พบผลลัพธ์ทั้งหมด 789 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อความปลอดภัยในการทำงาน กรณีโรงงานขาดแผนป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัย
จำเลยเป็นเจ้าของสถานประกอบการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า 21 ตัว และมีคนงานหญิง 15 คน จำเลยจึงเป็นนายจ้างและเป็นเจ้าของโรงงานจำพวกที่ 1 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ.2535)ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ลำดับที่ 28 (1) ในอันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงมหาดไทย
โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้น มีประตูเหล็กยืดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียว ส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบานเหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบาน ไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ข้อ 5 (3) (10) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปฟื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือสถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานภายในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน
โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้น มีประตูเหล็กยืดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียว ส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบานเหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบาน ไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ข้อ 5 (3) (10) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปฟื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือสถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานภายในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาและปกครองจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานและการป้องกันอัคคีภัย
จำเลยเป็นเจ้าของสถานประกอบการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีจักรเย็บผ้าไฟฟ้า 21 ตัว และมีคนงานหญิง 15 คนจำเลยจึงเป็นนายจ้างและเป็นเจ้าของโรงงานจำพวกที่ 1ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ลำดับที่ 28(1) ในอันที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงมหาดไทย โรงงานของจำเลยเป็นตึกแถว 3 ชั้นต่อเติมเป็น 4 ชั้นมีประตูเหล็กยึดที่ชั้นล่างใช้เป็นทางเข้าออกทางเดียวส่วนทางขึ้นดาดฟ้านั้นโดยสภาพไม่ใช่ทางเข้าออก นอกจากนี้ยังปรากฏว่าทางขึ้นดาดฟ้าครอบด้วยตะแกรงเหล็กมีประตูเปิดปิด แต่ล็อกกุญแจไว้ ส่วนหน้าต่างของตึกแถวแต่ละชั้นติดเหล็กดัดทุกบาน เหล็กดัดดังกล่าวปิดตายไว้ทุกบานไม่สามารถเปิดออกได้ เกี่ยวกับการจัดเก็บรักษาวัตถุหรือสิ่งของภายในอาคารที่เกิดเหตุนั้น โรงงานของจำเลยไม่มีห้องจัดเก็บพัสดุที่ใช้ แต่ได้วางไว้ทั่วไปตามพื้นที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งตามบันไดขึ้นลงด้วย โดยจำเลยไม่ได้จัดเก็บรักษาเสื้อผ้าซึ่งเป็นวัตถุที่เป็นสื่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและในที่ปลอดภัยการกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2535) ข้อ 5(3)(10) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2534 ข้อ 4 ระบุให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปพื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้ว และให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ และข้อ 33ระบุให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้คือ สถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทำงานในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล(เอ) วัดห่างจากจุดกำเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ แต่จำเลยไม่ได้จัดทำแผนป้องกันหรือระงับอัคคีภัย ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัย นอกจากนี้เมื่อสำนักงานจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครป้องกันพลเรือนเกี่ยวกับการป้องกันหรือระงับอัคคีภัยโดยมีการประกาศเชิญชวนทางหนังสือพิมพ์และเครื่องขยายเสียง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้สมัครเข้ารับการอบรมแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยซักซ้อมกับคนงานว่าหากมีเหตุเพลิงไหม้บริเวณชั้นบนให้หนีออกทางประตูชั้นล่าง หากเพลิงไหม้บริเวณชั้นล่างให้หนีออกทางดาดฟ้าการซักซ้อมวิธีหนีไฟของจำเลยดังกล่าวไม่อาจจัดว่าเป็นแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยตามความมุ่งหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7107/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงานและการเบียดบังยักยอกทรัพย์สิน
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งพนักงานการเงิน มีหน้าที่รักษาเงินสดและทำบัญชีรับจ่าย ทุกประเภทตามคำสั่งของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์ไป เช่นนี้เป็นการอ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานแน่นชัด ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลล่าง
พยานโจทก์ที่รู้เห็นและเป็นพยานในคดีเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีหน้าที่จับกุมและปราบปรามการกระทำความผิดตามอำนาจหน้าที่ของตน หากเบิกความบิดเบือนจากข้อเท็จจริงอาจมีความผิดและได้รับโทษ จึงมีเหตุผลน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามสัตย์จริงส่วนการมีสายลับมาช่วยในการล่อซื้อด้วยเป็นแต่เพียงการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการสืบหาพยานหลักฐาน ตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมพร้อมด้วยพยานหลักฐาน แม้จะไม่นำตัวสายลับมาสืบเนื่องจากเพื่อประโยชน์แก่ราชการในภายหน้าหรือเพื่อความปลอดภัยของสายลับ ก็รับฟังพยานบุคคลและของกลางที่เกี่ยวข้องกับสายลับนั้นได้ว่ามีสายลับช่วยในการล่อซื้อจริงพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานสนับสนุนการกระทำผิดร่วมกัน
พยานโจทก์ที่รู้เห็นและเป็นพยานในคดีเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีหน้าที่จับกุมและปราบปรามการกระทำความผิดตามอำนาจหน้าที่ของตน หากเบิกความบิดเบือนจากข้อเท็จจริงอาจมีความผิดและได้รับโทษ จึงมีเหตุผลน่าเชื่อว่าเบิกความไปตามสัตย์จริงส่วนการมีสายลับมาช่วยในการล่อซื้อด้วยเป็นแต่เพียงการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการสืบหาพยานหลักฐาน ตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมพร้อมด้วยพยานหลักฐาน แม้จะไม่นำตัวสายลับมาสืบเนื่องจากเพื่อประโยชน์แก่ราชการในภายหน้าหรือเพื่อความปลอดภัยของสายลับ ก็รับฟังพยานบุคคลและของกลางที่เกี่ยวข้องกับสายลับนั้นได้ว่ามีสายลับช่วยในการล่อซื้อจริงพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำผิดจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก เนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขเฉพาะโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสามมิได้แก้บทมาตราด้วยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ข้ออ้างที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่าโจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยาน เพียงปากเดียวและไม่พบของกลาง ส่วนจำเลยทั้งสามมี ประจักษ์พยาน 2 ปากยืนยันว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่สามารถเอาผิดแก่จำเลยทั้งสามได้นั้นเป็น การโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง สำหรับข้ออ้างที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า ผู้เสียหายสมัครใจเข้าต่อสู้กับฝ่ายจำเลยจึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่รับฟังว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายเพื่อนำไปสู้การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การแจ้งการขาย การคัดค้าน และความชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อและชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้น ขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่า ไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่ จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดและการแจ้งการขายโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายนี้ ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อได้และชำระเงินค่าซื้อทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นขอให้แจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนองแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535 ในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินให้ดำเนินการตามหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดี และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนระงับการจำนองพร้อมกับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์เรียบร้อยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2535 แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำเงินที่ได้จากขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ก่อนจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน ดังนั้นขณะที่จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดจึงยังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้ว และเมื่อจำเลยทราบว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2535 ยังอยู่ในระยะเวลาแปดวัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่าไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 79 แล้ว
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว
ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย โจทก์แถลงว่าไม่สามารถสืบหาที่อยู่ของจำเลยในสำเนาทะเบียนบ้านตามที่จำเลยให้ไว้แก่โจทก์ จึงขออนุญาตศาลส่งโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งศาลอนุญาตและในการนัดสืบพยานโจทก์ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยทราบด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์จึงชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 79 แล้ว
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามไม่ให้โจทก์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ ทำการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด และเมื่อราคาทรัพย์ที่ผู้ซื้อทรัพย์ซื้อได้สูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินพอสมควร ทั้งไม่ปรากฏว่าการบังคับคดีไม่สุจริตอย่างไร การขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ไม่เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย
โจทก์รู้อยู่ก่อนยื่นฟ้องแล้วว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ หากโจทก์เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่จำเลยเลิกจ้างแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวฟ้องร้องจำเลยเป็นคดีมาแต่แรก การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้หลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและนัดสืบพยานแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังกำหนดประเด็นข้อพิพาท
โจทก์รู้อยู่ก่อนยื่นฟ้องแล้วว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ หากโจทก์เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่จำเลยเลิกจ้างแล้ว โจทก์ก็ชอบที่จะว่ากล่าวฟ้องร้องจำเลยเป็นคดีมาแต่แรก การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้หลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและนัดสืบพยานแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31