหตุผล และที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 15สำหรับการโอนลูกหนี้การค้านั้น โจทก์คิดคำนวณจากสถิติการเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้าย้อนหลังเป็นเวลาหลายปีจึงเป็นอัตราที่สมควรส่วนที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 2.5 สำหรับทั้งการโอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินเพื่อชดเชยการที่หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระนั้น โจทก์กำหนดขึ้นโดยคิดคำนวณจากระยะเวลาโดยเฉลี่ยของหนี้ที่โอนทั้งหมดว่าจะถึงกำหนดชำระภายใน 2 เดือนนับแต่วันฟ้อง จึงกำหนดอัตราร้อยละ 2.5 ต่อระยะเวลา 2 เดือนซึ่งก็คืออัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั่นเอง ถือได้ว่าเป็นอัตราที่สมควรเช่นกัน จะถือว่าเป็นการโอนทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าในคดีภาษีอากร แม้ศาลเลื่อนชี้สองสถาน ก็ยังต้องยึดกำหนดเวลาเดิม
โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลสั่งว่ารอไว้สั่งวันนัดชี้สองสถานครั้นถึงวันนัดชี้สองสถานศาลสอบจำเลยแล้ว จำเลยคัดค้านศาลจึงนัดไต่สวนคำร้องของ โจทก์ โดยเลื่อนการชี้สองสถานในวันดังกล่าวไป เพื่อทำการไต่สวนคำร้องก่อน การที่ไม่ได้มีการชี้สองสถานจริง ๆ จึงเกิดจากเหตุที่โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดเวลา กรณีเช่นนี้จะถือเอาการชี้สองสถานจริง ๆ เป็นหลักในการนับระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคหนึ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี กรณีชดเชยค่าระวางเรือให้บริษัทในเครือ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า ขอให้สั่งให้จำเลยงดเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์เท่านั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลดเงินเพิ่มจึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ยอมรับผิดต่อผู้ซื้อในค่าระวางเรือสำหรับน้ำหนักสินค้าที่ขาดไปเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา ก็เพื่อลดต้นทุนของผู้ซื้อซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ดังนั้นการที่จำเลยไม่ยอมนำค่าระวางเรือดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายและนำมาเป็นรายรับเพิ่มขึ้น จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย หากประเมินหลังกำหนดเวลายื่นรายการ
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 17 วรรคแรก,84 วรรคแรก,85 ทวิ,86 ได้กำหนดไว้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกันกำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไป ตามมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อไม่ปรากฏว่าในปี 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2528ดังกล่าวจึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าจะมีรายรับเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 นั้น จึงถึงกำหนดแล้วก่อนเจ้าพนักงานประเมินของ จำเลยจะประเมินภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 กำหนดเวลายื่นรายการหาได้ขยายมาจนถึงปี 2531 ไม่ และตามมาตรา 18 ทวิ วรรคแรกให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งมาตรา 18 ทวิ วรรคสอง ยังบัญญัติให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ดังนั้นการประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิ จึงต้องเป็นการประเมินสำหรับเดือนหรือปีภาษีที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่ปรากฏในงบดุลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2528ของโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือน และปีภาษีใด จึงถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือนธันวาคม 2528 และเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 ไปแล้ว เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18 ทวิ โดยชัดแจ้ง กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้รับดอกเบี้ยกำหนดเวลายื่นรายการจึงหาได้มีอยู่ก่อนการประเมินอันจะเป็นผลให้การประเมินภาษีกรณีนี้เป็นการประเมินก่อนกำหนดเวลายื่นรายการไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าต้องเป็นไปตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด การประเมินย้อนหลังขัดต่อกฎหมาย
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ป.รัษฎากร มาตรา 17 วรรคแรก, 84 วรรคแรก, 85 ทวิ, 86 ได้กำหนดไว้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกัน กำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไป ตามมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อไม่ปรากฏว่า ในปี 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไป กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2528 ดังกล่าวจึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 นั้น จึงถึงกำหนดแล้วก่อนเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะประเมินภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม2531 กำหนดเวลยื่นรายการหาได้ขยายมาจนถึงปี 2531 ไม่ และตามมาตรา18 ทวิ วรรคแรก ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งมาตรา 18 ทวิ วรรคสอง ยังบัญญัติให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ดังนั้น การประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิ จึงต้องเป็นการประเมินสำหรับเดือนหรือปีภาษีที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่ปรากฏในงบดุลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม2528 ของโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือนและปีภาษีใด จึงถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือนธันวาคม 2528 และเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 ไปแล้ว เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18 ทวิ โดยชัดแจ้ง กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้รับดอกเบี้ยกำหนดเวลายื่นรายการจึงหาได้มีอยู่ก่อนการประเมินอันจะเป็นผลให้การประเมินภาษีกรณีนี้เป็นการประเมินก่อนกำหนดเวลายื่นรายการไม่
of 6