คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกล เหมือนพะวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้อนในคดีครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดิน การโอนโฉนดผิดแปลง ศาลฎีกายกปัดการวินิจฉัยฟ้องซ้อนของศาลชั้นต้น
คดีสำนวนแรกโจกท์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382เป็นการอ้างการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคดีสำนวนหลังโจทก์อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยโจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินเป็นของโจทก์เหมือนกันก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการยื่นฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน อันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนที่ศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้ววินิจฉัยว่า คดีสำนวนหลังเป็นฟ้องซ้อนให้ยกฟ้อง แต่ยังพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องคดีสำนวนหลัง คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่วินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบ เพราะเมื่อคดีสำนวนหลังไม่เป็นฟ้องซ้อนแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาคดีตามที่พิจารณาได้ความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178แต่ได้มีการโอนโฉนดผิดแปลงตามคำฟ้องคดีสำนวนหลังได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นส่วนนี้ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา กรณีขยายเวลาการศึกษาเพิ่มเติมเกินกำหนดสัญญาเดิม
โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อต่างประเทศมีกำหนด2 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปีตามสัญญาด้วย การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลังอีก8 เดือน เป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับรู้เงื่อนไขในข้อนี้ จึงไม่อาจให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ได้ ทั้งข้อความในสัญญาที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์ก็ไม่มีข้อความตอนใดให้เห็นว่า หากโจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลัง จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดโดยไม่ต้องทำสัญญาใหม่ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน: ค้ำประกันเฉพาะภายในระยะเวลาสัญญาเดิม
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพื่อค้ำประกันความรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อมีกำหนด 2 ปี จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา2 ปี ตามสัญญาด้วย การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลัง เป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2 ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับรู้เงื่อนไขในข้อนี้ด้วย จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาการศึกษาต่อต่างประเทศ การขยายเวลาไม่ผูกพันผู้ค้ำประกันเดิม
โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดโจทก์ไปศึกษาต่อต่างประเทศมีกำหนด 2 ปี โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับความผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปีตามสัญญานั้น การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลังอีก 8 เดือน เป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2 ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่จำกัดระยะเวลา และผลของการขยายเวลาสัญญา
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพื่อค้ำประกันความรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อมีกำหนด 2 ปี จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี ตามสัญญาด้วย การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลังเป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับรู้เงื่อนไขในข้อนี้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัญชีเดินสะพัด, อายุความ, และการรับผิดชอบหนี้ทายาท
ก. กู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเมื่อวันที่ 8 มีนาคม2521 กำหนดชำระภายในวันที่ 8 มีนาคม 2522 ต่อมาวันที่ 15พฤษภาคม 2521 ก.ชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน หลังจากนั้น ก.เบิกเงินและเอาสิ่งของแล้วตีราคาเป็นเงินไปจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ลงรายการรวมไว้ในบัญชีที่ ก. ค้างชำระอยู่ เมื่อ ก.นำมันสำปะหลังไปขายแก่โจทก์โจทก์ก็ตีราคามันสำปะหลังหักทอนบัญชีอันเกิดแก่กิจการระหว่างโจทก์และ ก. โดยวิธีหักกลบลบกันจากยอดหนี้ที่รวมไว้ทั้งหมด พฤติการณ์ที่ ก.และโจทก์ปฏิบัติต่อกันโดยจัดให้มีบัญชีหนี้ ซึ่งมีการหักทอนบัญชีเป็นคราว ๆเข้าลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด มิใช่เรื่องการกู้ยืม เมื่อก. เริ่มเบิกเงินและเอาสิ่งของไปจากโจทก์ตั้งแต่หลังวันที่15 พฤษภาคม 2521 จนถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงเป็นการที่คู่กรณีตกลงยกเลิกกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินไปโดยปริยายโจทก์สามารถเรียกให้ ก. ชำระหนี้เมื่อใดก็ได้หลังจากที่ได้ก่อหนี้กันครั้งสุดท้ายคือวันที่ 18 พฤศจิกายน 2523 ซึ่งต่อมาวันที่ 19 มกราคม 2524 ก. นำมันสำปะหลังมาขายตีใช้หนี้เพื่อหักทอนบัญชีให้แก่โจทก์อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน อายุความจึงสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)และเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2524 หนี้รายนี้เป็นบัญชีเดินสะพัดจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2531 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาและการริบเงินมัดจำ กรณีผู้ว่าจ้างเห็นว่าราคาแพงเกินไป
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ทำสติกเกอร์ชนิดโปร่งแสง จำเลยที่ 1 บอกราคาค่าจ้างและจะนำตัวอย่างสติกเกอร์มาให้ดู โจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้ครั้นดูตัวอย่างสติกเกอร์แล้วโจทก์ไม่พอใจ จึงได้นำเบอร์สติกเกอร์ที่ต้องการมาให้จำเลยที่ 1 ดู ต่อมาจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากจะให้ใช้สติกเกอร์เบอร์ที่โจทก์ต้องการแล้วโจทก์จะต้องเพิ่มเงินค่าจ้างอีก 20,000 บาท โจทก์ทราบแล้วก็ไม่ว่าอะไร แสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิเสธ จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับการขอเพิ่มราคาตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสติกเกอร์เบอร์ที่โจทก์ต้องการที่เมืองฮ่องกงและได้วางเงินมัดจำไว้เช่นกัน แต่โจทก์กลับบอกเลิกสัญญาเสียก่อนดังนี้ หากโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ก็ไม่เห็นมีเหตุอะไรที่จำเลยที่ 1จะไม่ทำสติกเกอร์ให้โจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสติกเกอร์ไว้แล้ว สาเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญานั้นเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 คิดราคาแพงเกินไปนั่นเอง การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดเช่นนี้โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยที่ 1 มีสิทธิริบเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายสติกเกอร์หลังจำเลยสั่งซื้อวัตถุดิบแล้ว ถือเป็นการผิดสัญญาโจทก์ จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำ
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ทำสติกเกอร์ชนิดโปร่งแสงจำเลยที่ 1 บอกราคาค่าจ้างและจะนำตัวอย่างสติกเกอร์มาให้ดูโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้ครั้นดูตัวอย่างสติกเกอร์แล้วโจทก์ไม่พอใจ จึงได้นำเบอร์สติกเกอร์ที่ต้องการมาให้จำเลยที่ 1ดู ต่อมาจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากจะให้ใช้สติกเกอร์เบอร์ที่โจทก์ต้องการแล้วโจทก์จะต้องเพิ่มเงินค่าจ้างอีก20,000 บาท โจทก์ทราบแล้วก็ไม่ว่าอะไร แสดงว่าโจทก์ไม่ปฏิเสธ จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับการขอเพิ่มราคาตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 สั่งซื้อสติกเกอร์เบอร์ที่โจทก์ต้องการที่เมืองฮ่องกงและได้วางเงินมัดจำไว้เช่นกันแต่โจทก์กลับบอกเลิกสัญญาเสียก่อน ดังนี้ หากโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ก็ไม่เห็นมีเหตุอะไรที่จำเลยที่ 1จะไม่ทำสติกเกอร์ให้โจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อสติกเกอร์ไว้แล้ว สาเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญานั้นเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 คิดราคาแพงเกินไปนั่นเอง การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดเช่นนี้โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยที่ 1 มีสิทธิริบเงินมัดจำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนผู้จัดการมรดก ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยาน หากจากการไต่สวนเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุสมควร
การที่ศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงถึงเหตุที่ผู้ร้องขอถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกโดยจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาและให้คู่ความลงชื่อไว้ ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏเหตุที่สมควรเพิกถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นจึงวินิจฉัยยกคำร้องโดยไม่สืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลทางกฎหมาย ทำให้ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดก
ผู้ตายจดทะเบียนรับโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมโดยภริยาผู้ตายไม่ได้ให้ความยินยอม การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างผู้ตายกับโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/28 โจทก์ทั้งสองจึงไม่เป็นทายาทที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้
of 18