พบผลลัพธ์ทั้งหมด 177 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยยกเหตุผลใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิจารณา
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการพักอาศัยไม่มีเจตนาเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เท่านั้นส่วนในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องมิใช่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยไว้ ถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการพักอาศัยไม่มีเจตนาเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องมิใช่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยไว้ ถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมาย แม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง
จำเลยเป็นข้าราชการอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์และได้รับคำสั่งมอบหมายจากนายกเทศมนตรีให้ไปรับเงินจากศาลมามอบให้เทศบาล แม้จะไม่ใช่หน้าที่ตามตำแหน่งของจำเลยโดยตรง แต่เมื่อจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเงินที่ได้รับมอบหมายนั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์ที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่จัดการเป็นของตนโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการยกให้ที่ดินที่เป็นสินสมรส และการจำนองที่ดิน ศาลต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
ฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นข้อกล่าวหาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม และจำเลยที่ 2 ได้ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ขอให้เพิกถอนการยกให้ที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์และใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 2 กับขอให้จำเลยที่ 2ไถ่ถอนการจำนองที่ดินส่วนของโจทก์ ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 ให้การและแถลงรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง คำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1ดังกล่าวก็หามีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไม่ทั้งจำเลยที่ 2 มิได้ให้การและโจทก์มิได้ยอมรับว่า จำเลยที่ 2แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การและคำแถลงของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม นิติกรรมการยกให้ไม่สมบูรณ์และฟังว่าหลังจากการยกให้ที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกคืนการครอบครองเกินกว่า 1 ปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 และพิพากษายกฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบเพราะข้อเท็จจริงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ยังโต้เถียงกันว่า การยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์รู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ และโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องฟังพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำผิดอาญา: จำเลยไม่สมคบคิดและไม่ได้ช่วยเหลือขณะกระทำผิด จึงไม่เป็นผู้สนับสนุน
ผู้เสียหายและนาย ม. ชกต่อยกอดปล้ำกันได้ประมาณ 3 นาทีจำเลยจึงขับรถจักรยานยนต์มาที่เกิดเหตุ โดยมีนาย จ. นั่งซ้อนท้ายมาด้วย นางสาวส.เรียกให้นาย จ. ช่วยห้ามและให้เอาตัวนายม.ไป นาย จ. เข้ารวบตัวผู้เสียหาย นายม.ชกต่อยผู้เสียหายอีก 2-3 ครั้ง แล้วขึ้นรถจักรยานยนต์ของจำเลยหลบหนีไป การที่จำเลยนั่งดูอยู่บนรถจักรยานยนต์มิได้เข้าไปเกี่ยวข้อง และที่นายจ.เข้าไปเกี่ยวข้องเนื่องจากนางสาวส.เรียกให้ช่วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้สมคบกับนาย ม.หรือ นายจ.เพื่อทำร้ายผู้เสียหายมาก่อนและการพานาย ม.ออกไปจากที่เกิดเหตุหลังจากเลิกชกต่อยกันแล้วจะถือว่าจำเลยช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่นาย ม.ก่อนหรือขณะกระทำผิดหาได้ไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเพิกถอนคำวินิจฉัย คตส. เหตุขัดต่อธรรมนูญการปกครองฯ และเป็นการออกกฎหมายย้อนหลัง
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 ประชุมใหญ่) คดีตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ศาลแพ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเอง นอกจากทำความเห็นไปยัง ศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย และประกาศดังกล่าวได้บัญญัติให้นำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายและศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเช่นนั้นได้ ปัญหาที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ซึ่งเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาล มิใช่ปัญหาเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามมาตรา 30 วรรคสองและมิใช่เป็นการกระทำหรือปฏิบัติตามที่บัญญัติในมาตรา 31แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ทั้งมิใช่ปัญหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534มาตรา 5 และมาตรา 206 วรรคแรกเช่นเดียวกันอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงตกอยู่แก่ ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป แม้ขณะที่ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองใช้บังคับแต่ระหว่าง ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ได้มีประกาศ ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534เมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ทั้งออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล เป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคแรก ใช้บังคับมิได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 32 เป็นการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของ รสช.มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และเมื่อประกาศ รสช.ฉบับที่ 26ข้อ 2 ข้อ 6 ใช้บังคับไม่ได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมาตรา 30 แล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 จึงจะนำมาตรา 222 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาใช้ให้มีผลบังคับ ต่อไปมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจ คตส. ตามประกาศ รสช. ที่ 26 และผลบังคับใช้ทางกฎหมายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 921/2536) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 กำหนดวิธีพิจารณาพิเศษให้ศาลแพ่งดำเนินการพิจารณาคดีตามประกาศดังกล่าว โดยไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเองได้ นอกจากทำความเห็นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับผู้ร้องย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายในคดีดังกล่าวได้ เพราะตามความในข้อ 6ได้บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม และอำนาจของศาลในการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก็มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายได้ ขณะที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติออกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 เป็นช่วยเวลาที่ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองฉบับใดใช้บังคับ ต่อมาระหว่างที่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น ไม่มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ดังนั้น ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534และจะขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ไม่ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจ นี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534หรือไม่มิได้เกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือเกิดขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 30 และถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ตามมาตรา 31 ก็ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534แล้ว แต่บทบัญญัติมาตรา 5 และ 206 วรรคแรกของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 หรือไม่ เท่านั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป ดังนั้นศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องส่งไปให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณา คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินหรือคตส. ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน อันเป็นการลงโทษรับทรัพย์ในทางอาญาโดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของคตส.ดังกล่าวเป็นอำนาจเด็ดขาด แม้ต่อมาจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับดังกล่าวโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ก็ตามแต่บทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ก็มิได้แก้ไขให้มีทางเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ คตส.ในข้อที่ว่านักการเมืองคนนั้น ๆมีทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติและร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริตเพราะตามข้อ 6 วรรคสาม (1)(2) เพียงแต่ให้ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยของ คตส.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่แสดงให้ศาลว่าตนได้มาโดยชอบเท่านั้น อำนาจของ คตส.ดังกล่าวจึงเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาลในอันที่จะดำเนินการตามกฎหมาย ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลและการตั้งศาลขึ้นใหม่เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะแทนศาลที่มีอยู่ตามกฎหมายจะกระทำมิได้ ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึด และตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส.เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับ จึงเป็นการออกและใช้กฎหมาย ที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้องซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามออกกฎหมายที่มีโทษในทางอาญาให้มีผล ย้อนหลัง เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้เป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเมื่อประกาศฉบับดังกล่าว ข้อ 2 และข้อ 6 ขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30จึงใช้บังคับมิได้เป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของ คตส.ที่อาศัยอำนาจตามประกาศฉบับนั้น ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534มาตรา 3 ไม่มีผลบังคับไปด้วย ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32เป็นเพียงการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติมีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 เพราะปัญหาว่าประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติใช้บังคับได้เพียงใด ต่างกรณีกันกับปัญหาที่ว่าประกาศหรือคำสั่งนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ใช้บังคับมิได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคแรกแล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำมาตรา 222 มาบังคับใช้แก่กรณีนี้เพื่อให้ประกาศฉบับดังกล่าวข้อ 2 และข้อ 6 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้วินิจฉัยการขัดแย้งระหว่างประกาศ คตส. กับประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ รสช.
ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 เป็นวิธีพิจารณาพิเศษซึ่งกำหนดให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24(เทียบนัยฎีกาที่ 146/2530) ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีจึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใดและย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจนี้ไปตกอยู่แก่องค์การอื่น ระหว่างที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 ซึ่งตามมาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำหรือการปฏิบัติใดขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ. 2534 หรือไม่ ถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้อง สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 แล้ว แต่ตามมาตรา 206 วรรคแรกและมาตรา 5 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 หรือไม่เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตามนัยฎีกาที่ 766/2505,222/2506 และ225/2506) คำวินิจฉัยของ คตส.ตามประกาศรสช. ฉบับที่ 26ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการลงโทษริบทรัพย์สินในทางอาญา โดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของ คตส.เป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาล จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยนอกจากนี้ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึดและตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส. เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับจึงเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอีกประการหนึ่งด้วย ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงใช้บังคับมิได้ (ตามนัยฎีกาที่ 222/2506) และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของคตส. ไม่มีผลบังคับไปด้วย ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 มาตรา 32เป็นเพียงการบัญญัติรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งรสช. มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่ง รสช. ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 แต่อย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาจ้างก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับตามหลักความเป็นธรรม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดงวดงานในสัญญาจ้างโดยผิดนัดตั้งแต่ งวดที่ 2ถึงงวดที่ 4 และได้เสียค่าปรับให้โจทก์ไปแล้ว 110 วันวันละ 797 บาท สำหรับงวดที่ 5 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ลงมือก่อสร้างเลย ตามพฤติการณ์การทำงานของจำเลยโจทก์น่าจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในกำหนดและคงทิ้งงานงวดสุดท้าย ซึ่งโจทก์ควรจะใช้สิทธิยกเลิกสัญญาเสียภายในหนึ่งถึงสองเดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่โจทก์กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลย ไปกว่า 6 เดือน จึงบอกเลิกสัญญา เป็นความล่าช้าในการ ดำเนินงานของโจทก์เองด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับจำเลยได้ชำระ ค่าปรับแก่โจทก์ไปแล้วถึง 110 วัน วันละ 797 บาท ทั้งโจทก์ ก็ไม่ได้นำสืบว่าการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทำงาน งวดสุดท้ายทำให้โจทก์เสียหายมากเพียงใด ดังนี้พิเคราะห์ ทางได้เสียของโจทก์แล้ว ค่าปรับ 196 วัน วันละ 797 บาท ตามข้อตกลงในสัญญานั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 การที่ ศาลลดค่าปรับลงเหลือวันละ 500 บาท เป็นเวลา 196 วัน เป็นเงิน 98,000 บาท นั้นเป็นการเหมาะสม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษผิด พ.ร.บ.อาญา มาตรา 317 และการพิจารณาโทษจากคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากเด็กหญิง พ. อายุยังไม่เกิน 15 ปีไปเสียจากบิดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพื่อการอนาจาร และจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิง พ. ซึ่งมิใช่ภริยาของตน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรกกระทงหนึ่งและมาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง ซึ่งความผิดข้อหาพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามมีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยและศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่า จำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ แต่ความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพศาลก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้เฉพาะในวรรคแรกเท่านั้นดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 โดยมิได้ระบุวรรคซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องแต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยปรับบทลงโทษว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามทั้งวางโทษจำเลยโดยอาศัยบทมาตราดังกล่าว ก็เป็นการไม่ถูกต้องเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และกำหนดโทษให้เบาลงได้