พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานก่อนยุติข้อเท็จจริงเรื่องราคาสินค้าเป็นวิธีพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวน
ศาลภาษีอากรกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดง-รายการการค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ทั้ง ๆที่ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือราคาเท่าใด คำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ให้ย้อนสำนวนก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า กรณีไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ของจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้อง ศาลต้องเปิดโอกาสให้สืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ศาลภาษีอากรกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ว วินิจฉัยว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและ แบบแสดงรายการการค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษา ให้โจทก์ชนะคดี ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าราคาแท้จริง ในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือราคาเท่าใด คำสั่งงดสืบพยาน และคำพิพากษาและศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ให้ย้อนสำนวนก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า กรณีไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ของจำเลย ได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษา ศาลภาษีอากรกลาง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลาง ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามหลักเกณฑ์ตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคหนึ่งการฟ้องให้ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปีนับแต่วันตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน ตามมาตรา 1001 ดังนั้นการฟ้องผู้รับอาวัลจึงต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อเห็นตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งตั๋วประเภทนี้จะพึงใช้เงินในวันยื่นตั๋ว แต่ผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบมาตรา 985 สำหรับกำหนดเวลายื่นให้รับรองตั๋วเงินนั้น มาตรา 928บัญญัติให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้รับรองภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว หรือภายในกำหนดช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ ดังนั้นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋ว ซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วอันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ ตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 31 มกราคม 2520 ครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงินแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้เป็นวันถึงกำหนดใช้เงิน กำหนดอายุความ3 ปี ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: กำหนดใช้เงินตามตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น และการนับอายุความ
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 940 วรรคแรก การฟ้องให้ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิดจึงต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันตั๋วถึงกำหนด ตามมาตรา 1001 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ต้องถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดดังกล่าวต้องเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยกำหนดใช้เงินของตั๋วแลกเงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 กล่าวคือในวันเมื่อยื่นตั๋ว แต่ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้น สำหรับกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรอง ตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น มีบัญญัติไว้ในมาตรา 928 ว่า ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินหรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ แสดงว่าผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงิน เมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋วซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วแต่จะยื่นให้ใช้เงินภายหลังพ้นเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วไม่ได้ กำหนดเวลาใช้เงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นจึงมีได้ตั้งแต่วันที่คงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ทั้งนี้แล้วแต่ว่าจะมีการยื่นตั๋วให้ใช้เงินวันใด ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทลงวันที่ 31 มกราคม 2520 เมื่อครบกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงิน จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้ เป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กำหนดอายุความ 3 ปี ตามาตรา 1001 ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าวเมื่อผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความตามมาตรา 1001ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสาร 'ทดรองจ่าย' ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อรับเงิน
การที่ใบสำคัญคู่จ่ายมีข้อความเพียงว่า ทดรองจ่ายให้คุณสมศักดิ์ (ลูกหนี้) เท่านั้น แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินไว้ด้วย ก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินหรือทรัพย์ไปก่อนไม่มีข้อความที่แสดงว่าลูกหนี้ต้องใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้หรือกำหนดการเสียดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืม จะฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาที่ศาลไม่มีอำนาจเหนือสถานที่เกิดเหตุหรือภูมิลำเนาจำเลย
เหตุมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสีคิ้ว และจำเลยทั้งสองไม่เคยมีที่อยู่หรือถูกจับหรือถูกสอบสวนในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสีคิ้ว ศาลจังหวัดสีคิ้วจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ ขณะยื่นฟ้องคดี จำเลยทั้งสองกำลังต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดอยู่ที่เรือนจำซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดสีคิ้วเรือนจำก็หาใช่ท้องที่ที่จำเลยทั้งสองมีที่อยู่ไม่ และแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 จะบัญญัติให้เรือนจำหรือทัณฑสถาน ที่ผู้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายถูกจำคุกอยู่เป็นภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกจนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว บทบัญญัติดังกล่าวก็มีผลใช้บังคับภายหลังที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ไม่อาจถือว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 คุ้มครองสิทธิผู้มีส่วนได้เสีย จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 ให้ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องร้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนยื่นคำขออายัดที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้มีกำหนด 60 วัน ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียไว้ก่อนมีการฟ้องคดีต่อศาล และเมื่อผู้มีส่วนได้เสียฟ้องผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และแสดงหลักฐานการยื่นฟ้องพร้อมกับสำเนาคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับอายัดภายในกำหนดเวลาที่อายัดแล้วบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้ความคุ้มครองต่อไปโดยให้การอายัดนั้นมีผลต่อไปจนกว่าศาลในคดีที่ผู้ขออายัดได้ยื่นฟ้องไว้จะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลในคดีที่ ป. ผู้ขออายัดเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนกับพวกเป็นจำเลยได้มีคำสั่งถอนการอายัดที่ดินดังกล่าวหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วแต่อย่างใดศาลก็ไม่อาจมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเมืองเพชรบูรณ์จดทะเบียนโอนสิทธิที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามคำพิพากษาในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรและอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีเกิน การประเมินราคาต้องใช้ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่น ตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัด-ความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 2
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่
สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้
เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่
สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการมีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน
การดำเนินการค้าแบบเดียวกันนี้ผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เครือเดียวกับบริษัทโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยมาประมาณ 20 ปีแล้ว โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า สินค้าพิพาทมีราคาตามที่โจทก์สำแดงไว้แต่แรก แทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะนำราคาสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดม. เคยสั่งเข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี 2511 ตลอดมาจนถึงปัจจุบันมาเปรียบเทียบราคาเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด กลับประเมินราคาสินค้าพิพาทโดยถือเกณฑ์ให้แตกต่างไม่เกินร้อยละ 10 ของราคาสินค้ายี่ห้ออื่นตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 ทั้งที่ราคาที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมิใช่ชนิดเดียวกัน คุณภาพอาจแตกต่างกันเป็นการประเมินราคาสินค้าที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จำเลยก็ยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกส่วนที่เก็บเกินคืนได้โดยหาต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วยไม่ สำหรับสินค้าที่โจทก์เป็นผู้ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเกินเองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้ประเมิน หาใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบไม่โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่เรียกเก็บเกินจากกรมการศุลกากร โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากร
กรมการศุลกากรจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากรให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกส่วนที่เกินคืนได้โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วย และไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน