คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สกล เหมือนพะวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยไม่ชอบธรรมหลังเจ้าของมรณภาพ: สิทธิของโจทก์ผู้รับมรดกและความรับผิดทางละเมิด
พระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดโจทก์ จึงเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 44 เดิม(มาตรา 37 ที่แก้ไขใหม่) เมื่อพระภิกษุมรณภาพโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับที่ดินและตึกแถวพิพาทซึ่งได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นสมบัติของโจทก์ตาม มาตรา 1623 สัญญาจะซื้อขาย ผู้จะซื้อไม่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์ที่จะซื้อจะขายโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของทรัพย์ การอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยเจ้าเจ้าไม่ยินยอมเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดต่อพระภิกษุซึ่งเป็นเจ้าของ และการมรณภาพของพระภิกษุ ไม่เป็นเหตุให้การละเมิดสิ้นสุดลง เมื่อต่อมาที่ดินและตึกแถวตกเป็นสมบัติของโจทก์ จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทต่อไป ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ส่วนสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยทำละเมิดเพราะอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทขณะเป็นสมบัติของพระภิกษุก็ตกเป็นมรดกของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนฐานความผิดจากตัวการเป็นผู้สนับสนุนในชั้นพิจารณา ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นแต่เพียงผู้สนับสนุน ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดระหว่างการพิจารณาคดี ศาลลงโทษตามฐานความผิดที่พิสูจน์ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวการ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเป็นแต่เพียงผู้สนับสนุน ศาลก็ลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ กรณีมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล และหน้าที่ของทายาทในการส่งมอบทรัพย์สิน
ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยบรรดาทายาทของผู้ตายซึ่งรวมทั้งจำเลยเห็นชอบให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ถือว่าจำเลยได้สละสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแล้ว เมื่อจำเลยยอมให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล โจทก์ ย่อมมีสิทธิและหน้าที่แต่เพียงผู้เดียวที่จะรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายมาจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาท การเรียกเอาโฉนดที่ดินและเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกที่จำเลยยึดถือครอบครองอยู่ในฐานะผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการมรดกให้เสร็จสิ้นไปก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเอาได้ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์จัดการมรดกไม่ถูกต้องนั้นจำเลยมีสิทธิขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกหรือฟ้องขอแบ่งมรดกให้ถูกต้องได้ เมื่อโจทก์ยังคงเป็นผู้จัดการมรดกอยู่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งจึงต้องส่งมอบโฉนดที่ดินและเอกสารให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนอุทธรณ์คดีอาญาและการพิจารณาถึงที่สุดของคดี รวมถึงการแก้ไขหมายจำคุก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยอุทธรณ์ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตแล้วพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245 จึงชอบแล้ว และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ เมื่อจำเลยเห็นว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะไปร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งแก้ไขหมายนั้นเสียก่อน เพราะหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญามิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และ 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การถอนอุทธรณ์และการโต้แย้งหมายจำคุกหลังคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลย จำเลยยื่นอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์แล้วพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีย่อมถึงที่สุด จำเลยจะฎีกาคัดค้านว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดไม่ได้ หมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดเป็นหมายอาญา มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 และ 216 หากจำเลยเห็นว่าการออกหมายไม่ถูกต้องก็ต้องร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขหมายนั้น เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งเสียก่อน ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านว่าศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดไม่ถูกต้องจึงเป็นฎีกาที่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องบังคับคดี: สิทธิในการยกเหตุต่อสู้ & เหตุผลสมควรในการขอเลื่อน
แม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกข้อโต้แย้งขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ แต่ในวันนัดไต่สวนทนายผู้คัดค้านแถลงว่าจะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนถึงข้อปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้าน และยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประธานกรรมการของผู้คัดค้านย้ายไปรับราชการที่อื่นผู้คัดค้านจึงต้องทำการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แทนต่อไป แสดงว่าผู้คัดค้านยังไม่พร้อมจะสู้คดีมีเหตุผลสมควรศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนยื่นคำขอพิจารณาใหม่ในคดีแพ่ง: การบังคับคดีเฉพาะจำเลยบางราย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกตอนท้ายที่บัญญัติว่า "แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตามห้ามมิให้ยื่นคำขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น" นั้นหมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีในคดีนี้มาก่อน ข้อกำหนดหกเดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกำหนด 6 เดือนในการขอพิจารณาคดีใหม่: เฉพาะจำเลยที่ถูกบังคับคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้ายที่ห้ามมิให้ยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่ เมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นนั้น หมายถึงเฉพาะจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์หรือจำเลยที่ถูกบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้ที่ถูกยึดทรัพย์ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยถูกยึดทรัพย์หรือมีการบังคับคดีมาก่อน ข้อกำหนด 6 เดือนจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงขอให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายที่ยกเลิกแล้วไม่อาจใช้ลงโทษได้ ศาลฎีกายกฟ้องเมื่ออ้างกฎหมายที่หมดอายุ
ปัญหาว่าวันที่จำเลยกระทำผิดเป็นเวลาที่ได้มีพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ออกใช้บังคับแล้ว ยังจะถือว่าจำเลยมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 296 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515หรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การที่โจทก์อ้างกฎหมายที่ยกเลิกแล้วมาขอให้ลงโทษจำเลยนั้นเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย เพราะประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ไม่มีอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทกฎหมายผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 5
of 18