พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเพื่อค้าประเวณี: การใช้คำชักชวนและอุบายลวงเพื่อบังคับข่มขืน
ผู้เสียหายไปทำงานที่บาร์โดยไม่ทราบว่าจะต้องค้าประเวณี แต่เชื่อคำชักชวนของจำเลยว่าจะได้รับเงินเดือนและค่าทิป ทำงานเฉพาะเสิร์ฟอาหารอย่างเดียว แต่เมื่อผู้เสียหายไปทำงานที่บาร์แล้วถูกเจ้าของบาร์บังคับให้ค้าประเวณี คำชักชวนดังกล่าวเป็นการหลอกลวงให้เห็นว่านอกจากได้รับเงินเดือนแล้วยังได้รับค่าทิปด้วย ทั้งระบุถึงงานที่จะต้องทำอันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายสมัครใจไปทำงาน นับได้ว่าเป็นการใช้อุบายหลอกลวงแล้ว เมื่อผู้เสียหายตกลงไปทำงานตามคำชักชวน แต่กลับต้องไปทำงานค้าประเวณี จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 วรรคแรก และมาตรา 283 วรรคแรก ลงโทษบทหนักตามมาตรา 283 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาบ้านตนเอง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยวางเพลิงเผาบ้านของตนเองน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่นอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 วรรคแรกการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 220 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาบ้านตนเอง ต้องพิสูจน์ความน่าจะเป็นอันตรายต่อทรัพย์ผู้อื่น จึงจะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 220
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 220 นั้น จะต้องน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือของผู้อื่น ปรากฏข้อเท็จจริงเพียงว่าบ้านเกิดเหตุอยู่ห่างจากบ้านของผู้อื่น 15 เมตร โดยไม่ปรากฏว่าเปลวเพลิงได้ลุกลามไปทางบ้านของผู้อื่นแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ศาลเห็นว่าการวางเพลิงเผาบ้านครั้งนี้น่าจะเป็นอันตรายแก่บ้านเรือนของผู้อื่นอย่างไร เช่นว่า สภาพแวดล้อมของบ้านเกิดเหตุ ทิศทางลมและเปลวเพลิงขณะเกิดเพลิงไหม้เป็นอย่างไร จนน่าจะไหม้ลามไปถึงบ้านเรือนของผู้อื่นที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงกันหรือไม่ เป็นต้นการกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณและการหมิ่นประมาทผู้ให้
โจทก์ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองคนละ 1 แปลง ต่อมาโจทก์ขอที่ดินดังกล่าวคืน จำเลยที่ 1ด่าโจทก์ว่า "ยกให้แล้วเอาคืน ไม่ใช่แม่คนเป็นแม่หมา ๆ" จำเลยที่ 2ด่าว่า "อีแก่ มึงไม่มีศีลธรรม นับแต่วันนี้ไม่ต้องเป็นแม่ลูกกัน"ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองหมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้อย่างร้ายแรง เป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: อำนาจควบคุมและฟ้องคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสอง นั้นแม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าวก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน ไม่ต้องยื่นขอหมายขังใหม่ การสอบสวนยังดำเนินต่อไปได้ ฟ้องคดีได้
ในระหว่างสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือนนับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว เมื่อพ้นเวลาดังกล่าวพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จ ก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ แม้การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 113 วรรคสอง ทำให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาไว้เสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใดไม่ ทั้งการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนดังบัญญัติไว้ตามมาตรา 113 วรรคสอง ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปล่อยชั่วคราวและการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสองนั้น แม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าว ก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คชำระหนี้บางส่วนที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ทำให้เช็คฉบับรวมไม่เป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย
เงินส่วนหนึ่งในเช็คพิพาทมิได้มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือไว้ เงินส่วนนี้จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ และเมื่อเช็คพิพาทรวมเงินส่วนนี้ในเช็คฉบับเดียวกันและไม่อาจแบ่งแยกกันได้การออกเช็คพิพาททั้งฉบับจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534เป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง และใช้บังคับในระหว่างคดีนี้อยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การชำระหนี้บางส่วนที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วม ซึ่งเงินส่วนหนึ่งในเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมตามสัญญากู้ซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และจำนวนเงินอีกส่วนหนึ่งเป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมิได้มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือไว้การกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ การออกเช็คพิพาทดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งไม่เป็นความผิดตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยในเช็คฉบับเดียวกัน และไม่อาจแบ่งแยกกันได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง