คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพบูลย์ จามิกรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างจากการทำงานแม้ไม่มีสัญญาจ้าง และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องอายุความ
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลย และจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร
แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความ ครั้นโจทก์อุทธรณ์ จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ แม้ไม่มีสัญญาจ้างโดยตรง แต่ได้ประโยชน์จากผลงาน มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามสมควร อายุความต้องยกขึ้นในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์
แม้จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายความของจำเลยแต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้วโจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้วซึ่งศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ตามสมควร แม้จำเลยได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความครั้นโจทก์อุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างอื่นนอกจากค่าขึ้นศาลและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ให้กู้ควบคุมวงเงิน-จำกัดความรับผิดชอบจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
โจทก์สั่งซื้อบุหรี่จากโรงงานยาสูบโดยจำเลยออกหนังสือรับรองการจ่ายค่าบุหรี่ และทดรองจ่ายเงินค่าบุหรี่แต่ละงวดไปก่อนแล้วหักจากบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ภายหลังเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นจำนวนเงินสูง จำเลยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ดุลพินิจควบคุมยอดหนี้เงินกู้ของโจทก์ให้เป็นไปตามที่จำเลยเห็นสมควรตามสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในฐานะผู้ให้กู้การที่จำเลยแจ้งไปยังโรงงานยาสูบขอยกเลิกวงเงินทดรองจ่ายค่าบุหรี่ก็เพื่อควบคุมจำนวนเงินกู้ของโจทก์ ไม่จำต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ เพราะเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับโรงงานยาสูบการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน เริ่มนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.เวนคืนมีผลบังคับใช้ แม้มี พ.ร.บ.เวนคืนฉบับใหม่
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เพิ่มขึ้น โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 เพื่อสร้างทางพิเศษ สายดาวคะนอง - ท่าเรือ มีผลใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ท้ายฟ้อง และตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมาตรา 3ให้ พ.ร.ฎ.มีอายุห้าปี แม้ภายหลังจากครบห้าปีได้มีการตรา พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2530 ก็ตาม แต่ก็เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 นั้นเอง และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนมาตั้งแต่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2528โดยอ้างเหตุตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มิได้อ้างเหตุตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530 ซึ่งออกภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดเชยค่าเวนคืนที่ดิน: สิทธิได้รับดอกเบี้ยจากวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ แม้มีการออก พ.ร.บ.เวนคืนภายหลัง
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เพิ่มขึ้น โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2525เพื่อสร้างทางพิเศษ สายดาวคะนอง-ท่าเรือ มีผลใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ท้ายฟ้องและตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาตรา 3 ให้พระราชกฤษฎีกามีอายุห้าปี แม้ภายหลังจากครบห้าปีได้มีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2530 ก็ตาม แต่ก็เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2525 นั้นเองและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนมาตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาแต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2528 โดยอ้างเหตุตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ มิได้อ้างเหตุตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือ ในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530ซึ่งออกภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณประโยชน์: การอุทิศที่ดินโดยปริยายและการมีอำนาจฟ้องของเทศบาล
ทางพิพาทเกิดจากประชาชนใช้เดินเพื่อไปตักน้ำจากบ่อสาธารณะและใช้เดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานหลายสิบปีก่อนที่โจทก์จะสร้างถนนคอนกรีตบนที่ดินทางพิพาท โดยเจ้าของที่ดินขณะนั้นไม่มีการหวงห้ามสงวนสิทธิใด ๆ แม้จะไม่ได้ความว่าผู้ใดอุทิศที่ดินทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยตรงคือโดยพิธีการก็ต้องถือว่าเจ้าของที่ดินเดิมที่ทางพิพาทนี้ผ่านได้อุทิศที่ดินนั้นให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ทางพิพาทจึงตกเป็นทางสาธารณะแล้วจำเลยรับโอนที่พิพาทภายหลังจากที่เจ้าของเดิมได้อุทิศทางพิพาทไปแล้วแม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดถือเอาเป็นของตนได้ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์และอยู่ในเขตปกครองของเทศบาลตำบลศรีราชาโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เข้าขัดขวางปิดกั้นทางพิพาทนั้นได้ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2496) ออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ (2) และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์จากการแก้ไขชื่อผู้รับมรดกโดยไม่มีการลงลายมือชื่อ ทำให้ทรัพย์มรดกตกแก่ทายาทโดยธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยจำเลยสละการครอบครองให้แล้ว และพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเท่าที่โจทก์ครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ว่าพินัยกรรมที่จำเลยอ้างว่า ม. ยกที่พิพาทให้จำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 สมบูรณ์หรือไม่ เพราะโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีอยู่แล้ว แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่น โจทก์ได้กล่าวในคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้ด้วยว่า พินัยกรรมไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใดคดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองตามเอกสารหมาย ล.1 มีรอยน้ำยาลบหมึกสีขาวลบชื่อผู้รับมรดกแล้วพิมพ์ใหม่เป็นชื่อจำเลย โดยมิได้มีผู้ทำพินัยกรรม พยานและกรรมการอำเภอลงลายมือชื่อกำกับไว้ จึงทำให้พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1658วรรคสอง จำเลยจึงมิใช่เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ทำพินัยกรรมคือตกได้แก่โจทก์ซึ่งรับมรดกแทนที่บิดา กับตกได้แก่จำเลยซึ่งเป็นพี่บิดาโจทก์คนละครึ่ง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้โจทก์จึงได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาศาลล่าง คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกา และการเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดินหลังกระทำผิดไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ที่ดินซึ่งเป็นที่สำหรับพลเมืองใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ร่วมกันมาก่อน ย่อมมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) โดยไม่จำต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินเพื่อสงวนไว้เป็นที่ดินสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มาตรา 4,5 อีก โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9,108 ทวิ ศาลที่มีอำนาจชำระคดีอาญาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือไม่ เพราะเป็นองค์ความผิดตามบทมาตราที่โจทก์อ้าง ไม่จำต้องเสนอเป็นคดีแพ่งให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเสียก่อน จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ส่วนการที่จะได้มีการดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ ไม่เกี่ยวข้องหรือกระทบต่ออำนาจฟ้องของโจทก์ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จะมีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตามฟ้องก็ตาม ก็เพียงแต่มีผลทำให้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองนั้น ไม่มีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น มิใช่เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือ ครอบครองที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันไม่เป็นความผิดต่อไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณประโยชน์: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มี พ.ร.ฎ. กำหนดเขต และพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ที่ดินที่เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)นั้น หาจำต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาประกาศเขตที่ดินเพื่อสงวนไว้เป็นที่ดินสาธารณะก่อนไม่ การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองก่นสร้างที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเป็น การฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิศาลที่มีอำนาจชำระคดีรวมทั้งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าที่ดินตามฟ้องเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือไม่ เพราะเป็นองค์ความผิดตามบทมาตราที่โจทก์อ้างหาใช่เรื่องที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ ส่วนกฎกระทรวงฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 2 ตอนท้ายที่ระบุว่า" ถ้ามีผู้คัดค้านให้อธิบดีรอการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น" มีความหมายว่าการพิสูจน์สิทธิของผู้คัดค้านเป็นเพียงเงื่อนไขในการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเท่านั้น หาได้กำหนดว่าจะต้องเสนอเป็นคดีแพ่งเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ การฟ้องจำเลยในคดีนี้จึงเป็นการพิสูจน์สิทธิในที่ดินไปในตัว เท่ากับได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว การที่ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมีผลเป็นเพียงทำให้ที่ดินที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองนั้นไม่มีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันอีกต่อไปตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันไม่เป็นความผิดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมลักทรัพย์จากเจ้าของรวมอื่น ต้องพิสูจน์ว่ามิได้ครอบครองทรัพย์ขณะลัก
เจ้าของรวมจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ไปจากเจ้าของรวมคนอื่นจะต้องได้ความว่าเจ้าของรวมผู้ลักมิได้ครอบครองทรัพย์อยู่ การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ป. หุ้นส่วนกับชาวมาเลเซีย และจำเลยเป็นผู้ครอบครองหอยแครงร่วมอยู่ด้วยใช้บุคคลอื่นไปตักหอยแครง ซึ่งอยู่ในความครอบครองของตนเอง ไม่มีความผิดฐานใช้บุคคลอื่นลักทรัพย์
of 4