คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประดิษฐ์ เอกมณี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม, อำนาจฟ้อง, และการประเมินภาษีที่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น จำเลยแถลงคัดค้านและอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นว่า หากศาลเปิดโอกาสให้นำพยานหลักฐานที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบจะทำให้ศาลเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะราคาค่าซื้อขายไม้ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาคำนวณเป็นรายรับ เป็นไม้ที่จำเลยยังนำออกมาจำหน่ายไม่ได้ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 32/2532ห้ามเข้าทำไม้และเคลื่อนย้ายไม้โดยเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า หากศาลอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยสามารถนำพยานเข้าสืบให้เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลได้ว่า ทรัพย์สินของจำเลยยังมีอยู่และมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท จำเลยจึงมิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งเป็นเหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำเลยมิได้อุทธรณ์ การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับเอากับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การประเมินภาษีอากรถึงที่สุด การไม่โต้แย้งถือเป็นหนี้บังคับได้ และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงาน
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ไม่ชอบด้วยเหตุผลโดยให้เหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1ย่อมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมสรรพากรโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่บัญญัติไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 42ฉะนั้นเมื่ออธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์โดยปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจจึงชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์แล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด และเมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจที่จะบังคับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการขัดต่อกฎหมาย ประเมินภาษีย้อนหลังมิใช่ล่วงหน้า
กำหนดเวลายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมาตรา 84,85 ทวิ และมาตรา 86 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษี และต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนดไม่ว่าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าว กำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไปตามมาตรา 3 อัฎฐ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปี 2527 และ 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าออกไปกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2527 และ 2528ดังกล่าว จึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม เมื่อการประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่โจทก์ยังไม่ได้รับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2531 โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนธันวาคม 2526 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2528จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2527 และ 2528 ไปแล้ว และเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ เป็นการประเมินที่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าต้องกระทำก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ หากประเมินหลังกำหนดแล้วถือเป็นการประเมินย้อนหลังและขัดต่อกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 18 ทวิ ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งมาตรา 18 ทวิวรรคสอง ยังบัญญัติให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บนั้น ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการ กรณีภาษีการค้าตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบังคับว่าให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดเป็นรายเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม และในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีใดนั้น ก็จะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือในกรณีอื่นก็จะต้องแสดงรายการชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ยิ่งไปกว่านั้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการต่าง ๆ ดังกล่าวยังสามารถขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปได้อีก ถ้าเป็นกรณีที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็น แต่กรณีตามมาตรา 3 อัฏฐ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแสดงว่ากำหนดเวลายื่นรายการนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกัน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลย ประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2531 โดยเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนธันวาคม 2526 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2528 จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีใน พ.ศ. 2527,2528 ซึ่งกำหนดเวลาไว้แน่นอนแล้วก่อนการประเมินไปแล้ว และเป็นการประเมินย้อนหลัง มิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยเจตนาทุจริต และการใช้กฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำผิดบัญญัติวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 ที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิดกับจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเช็คที่ใช้บังคับใหม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลใช้กฎหมายใหม่ลงโทษ
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ใช้บังคับโดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมีอัตราโทษเบากว่าอัตราโทษตาม มาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดแก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
of 6