คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกล เหมือนพะวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินผู้อื่น: พิจารณาเจตนาสุจริตและสิทธิการรื้อถอน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ 70ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310,1311หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่ การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนาสุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดิน: สิทธิการรื้อถอนและการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ70 ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามป.พ.พ. มาตรา 1310, 1311 หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่
การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนา-สุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ หากไม่ใช่พินัยกรรมและศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินจึงตกเป็นของผู้รับประโยชน์ตามสัญญา
เดิม ฝ. ฟ้อง ป. ขอถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณต่อมาได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าว โดย ป.ยอมคืนที่พิพาทให้ ฝ.และฝ. ยอมให้ ป. ทำกินในที่พิพาทโดย ป. ยอมให้ข้าวเปลือกแก่ ฝ.ปีละ120กิโลกรัมห้ามฝ.จำหน่ายจ่ายโอนที่พิพาท เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. ตามเดิม สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแต่เป็นสัญญาที่ ฝ. กับ ป. ทำขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันและไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้วสัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับได้ และการที่ตกลงกันว่า เมื่อ ฝ.ถึงแก่กรรม ให้ที่พิพาทตกเป็นของ ป. เมื่อ ฝ. ถึงแก่กรรมที่พิพาทจึงตกเป็นของ ป. ตามคำพิพากษาตามยอม มิใช่เป็นมรดกของ ฝ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ต้องห้ามและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้ว
คดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 คำร้อง ของ โจทก์ ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของโจทก์อีก จึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วนั้นโจทก์จึงฎีกาต่อมาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และยกฎีกาโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5503/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และการฎีกาที่ไม่อาจทำได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์เพราะเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ซึ่งโจทก์ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ดังนั้น คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั่นเอง เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ และเมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงฎีกาต่อมาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีต้องดำเนินการต่อเนื่องภายใน 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษา มิใช่แค่นำยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
คำว่า ร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271หาได้มีความหมายแต่เพียงว่ายื่นคำขอต่อศาลเพื่อออกหมายบังคับคดีเท่านั้นไม่ แต่มีความหมายรวมไปถึงหน้าที่อื่น ๆที่ผู้ขอให้บังคับคดีจึงพึงต้องกระทำเพื่อต้องกระทำเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินไปได้อีกด้วย โจทก์ร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 แล้วมิได้ดำเนินการใด ๆ ใน ทางบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกเลย คงแถลงต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีให้ยึดแต่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เท่านั้น โจทก์เพิ่มจะมาร้องขอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ ของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 และนำเจ้าพนักงาน บังคับคดีไปยึดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นสิบปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดี แก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินค้าติดเครื่องหมายการค้าปลอม แม้มีเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ยังคงเป็นสินค้าปลอมตามกฎหมาย
การที่ถุงเท้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายติดอยู่ แม้จะมีเครื่องหมายการค้าของจำเลยติดอยู่ด้วย ก็หาทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมที่ติดอยู่กลับเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงไม่ และถุงเท้าดังกล่าวย่อมถือเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5444/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าปลอม แม้มีเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมกลายเป็นของแท้
ถุงเท้าที่มีการนำตราเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายติดอยู่บริเวณข้อเท้า ถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 แล้ว ถึงแม้จะมีตราฉลากเครื่องหมายการค้าของจำเลยติดอยู่ด้วย ก็หาทำให้เครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหายที่ติดอยู่กลับเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: การกำหนดทางออกที่ดินเมื่อไม่มีทางเข้าออกสู่สาธารณะ และการครอบครองปรปักษ์
คลองโพธิ์หักใช้เป็นทางไปมาไม่ได้เป็นเวลานานแล้ว จึงมิใช่ทางสาธารณะ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองโพธิ์หัก จึงไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5361/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเนื่องจากคลองถูกปิดใช้งาน
คลองโพธิ์หักใช้เป็นทางไปมาไม่ได้เป็นเวลานานแล้ว จึงมิใช่ทางสาธารณะ ที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองโพธิ์หัก จึงไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้
of 18