พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: ศาลไม่รับวินิจฉัยฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีน กระทงละ 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'เจ้าบ้าน' ในทะเบียนบ้าน ไม่ใช่สิทธิในบ้านหรือสิทธิเช่า ผู้เป็นบุตรผู้เช่า ยังคงเป็นบริวาร
การที่มีชื่อผู้ร้องเป็น "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้านมิได้หมายความว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านนั้น และมิได้หมายความว่าผู้ร้องมีสิทธิในการเช่า ฐานะเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านมีไว้เพื่อประโยชน์ในการทะเบียนราษฎร์เท่านั้น ผู้ร้องเป็นบุตรของจำเลยและอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทกับจำเลยตลอดมา ฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: การข่มขืนใจเพื่อให้ได้ทรัพย์สินด้วยการทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยกับพวกมีปากกาติดตัวเป็นอาวุธได้ร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหาย โดยการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน 20 บาท เป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกทรัพย์สินด้วยกำลังประทุษร้ายเป็นการกรรโชกทรัพย์ ไม่ใช่ชิงทรัพย์
จำเลยกับพวกมีปากกาติดตัวเป็นอาวุธ ร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหายโดยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน 20 บาท การกระทำดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ไม่ใช่ความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดพิจารณาคดีไปยังที่อยู่ของผู้ประกันที่ถูกต้องตามคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าชอบแล้ว
เจ้าหน้าที่ศาลได้ไปส่งหมายให้ผู้ประกันที่บ้านเลขที่ 370ถนนธรรมนูญวิถี ตำบลหาดใหญ่ ตามที่ผู้ประกันอ้างว่าได้ย้ายไปอยู่แล้วมิได้ไปส่งที่บ้านเลขที่ 37 ถนนประชารักษ์ ตำบลหาดใหญ่ ดังที่ผู้ประกันกล่าวอ้าง แต่ถึงแม้จะฟังว่าไปส่งที่บ้านเลขที่ 37 ถนนประชารักษ์ บ้านเลขที่ดังกล่าวก็ตรงกับที่อยู่ของผู้ประกันตามคำร้องขอปล่อยชั่วคราว จำเลยที่ 2 ในระหว่างอุทธรณ์ การส่งหมายนัดให้ผู้ประกันจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเฮโรอีนและอุปกรณ์แบ่งบรรจุถือเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายตามกฎหมายยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจค้นตัวจำเลยพบถุงพลาสติกมีคราบเฮโรอีนและหลอดกาแฟตัดแล้วในกระเป๋ากางเกงจำเลย กับพบเฮโรอีนบรรจุถุงพลาสติกและบรรจุในหลอดกาแฟรวมอยู่ในกระปุกพลาสติกบนพื้นห้องปลายที่นอนมีหลอดกาแฟเทียนไข กรรไกร ไม้ขีด ช้อนและถุงพลาสติกเปล่าแสดงว่าจำเลยกำลังแบ่งบรรจุเฮโรอีนใส่หลอดกาแฟอยู่ การกระทำดังกล่าวตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4ถือว่าเป็นการผลิตเฮโรอีนแล้ว การผลิตเฮโรอีนที่เป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป มาตรา 15 วรรคสองให้ถือว่าเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานมีอาวุธปืนต้องพิจารณาอาวุธที่ใช้ในการกระทำผิด ไม่ใช่อาวุธที่ยึดได้ภายหลัง
อาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 เป็นอาวุธปืนคนละกระบอก กับที่จำเลยที่ 3 ใช้ในการกระทำผิดในวันเกิดเหตุ ซึ่งตามฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนกระบอกที่ยึดได้นี้แต่อย่างใดจึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาวุธปืน: การลงโทษฐานครอบครองอาวุธปืนต่างกระบอกจากที่ใช้ในการกระทำผิด
อาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 เป็นอาวุธปืนคนละกระบอกกับที่จำเลยที่ 3 ใช้ในการกระทำผิดในวันเกิดเหตุ ซึ่งตามฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนกระบอกที่ยึดได้นี้แต่อย่างใด จึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินต้องพิจารณาจากสภาพที่ตั้ง วัตถุประสงค์ และรายได้ที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองพ.ศ.2527 มาตรา 5 การกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน จะต้องพิจารณาจากผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประการหนึ่ง สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประการหนึ่งและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนอีกประการหนึ่ง รวม 3 ประการด้วยกันจำเลยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจากราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเพียงประการเดียว ราคาดังกล่าวประเมินโดยเอาตำบล ถนน และทะเล เป็นหลัก ซึ่งเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ที่พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 5 บัญญัติให้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ไว้ซ้ำอีก มีผลเท่ากับบังคับให้มีการพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นแปลง ๆ ไป ทั้งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 6 ที่บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ของจำเลยเห็นได้อยู่ในตัวว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรา 6(3) จำเลยมีสิทธิให้เช่าซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ในนิคมอุตสาหกรรมของจำเลยได้ นอกจากนี้มาตรา 32 และมาตรา 35 บัญญัติให้ประธานกรรมการ พนักงานและลูกจ้างของจำเลยอาจได้รับโบนัสตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นจึงได้บัญญัติให้การกำหนดราคาที่ดินต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการเวนคืนด้วย มิฉะนั้นจะเป็นช่องทางให้จำเลยแสวงกำไรจากการกดราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของจำเลย หรือเพื่อผลกำไรจะได้กลับมาสำหรับจ่ายเป็นโบนัสทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อสังคม การที่จำเลยนำเอาราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประการเดียวมากำหนดเป็นราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจึงไม่ชอบ และที่ศาลอุทธรณ์กำหนดราคาที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไร่ละ 50,000 บาทโดยพิจารณาถึงรายได้ที่จำเลยได้รับจากการให้เช่าที่ดินของโจทก์ที่ได้ไปจากการเวนคืนไร่ละ 48,000 บาท ต่อปี จึงชอบแล้ว เพราะรายได้จากทรัพย์สินกับราคาของทรัพย์สินนั้นย่อมจะต้องสัมพันธ์กันพระราชบัญญัติ ญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2527มาตรา 9 วรรคสี่ บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ได้มีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปีคงที่จนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินต้องกำหนดราคาตามความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสภาพที่ดิน วัตถุประสงค์การเวนคืน และรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งฯมาตรา 5 เน้นที่จะให้เกิดความเป็นธรรมเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้เงินทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้น ที่มาตรา 5 บัญญัติให้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์มีผลเท่ากับให้มีการพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นแปลง ๆ ไป ทั้งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฯ จำเลยจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ จำเลยมีสิทธิให้เช่าให้เช่าซื้อและขายอสังหาริมทรัพย์ในนิคมของจำเลยได้พนักงานและลูกจ้างของจำเลยอาจได้รับโบนัสตามระเบียบที่ครม.กำหนด พระราชบัญญัติ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจึงบัญญัติให้การกำหนดราคาที่ดินต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการเวนคืนด้วย การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนจากราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประการเดียว จึงไม่ชอบ พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งฯมาตรา 9 วรรค 4 บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ได้มีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 9.5 ต่อปีคงที่จึงไม่ถูกต้อง